ที่น่าจะอนุมาณได้ทันทีก็คือว่า ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมื่อเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบปฏิกิริยาลูกโซ่แล้วสามารถที่จะควบคุมการเกิดปฏิกิริยามากน้อยได้ ไม่ให้เกิดขึ้นทันทีทันใดแบบปฏิกิริยานิวเคลียร์ ที่เมื่อเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แล้วก็ให้เกิดมากขึ้นแบบทวีคูณแบบเฉียบพลัน พลังงานที่เกิดขึ้นก็นับล้านๆ องศาทีเดียว ไม่ต้องพูดถึงความรุนแรงว่าขนาดไหนประเทศญี่ปุ่นเองก็เคยโดยถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียรหรือระเบิดปรมาณู (คำว่าปรมาณูแปลว่าอะตอมในภาษาอังกฤษ) ซึ่งถ้าเทียบกับระเบิดปรมาณูในปัจจุบันจะมีความรุนแรงมากกว่านับร้อยเท่าพันเท่าทีเดียว
ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดในโรงไฟฟ้าหรือที่เกิดขึ้นในเตาปฏิกรปรมาณูต่างก็ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิสชั่น ซึ่งใช้อนุภาคนิวตรอน(เป็นอนุภาคที่อยู่ที่นิวเคลียสของธาตุ)ต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างขึ้นได้ไม่ยาก และเร่งให้มีความเร็วยิงไปที่ธาตุแท่งเชื้อเพลิง ที่อาจเป็นธาตุยูเรเนียม พลูโตเนียม หรือธาตุอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง เมื่อเกิดปฏิกิริยาขึ้น จากปฏิกิริยาแรกนั้น(ยังไม่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่) สมมุติว่าธาตุยูเรเนียมเป็นแท่งเชื่อเพลิงทำให้อะตอมหนึ่งๆของยูเรเนียมแตกตัวเป็นธาตุที่มีน้ำหนักอะตอมประมาณเท่าๆ กันเกิดพลังงานรังสีและอนุภาคอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดนิวตรอนใหม่ขึ้นที่จะไปทำปฏิกิริยากับอะตอมยูเรเนียมอื่นเกิดการแตกตัวและเกิดนิวตรอนใหม่ไปขนอะตอมใหม่แบบนี้ไปเรื่อยๆ และเกิดปฏิกิริยาขึ้นหากไม่มีการควบคุมก็จะทำปฏิริยาเร็วมาก เกิดเป็นระเบิดปรมาณูนั่นเอง แต่หากมีการควบคุมดังในโรงไฟฟ้า ก็จะมีสารมาสะกัดกันนิวตรอนที่เกิดใหม่ไม่ให้เกิดขึ้นไม่ให้ไปทำปฏิกิริยาหรือให้ทำปฏิกิริยาแต่น้อย หรือตามที่ต้องการในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น