จากที่มีการเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และงาน โดยให้ความรู้เป็นแกนตั้ง และงานอยู่ในแกนนอน และเขียนเส้นกราฟแบบเชิงเส้น ของคน+วัฒนธรรมองค์กรณ์ เส้นกราฟจึงแสดงให้เห็นความรู้ของคนที่มีวัฒนธรรมองค์กร เมื่อพิจารณาเส้นกราฟที่อาจเป็นไปได้แล้ว ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เส้นกราฟชี้ไปใกล้กับแกนความรู้ในแนวดิ่งหรือเกือบขนานไปกับแกนในแนวดิ่งแล้วจะแสดงให้เห็นว่ามีความรู้มากแต่ได้งานน้อย แสดงถึงความผิดปกติ และเช่นเดียวกันเมื่อเส้นกราฟชีใกล้เส้นในแนวนอนหรือเกือบขนานกับเส้นในแนวนอน แล้วแสดงให้เห็นว่าความรู้น้อยแต่ได้งานมาก ซึ่งก็ผิดปกติเช่นเดียวกัน
แต่เนื่องจากว่างานที่นำมาพล็อดกับความรู้นั้นไม่ได้บอกว่าเป็นงานลักษณะใด เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้สูงหรือมาก หรือไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้มากนัก หรือเป็นงานที่ใช้ทักษะเป็นส่วนใหญ่ และไม่ได้กำหนดว่างานแต่ละอย่างนั้นมีคุณค่ามากน้อยแต่ไหน เช่นว่าคนที่มีความรู้มากอาจเป็นไปได้ว่าได้งานน้อย แต่งานนั้นมีมูลค่าสูงมาก หรือบางคนมีความรู้น้อยแต่ได้งานมากถ้างานนั้นมีคุณค่าต่ำเช่นผู้ใช้แรงงานเป็นต้น
ดังนั้นกราฟความสัมพันธ์ที่เขียนขึ้นดังกล่าวน่าจะเป็นตัวบอกว่าไม่ว่างานใดก็ต้องใช้ความรู้ในการทำงานทั้งนั้น แต่ยังไม่ได้แบ่งแยกชนิดของความรู้และชนิดของงานว่าเป็นลักษณะใด แต่มองในลักษณะทั่วไปว่าถ้ามีความรู้มากก็จะได้งานมาก ถ้ามีความรู้มากก็จะได้งานที่มีคุณภาพมากอะไรทำนองนี้มากกว่า ยิ่งมีความรู้มากก็จะยิ่งควบคุมสถานะการณ์ได้ดีกว่า
วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
จุดร่วมการจัดการความรู้แบบชัดแจ้งและแบบที่อยู่ในตัวคน
ไม่ว่าจะเป็นความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) หรือความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ต่างก็ต้องนำไปใช้หรือมีการปรับปรุงก่อนนำมาใช้ให้เหมาะตามบริบทและเวลาแล้วก็ตาม ก็จะต้องมีการเรียนรู้ยกระดับขึ้นอีกสำหรับความรู้ที่ชัดแจ้ง ขั้นต่อไปเป็นการรวมรวมจัดเก็บไว้ให้เรียกใช้ง่ายและสะดวก สามารถเข้าถึงและตรวจสอบให้ชัดแจ้ง
แต่สำหรับความรู้ที่ฝังลึก นั้นหลังจากที่ปรับใช้แล้ว หากมีใจที่จะแบ่งปัน มีการแนะนำให้ผู้อื่น ซึ่งผู้มีความรู้อยู่ในตัวมักจะมีความชำนาญจนมีทักษะ แม้กระนั้นก็ตามเมื่อนำไปแบ่งปันให้ผู้อื่นก็จะพบปัญหาที่ให้ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมตามสถานะการอีก จึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่นด้วย แล้วความรู้นั้นก็อาจมีการยกระดับใหม่หรือสร้างขึ้นมาใหม่เพิ่มเติมแล้วจึงปรับใช้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นจะเห็นว่าไม่ว่าเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ทีฝังลึกในตัวคนต่างก็ต้องนำออกมาใช้ เป็นจุดร่วมกัน และไม่ว่าเป็นความรู้แบบใดยิ่งใช้มากก็ยิ่งก่อให้เกิดการพัฒนาไป ปรับปรุงความรู้ดีขึ้นได้เรื่อยๆ
