สีในความจำที่ว่านี้หมายถึงความโน้มเอียงที่จะมองเห็นสิ่งที่มีความคุ้นเคยนั้นเป็นสีเดียวกันทุกครั้ง ภายใต้เงื่อนไขภายใต้แสงที่แตกต่างกัน เช่นเจ้าของรถยนต์สีฟ้าก็ยังมีความโน้มเอียงที่จะมองเห็นสีฟ้าในแสงที่มัวๆ ในแสงที่สว่าง ภายใต้แสงโซเดียมสีเหลืองของดวงไฟที่ส่องสว่างให้ถนนหนทาง หรือภายใต้แสงสีแดงอมเหลืองส้มยามพระอาทิตย์ตกดิน บางคนที่ไม่คุ้นเคยกับรถยนต์นั้น ก็จะตัดสินได้ยากว่าสีจริงๆ เป็นอะไรกันแน่ สีในความจำไม่ได้มีความโน้มเอียงแบบเดียวกันเสมอไป ดังเช่นในกรณีที่เนื้อสเต็กภายใต้แสงสีฟ้า เนื้อจะดูเหมือนกับสีเนื้อเน่าไม่ว่าผู้มองได้เคยเห็นหรือเคยกินมากี่ครั้งก็ตาม
เมื่อพิจารณาสีที่จำไว้นั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับรูปร่างของวัตถุที่มีสีและความคุ้นเคยกับวัตถุที่มีสีนนั้น ก็คิดได้ว่าเข้าของที่มีความคุ้นเคยมีที่ไปที่มาเกี่ยวกับวัตถุนั้น คือรู้อยู่แน่ๆ แล้วว่าสีจริงของมันคืออะไร แม้ว่าจะเปลี่ยนสีไปภายใต้เงื่อนไขอื่นก็ยังคงคิดรู้สึกว่าเป็นสีเดิมอยู่นั่นเอง สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อนไม่ได้คุ้นเคยเกี่ยวข้องด้วยย่อมจะบอกได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงของสีที่แสดงออกมาตามความรู้สึกของประสาทความรู้สึกของตนเอง ในกรณีนี้หากคนที่ไม่มีความคุ้นเคยกันมองการทำงานก็จะมองด้วยความเป็นจริงมากกว่ามองคนที่คุ้นเคยกันซึ่งจะทำให้เอนเอียงเข้าข้างตามความรักชอบ ไม่เอาด้วยไม่เห็นด้วยหากไม่ชอบหรือเกลียด ดังนั้นเราจึงเห็นว่าในกระบวนการหลายอย่างทั้งในการบริหารและวิชาการจึงต้องการนำบุคคลภายนอกมาร่วมด้วย เพื่อต้องการความหลากหลายและมองความเป็นจริงได้มากขึ้นนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น