กากนิวเคลียร์เป็นผลที่เกิดขึ้นจากเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิสชั่นที่ใช้อยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก เป็นปฏิกิริยาแยกสลายธาตุที่เป็นแท่งเชื้อเพลิงให้กลายเป็นธาตุอื่นที่น้ำหนักอะตอมหรือมวลอะตอมลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นธาตุหรือสารกัมม้นตภาพรังสีที่ปลดปล่อยรังสีพลังงานสูงออกมาตลอดเวลาและยังหลงเหลืออยู่หลังเกิดปฏิกิริยา แท่งเชื้อเพลิงจะค่อยๆ หมดไปขณะเดียวกันก็เกิดธาตุกัมมันตรังสีเกิดขึ้นสะสมมากขึ้น และเมื่อมีมากขนาดหนึ่งจนแท่งเชื้อเพลิงทำให้เกิดปฏิกิริยายากขึ้น หรือประสิทธิภาพการให้พลั้งงานต่ำลง ก็จะต้องมีการถอดเปลี่ยนแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การถอดเปลี่ยนอาจนำไปทำรีไซเคิล ขจัดส่วนที่เป็นกากออกไป ผลของปฏิกิริยายังทำให้เกิดธาตุที่สามารถนำไปทำแท่งเชื้อเพลงใหม่ด้วย
วิธีที่จะกำจัดกากนั้นก็โดยการทำอย่างไรไม่ให้มีการฟุ้งกระจายไปในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด คือแก๊ส ของเหลว และของแข็ง วิธีที่ใช้ก็โดยการสร้างภาชนะที่แข็งแรงที่ไม่ให้มีการฟุ้งกระจายและไม่ให้รังสีเล็ดลอดออกมาทำอันตรายกับผู้รับรังสีโดยตรง ส่วนใหญ่จะหุ้มแท่งเชื้อเพลิงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปัญหาก็อยู่ที่จะนำไปทิ้งที่ไหนในบางประเทศยังตกลงกันไม่ได้ก็วางอยู่รอบๆ โรงงานไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งเขาก็อยู่กับมันได้เพราะมีมาตรฐานการตรวจสอบว่าไม่ให้รังสีเล็ดลอดออกมาตามมาตรฐานที่กำหนดก็ไม่ได้มีอันตรายอะไร เพราะตามปกติในสิ่งแวดล้อมก็มีกัมมันตรังสีตามธรรมชาติอยู่แล้วแต่ไม่มีอันตราย ซึ่งจะเรียกว่าเป็นรังสีแบคกราว
แต่ที่จะเกิดอันตรายก็คือว่าหากกากรังสีนิวเคลียร์ที่ว่าเก็บไว้ดีแล้วนี้ เกิดมีอันเป็นไปเช่นเกิดแผ่นดินไหว เกิดการระเบิดทำให้คอนกรีตที่หุ้มแท่งเชื้อเพลิงอยู่แตกกระจายออกมา ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้แม่้ว่าจะน้อยมากเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าเชอโนบิลในรัสเซีย และโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นขณะนี้ ในบางประเทศก็ใช้วิธีนำไปฝังกลบในที่ลึกๆ แต่ก็เป็นไปได้อีกนั่นแหละว่าไม่วันหนึ่งวันใดที่เกิดเหตุการณ์เช่นแผ่นดินไหวผลักดันให้มีการแตกหักหรือหลอมละลายของกากแท่งเชื้อเพลิง ก็จะทำให้สารกัมมันตรังสีกระจายไปในสิ่งแวดล้อม ที่อาจเป็นอันตรายของคนที่มาอยู่บริเวณนั้น
ในประเด็นการกำจัดกากนิวเคลียร์ที่ยังเป็นปัญหา ที่คิดให้ดีแล้วถึงประเทศเราไม่ได้สร้างโรงไฟฟ้าโดยตรง แต่ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับประเทศไม่มีอุตสาหกรรม แต่ก็ได้รับมลภาวะจากประเทศที่ปลดปล่อยอากาศเสียต่างๆ เช่นคาร์บอนไดออกไซต์ เช่นเดียวกันประเทศเราไม่ได้มีโรงไฟฟ้านิวเลียร์ก็ตามก็อาจได้รับผลกระทบสักวันหนึ่ง เพราะอาจมีประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และนำกากนิวเคลียร์ไปทิ้งในทะเลที่ห่างไกลผู้คนแล้วก็ตาม แต่จะมีหลักประกันได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดการรั่วไหลแพร่กระจายขึ้นสักวันหนึ่ง ดังเช่นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดแล้วมีการหลอมละลายของ กากนิวเคลียร์ที่นำไปทิ้งไว้ก็มีการแพร่กระจายมีผลมากกระทบจนได้ ปัจจุบันเราก็รอเวลาว่าจะเกิดขึ้นเร็วช้าเท่าไรเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น