ตามแนวคิดของ ดร.ประพันธ์ผาสุกยืด นั้นการพัฒนาความรู้ที่ชัดแจ้งนั้นต้องมีเครื่องมือและเทคโนโลยี (Tool & Technology) หรือ 2Tที่จะใช้ในการจัดเก็บ สืบค้น และเรียกใช้ได้เร็วและสะดวก รวมทั้งใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง ว่ามีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับใด ส่วนความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนนั้นต้องอาศัย กระบวนการ (process) และคน (People) ในกระบวนงานจำเป็นต้องมีรายละเอียดของงานและขั้นตอนงาน ในการนำความรู้ไปใช้ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีปฏิสัมพันธุ์กันที่เรียกว่าเน้นใช้ 2P
โดยสรุปความรู้แบบชัดแจ้ง และแบบฝังลึกทั้งสองอย่างต้องมีความสมดุลย์กัน ซึ่งจะต้องมีการเน้นทั้ง 2T และ 2P ที่จะต้องหนุนเนื่องเสริมกันและกัน จึงจะเรียกว่ามีความสมดุล
แต่สำหรับความรู้ที่ฝังลึก นั้นหลังจากที่ปรับใช้แล้ว หากมีใจที่จะแบ่งปัน มีการแนะนำให้ผู้อื่น ซึ่งผู้มีความรู้อยู่ในตัวมักจะมีความชำนาญจนมีทักษะ แม้กระนั้นก็ตามเมื่อนำไปแบ่งปันให้ผู้อื่นก็จะพบปัญหาที่ให้ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมตามสถานะการอีก จึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่นด้วย แล้วความรู้นั้นก็อาจมีการยกระดับใหม่หรือสร้างขึ้นมาใหม่เพิ่มเติมแล้วจึงปรับใช้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นจะเห็นว่าไม่ว่าเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ทีฝังลึกในตัวคนต่างก็ต้องนำออกมาใช้ เป็นจุดร่วมกัน และไม่ว่าเป็นความรู้แบบใดยิ่งใช้มากก็ยิ่งก่อให้เกิดการพัฒนาไป ปรับปรุงความรู้ดีขึ้นได้เรื่อยๆ
ตามแนวคิดของ ดร.ประพันธ์ผาสุกยืด นั้นการพัฒนาความรู้ที่ชัดแจ้งนั้นต้องมีเครื่องมือและเทคโนโลยี (Tool & Technology) หรือ 2Tที่จะใช้ในการจัดเก็บ สืบค้น และเรียกใช้ได้เร็วและสะดวก รวมทั้งใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง ว่ามีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับใด ส่วนความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนนั้นต้องอาศัย กระบวนการ (process) และคน (People) ในกระบวนงานจำเป็นต้องมีรายละเอียดของงานและขั้นตอนงาน ในการนำความรู้ไปใช้ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีปฏิสัมพันธุ์กันที่เรียกว่าเน้นใช้ 2P
โดยสรุปความรู้แบบชัดแจ้ง และแบบฝังลึกทั้งสองอย่างต้องมีความสมดุลย์กัน ซึ่งจะต้องมีการเน้นทั้ง 2T และ 2P ที่จะต้องหนุนเนื่องเสริมกันและกัน จึงจะเรียกว่ามีความสมดุล
วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ทัศนะในการสร้างความรู้ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ผู้เรียนจะเห็นถึงโครงสร้างความคิด (schemata)ที่มีอยู่ที่จัดให้ใช้อธิบายประสบการณ์อย่างพอเพียง หรือยังมีบางอย่างที่ไม่พอเพียงที่ประสบการณ์ที่มีไม่สามารถอธิบายได้อย่าง สมบูรณ์ ผู้เรียนอาจจะแลเห็นถึงโครงสร้างความคิดที่มีที่จัดคำอธิบายประสบการณ์อย่าง เพียงพอ แต่ตามทัศนะของผู้สอนผู้เรียนยังมีไม่เพียงพอ ที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้า ตามความตั้งใจของครู โครงสร้างความคิดที่เหมาะสมนำมาใช้ในการตีความประสบการณ์ หรือถ้ามีบางแง่มุมของประสบการณ์ที่ไม่เข้ากับโครงสร้างความคิดที่มีอยู่ ถ้าสังเกตไม่พบหรือละเลยไป ผู้เรียนจำนวนมากได้ออกไปจากสถานะการณ์ที่จะเรียนรู้ โดยโครงสร้างความคิดเดิมสนับสนุน (Apoleton,1989)
โดยการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศมากขึ้นช่วยลดความขัดแย้งความไม่สมดุลย์ (dissonance) ขณะที่ผู้เรียนขยายขอบเขตโครงสร้งความคิดที่มีอยู่ การขยายโครงสร้างความคิดดังกล่าวหรือเป็นการสร้างโครงสร้างความคิดใหม่ขึ้น (Osborne&Witrock,1983) เป็นประสบการหนึ่งเดียวที่มีการปรับโครงสร้างความคิดใหม่เพิ่มเติม (accomodation) (Piaget, 1978) ดังที่อธิบายไว้อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความคิดหลัก ของผู้เรียน (cognitive structrue) ดังนั้นโครงสร้างใหม่คงจะจำเป็นนำไปใช้และทดสอบในหลายๆ สถานะการณ์ที่มีประโยชน์และสามารถจัดการได้ (Osborne&Witrock,1983) ผู้เรียนมากมายอาจต้องการความช่วยเหลือในการเข้าไปตีความสารสนเทศใหม่ที่ อยู่ในประเด็นของประสบการณ์ ดังนั้นการขยายของเขตที่เหมาะสมต่อโครงสร้างความคิดและความเชื่อมโยงระหว่าง โครงสร้างความคิดต่างๆ ควรจัดให้มีขึ้น
เมื่อผู้เรียนรอเพื่อการปรับแก้สารสนเทศให้ถูกต้อง การจัดโดยหนังสือเล่มหนึ่ง โดยครู หรือผู้มีอำนาจศักยภาพอื่น และให้ผู้เรียนเรียนแบบท่องจำกับสิ่งที่จัดให้ดังกล่าว ผู้เรียนสามารถจำสารสนเทศได้ง่ายในบริบทที่ใกล้เคียงกับที่ได้จัดให้ และไม่อาจจัดการเข้าถึงได้ในบริบทอื่นๆ เป็นลักษณะของการปรับโครงสร้างทางความคิดที่ผิดพลาด (False accommodation) ซึ่งมักจะใช้กันมากในโรงเรียนในการเตรียมสำหรับการสอบไล่
ผู้เรียนบางคนอาจจะไม่พิจารณาที่จะพยายามต่อไป ที่จะไปเกี่ยวข้องที่จะดำเนินการแบบเดิมต่อไป ไม่ว่าปรับโครงสร้างความคิดที่ผิด หรือแม้แต่การปรับโครงสร้างความคิดให้ถูกว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และดังนั้นเขา จึงออกไปจากประสบการณ์การเรียนรู้ ดังเช่นผู้เรียนบางคนอาจจะมีประสบการล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่จะเกิดอีก จึงออกจากสถานะการเรียนรู้คือไม่ยอมเรียนรู้ใดๆ
โดยการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศมากขึ้นช่วยลดความขัดแย้งความไม่สมดุลย์ (dissonance) ขณะที่ผู้เรียนขยายขอบเขตโครงสร้งความคิดที่มีอยู่ การขยายโครงสร้างความคิดดังกล่าวหรือเป็นการสร้างโครงสร้างความคิดใหม่ขึ้น (Osborne&Witrock,1983) เป็นประสบการหนึ่งเดียวที่มีการปรับโครงสร้างความคิดใหม่เพิ่มเติม (accomodation) (Piaget, 1978) ดังที่อธิบายไว้อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความคิดหลัก ของผู้เรียน (cognitive structrue) ดังนั้นโครงสร้างใหม่คงจะจำเป็นนำไปใช้และทดสอบในหลายๆ สถานะการณ์ที่มีประโยชน์และสามารถจัดการได้ (Osborne&Witrock,1983) ผู้เรียนมากมายอาจต้องการความช่วยเหลือในการเข้าไปตีความสารสนเทศใหม่ที่ อยู่ในประเด็นของประสบการณ์ ดังนั้นการขยายของเขตที่เหมาะสมต่อโครงสร้างความคิดและความเชื่อมโยงระหว่าง โครงสร้างความคิดต่างๆ ควรจัดให้มีขึ้น
เมื่อผู้เรียนรอเพื่อการปรับแก้สารสนเทศให้ถูกต้อง การจัดโดยหนังสือเล่มหนึ่ง โดยครู หรือผู้มีอำนาจศักยภาพอื่น และให้ผู้เรียนเรียนแบบท่องจำกับสิ่งที่จัดให้ดังกล่าว ผู้เรียนสามารถจำสารสนเทศได้ง่ายในบริบทที่ใกล้เคียงกับที่ได้จัดให้ และไม่อาจจัดการเข้าถึงได้ในบริบทอื่นๆ เป็นลักษณะของการปรับโครงสร้างทางความคิดที่ผิดพลาด (False accommodation) ซึ่งมักจะใช้กันมากในโรงเรียนในการเตรียมสำหรับการสอบไล่
ผู้เรียนบางคนอาจจะไม่พิจารณาที่จะพยายามต่อไป ที่จะไปเกี่ยวข้องที่จะดำเนินการแบบเดิมต่อไป ไม่ว่าปรับโครงสร้างความคิดที่ผิด หรือแม้แต่การปรับโครงสร้างความคิดให้ถูกว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และดังนั้นเขา จึงออกไปจากประสบการณ์การเรียนรู้ ดังเช่นผู้เรียนบางคนอาจจะมีประสบการล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่จะเกิดอีก จึงออกจากสถานะการเรียนรู้คือไม่ยอมเรียนรู้ใดๆ
วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552
รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS
ก่อนอื่น STS ย่อมาจาก Science Technology and Social เป็นการเรียนการสอนที่บูรณาการทั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และมิติทางสังคมเข้าด้วยกัน ดังนั้นการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS จึงต้องการความชำนาญในยุทธวิธีการสอนที่กว้างขวางกว่า เช่นการคิดแบบปลายเปิด (divergent thinking) การทำงานเป็นกลุ่มย่อยขนาดเล็ก นักเรียนเป็นศูยน์กลาง การอภิปรายในชั้นเรียน การแก้ปัญหา การจำลองแบบและการจำลองสถานะการณ์ การตัดสินใจ การวิพากษ์วิจารณ์การเห็นแย้ง การโต้เถียงกันด้วยเหตุผล และรวมทั้งการสื่อ และการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Iikenhead, solomon, 1989,1993)
