หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทุนนิยมต้นเหตุของวิกฤติ

ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันดูเหมือนว่าจะเกียร์ไปในทางเดียวกันหมดคือในระบบทุนนิยม แม้แต่ประเทศที่เป็นสังคมนิยมอย่างประเทศจีน ก็มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการวิเคราะห์กันว่า ระบบทุนนิยมนี่แหละที่เป็นต้นเหตุของการปัญหาทั้งหลาย ทำให้เกิดระบบการบริโภคนิยม เป็นระบบที่เงินสำคัญกว่าอะไรทั้งหมด แม้แต่พระเจ้า ถึงกับมีคนสรุปว่าเราพัฒนาไปในทางที่กลับมาทำลายล้างตัวเอง เพราะการแข่งกันกันทางธุรกิจ การใช้หลักการโฆษณาที่เกินจริง กระตุ้นกระแสให้เกิดการบริโภคทั้งที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ที่ส่งผลมากระทบต่อเรานั่นเอง

วิกฤติการณ์ของโลกนอกจากจะเป็นวิกฤติการทางเศรษฐกิจถ้าทบทวนดูจะเห็นว่า มาจากความโลภและกิเลส ที่ทำให้เกิดฟองสบู่ ที่เศรษฐกิจความมั่งคั่งไปกระจุกตัวอยู่ที่ตนกลุ่มเล็กๆ และทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำนั้น แน่นอนว่าประเทศไทยก็เป็นเหยื่อต่อระบบนี้ การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจการเกิดขึ้นแต่ละครั้งนั้นจะมากขึ้นกว่าเดิม ที่บอกว่าเศรษฐกิจมีขึ้นมีลง แต่การลงแต่ละครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนยากคนจนคนส่วนใหญ่เสมอ คนกลุุ่มน้อยก็ยังได้ประโยชน์อยู่บางครั้งแทนที่จะช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่แต่กลับไปช่วยเหลือคนมีอันจะกินจากภาษีของทุกคน บริษัทยักษ์ใหญ่ที่กำลังจะล้มแต่ต้องไปช่วยเหลือพยุงไม่ให้ล้มดังที่เราเรียกกันว่าล้มบนฟูกนั่นเอง
วิกฤติการณ์ของโลกอีกชนิดที่เราไม่ค่อยกล่าวถึงแต่มีผลเกี่ยวข้องกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจคือ วิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นหนักหน่วงเพิ่มขึ้นทุกปี ตามระบบโลกของทุนนิยม ที่เกิดภัยบัติเพิ่มขึ้นมากมายและหนักหน่วงขึ้นหากย้อนกลับไปดูสถิติที่เกิดขึ้นกลับไปในรอบห้าสิบปี ทำให้มีการตั้งคำถามว่าระบบทุนนิยมของโลกนั้นเป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤติการณ์ต่างๆ ในทางทำลายล้างด้วยหรือไม่ และบ้างก็ออกมายอมรับว่า ระบบทุนนิยมเสรีนีแหละเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ต่างๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีกับมัน จนมีผู้เสนอแนวคิดใหม่ๆ ตั้งแต่ ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศ แนวพุทธ และแม้แต่เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทุกวิธีการที่มีการเสนอในการแก้ปัญหาทุนนิยม ก็จะมุ่งไปที่การนำจิตนิยมเข้ามาผสมผสาน หรือบางข้อเสนอแนะนั้นก็ให้ยกเลิกทุนนิยมกันไปเลย และนำเรื่องจิตนิยมเข้ามาแทนที่ ก็หนีไม่พ้นในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ที่เป็นเศรษฐกิจที่ไม่ทำล้ายล้าง ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ใคร เป็นเศรษฐกิจสีเขียว ที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ก่อให้เกิดอภิมหาเศรษฐีเกิดขึ้นเพียงไม่กี่คน ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าจะมีวิกฤติอย่างไรก็ยังได้รับผลประโยชน์จากวิกฤติการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น