ในแง่มุมของการศึกษาแบบ STS จะมีหลากหลายแนวทาง แนวทางในประเด็นที่นำไปสู่เทคโนโลยี แต่ไม่ลึกเข้าไปในคำถามทางสังคม ในแนวทางด้านอาชีพจะยกประเด็นคำถามเหล่านี้ขึ้นมา แนวทางที่ข้ามศาสตร์เน้นย้ำให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แต่อาจจะเป็นไปได้ที่ทำให้ความเก่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงเมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม
การศึกษาแบบ STS อยู่ในระดับที่ตื้นไม่ลึกซึ้งอะไร ถ้าปราศจากมิติทางประวัติศาสตร์ แต่ในเรื่องนี้ก็อาจเป็นไปได้กลายเป็นวิชาการมากเกินไป
ในแนวทางปรัชญาสามารถที่จะให้แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แต่ก็เฉพาะที่ระดับพื้นฐานมาก เมื่อ STS เป็นเหมือนแนวทางการสอนและการเรียนรู้ในบริบทประสบการณ์ของมนุษย์
สำหรับในแง่มุมของหลักสูตร โดยหน้าที่บ่งถึงว่าอะไรที่เป็นเป้าหมายสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS ที่ซึ่งให้มีความรูรอบมโนทัศน์ที่ลุ่มลึกขึ้น มีความสามารถที่จะใช้ทักษะกระบวนการ ปรับปรุงทักษะการคิดสร้างสรร ทัศนคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ ให้นำมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการมาใช้ในชีวิตประจำวัน และในการตอบสนองต่อการตัดสินใจส่วนบุคคล แนวทาง STS จึงหมายถึงแนวทางที่จะหาค่าหาคำตอบและโดยประสบการณ์ตรง ที่แนวคิดพื้นฐานและทักษะสามารถที่จะสังเกตได้ในสั้งเกต
STS ยังหมายถึงการมุ่งเน้นไปที่ปัญหาของโลกที่เป็นจริงที่มีองค์ประกอบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากแนวคิดทัศนะของนักเรียน แทนที่จะเริ่มจากมโนทัศน์และกระบวนการ ในลักษณะที่
-นอกเหนือจากห้องเรียนไปยังชุมชนในท้องถิ่น
-เหตุการปัจจุบัน
-มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และรับผิดชอบในการทำเช่นนั้น
-เน้นย้ำต่อความรับผิดชอบในการตัดสินใจในโลกแห่งความเป็นจริงของนักเรียน
ด้วยแนวทาง STS จะให้ทิศทางที่จะให้ทุกคนเป็นผู้รู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
ในแง่มุมของการศึกษาแบบ STS จะมีหลากหลายแนวทาง แนวทางในประเด็นที่นำไปสู่เทคโนโลยี แต่ไม่ลึกเข้าไปในคำถามทางสังคม ในแนวทางด้านอาชีพจะยกประเด็นคำถามเหล่านี้ขึ้นมา แนวทางที่ข้ามศาสตร์เน้นย้ำให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แต่อาจจะเป็นไปได้ที่ทำให้ความเก่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงเมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม
การศึกษาแบบ STS อยู่ในระดับที่ตื้นไม่ลึกซึ้งอะไร ถ้าปราศจากมิติทางประวัติศาสตร์ แต่ในเรื่องนี้ก็อาจเป็นไปได้กลายเป็นวิชาการมากเกินไป
ในแนวทางปรัชญาสามารถที่จะให้แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แต่ก็เฉพาะที่ระดับพื้นฐานมาก เมื่อ STS เป็นเหมือนแนวทางการสอนและการเรียนรู้ในบริบทประสบการณ์ของมนุษย์
สำหรับในแง่มุมของหลักสูตร โดยหน้าที่บ่งถึงว่าอะไรที่เป็นเป้าหมายสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS ที่ซึ่งให้มีความรูรอบมโนทัศน์ที่ลุ่มลึกขึ้น มีความสามารถที่จะใช้ทักษะกระบวนการ ปรับปรุงทักษะการคิดสร้างสรร ทัศนคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ ให้นำมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการมาใช้ในชีวิตประจำวัน และในการตอบสนองต่อการตัดสินใจส่วนบุคคล แนวทาง STS จึงหมายถึงแนวทางที่จะหาค่าหาคำตอบและโดยประสบการณ์ตรง ที่แนวคิดพื้นฐานและทักษะสามารถที่จะสังเกตได้ในสั้งเกต
STS ยังหมายถึงการมุ่งเน้นไปที่ปัญหาของโลกที่เป็นจริงที่มีองค์ประกอบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากแนวคิดทัศนะของนักเรียน แทนที่จะเริ่มจากมโนทัศน์และกระบวนการ ในลักษณะที่
-นอกเหนือจากห้องเรียนไปยังชุมชนในท้องถิ่น
-เหตุการปัจจุบัน
-มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และรับผิดชอบในการทำเช่นนั้น
-เน้นย้ำต่อความรับผิดชอบในการตัดสินใจในโลกแห่งความเป็นจริงของนักเรียน
ด้วยแนวทาง STS จะให้ทิศทางที่จะให้ทุกคนเป็นผู้รู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
ไม่มีอะไรเป็นจริงในควอนตัม
ในกลศาสตร์ควอนตัมมีสมการที่อธิบาย พฤติกรรมของวัตถุที่เล็กมากยิ่งกว่าสิ่งที่เรามองไม่เห็น กล่าวคือมีขนาดเล็กในระดับอะตอมหรือเล็กกว่า ทฤษฎีควอนตัมหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ให้คำอธิบายของโลกของสิ่งที่เล็กมากๆ ถ้าปราศจากสมการเหล่านี้แล้ว นักฟิสิกส์คงไม่สามารถออกแบบ หรือทำงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์(ไม่สามารถที่จะทำระเบิดนิวเคลียร์หรือระเบิด อะตอม) ไม่สามารถที่จะสร้างทำแสงเลเซอร์ขึ้นมา หรืออธิบายว่าทำไมรังสีจากดวงอาทิตย์จึงร้อน และถ้าปราศจากกลศาสตร์ควอนตัม วิชาเคมีคงยังจมอยู่ในยุคมืด และคงจะไม่มีวิทยาศาสตร์ของชีวโมเลกุลเกิดขึ้น และยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับ DNA และไม่มีพันธุวิศวกรรม
ทฤษฎีควอนตัมบ่งชี้ให้เห็นความสำเร็จสูงที่สุดของวิทยาศาสตร์เท่าที่เคย มีมา มีนัยสำคัญที่กว้างไกล ในการนำไปใช้ได้โตยตรงในทางปฏิบัติ มากกว่าทฤษฎีสัมพันธภาพ การพยากรณ์ที่ประหลาดในโลกของกลศาสตร์ควอนตัม แปลกมาจนแม้แต่ไอน์สไตย์ ก็ยังพบว่ายากต่อการทำความเข้าใจ และปฏิเสธที่จะยอมรับการนำทฤษฎีควอนตัมที่พัฒนาขึ้นโดยชเรอดิงเงอร์และผู้ ร่วมงานของเขามาใช้ ไอน์ไตย์และนักวิทยาศาสตร์อื่นอีกมากมีความรู้สึกว่าจะเป็นการดีกว่าที่ เชื่อว่า สมการในกลศาสตร์ควอนตัม นั้นเป็นอะไรบางอย่างที่ของการเป็นกลวิธีทางคณิตศาสตร์ เพียงปรากฏให้เห็นว่าเป็นเรื่องมีเหตุผลดี ที่นำให้เห็นว่ามีเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมระดับอะตอมและกึ่ง อะตอม แต่ได้ปกปิดความจริงที่ลึกลงไปที่สอดกล้องกันมากกว่า ความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน
สำหรับอะไรที่กลศาสตร์ควอนตัมบอกให้ทราบก็คือ ไม่มีอะไรที่เป็นจริง และนั่นเราไม่อาจกล่าวอะไรได้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ถ้าเราไม่เข้าไปเฝ้ามองมัน แมวของชเรอดิงเงอร์ได้นำเสนอขึ้นมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างโลกของ ควอนตัมและโลกในชีวิตประจำวันได้ชัดเจน
ในโลกของกลศาสตร์ควอนตัมกฏทางฟิสิกส์ที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวันไม่ สามารถใช้ได้อีกต่อไป แต่แทนเหตุการณ์ต่างๆทีควบคุมด้วยความน่าจะเป็น (probabilities) ตัวอย่างเช่นอะตอมกัมมันตรังสีอาจจะสลายตัวปลดปล่อยอิเลคตรอนตัวหนึ่ง หรือกล่าวได้ว่า อาจจะไม่มีการสลายตัวให้อิเลคตรอนเลยก็ได้ เป็นไปได้ที่จะจัดการทดลองให้เห็น ในทางที่มีโอกาส 50-50 เปอร์เซนต์แน่นอนที่สุด ที่อะตอมหนึ่งหนึ่งในชิ้นของสารกัมมันตรังสีจะสลายตัวในเวลาหนึ่ง และตัวตรวจจับบันทึกการสลายตัว ถ้าการสลายตัวเกิดขึ้น
ชเรอดิงเงอร์ ไม่พอใจเท่ากับที่ไอน์สไตย์ ในการนำทฤษฎีควอนตัมไปใช้ ความพยายามี่จะแสดงการนำไปใช้ทีผิดแผกออกไป โดยการจินตนาการเป็นการทดลองในความคิด โดยการจัดการทดลองในห้องปิดหรือกล่องที่นำแมวที่มีชีวิตมาไว้ภายใน และชุดภาชนะที่ใส่ยาพิษไว้ โดยจัดไว้ในลักษณะที่ ถ้าสารกัมมันตรังสีสลายตัวเกิดขึ้นละก็ ภาชนะที่ใส่ยาพิษก็จะแตก แล้วยาพิษนั้นจะมาทำให้แมวตาย ตามโลกในชีวิตประจำวันเรากล่าวได้ว่ามีโอกาสที่แมวจะตาย 50-50 เปอร์เซนต์ที่แมวจะถูกทำให้ตาย โดยไม่ต้องมองเข้าไปดูภายในกล่อง เรากล่าวได้ค่อนข้างแน่ใจว่า แมวภายในกล่องนั้นไม่ตายก็รอด แต่ตอนนี้เราอยู่กับโลกควอนตัมที่ประหลาด ตามทฤษฎีควอนตัมแล้วไม่มีโอกาสทั้งที่แมวจะอยู่หรือตายที่เปิดรับสาร กัมมันตรังสี และดังนั้นแมวจะมีความจริงใดๆอยู่เมื่อไปสังเกตมัน การสลายตัวของอะตอมจึงไม่มี ทั้งที่เกิดขึ้น และไม่เกิดขึ้น จึงไม่มีทั้งแมวที่ตายและแมวที่มีชีวิต จนกระทั่งเราได้มองเข้าไปในกล่องเพื่อดูว่าอะไรเกิดขึ้น นักทฤษฎีที่ยอมรับกลศาสตร์ควอนตัมรุ่นแรก กล่าวว่าแมวยังคงอยู่ในบางสถานะที่หาค่าไม่ได้ ไม่มีทั้งการตายและการมีชีวิตอยู่ จนกว่าผู้สังเกตมองเข้าไปในกล่อง ดูว่ามีความเป็นไปอะไรในกล่อง นั่นก็คือไม่มีอะไรเป็นจริง นอกจากเราเข้าไปสังเกตหรือสิ่งดังกล่าวได้รับการสังเกต
ทฤษฎีควอนตัมบ่งชี้ให้เห็นความสำเร็จสูงที่สุดของวิทยาศาสตร์เท่าที่เคย มีมา มีนัยสำคัญที่กว้างไกล ในการนำไปใช้ได้โตยตรงในทางปฏิบัติ มากกว่าทฤษฎีสัมพันธภาพ การพยากรณ์ที่ประหลาดในโลกของกลศาสตร์ควอนตัม แปลกมาจนแม้แต่ไอน์สไตย์ ก็ยังพบว่ายากต่อการทำความเข้าใจ และปฏิเสธที่จะยอมรับการนำทฤษฎีควอนตัมที่พัฒนาขึ้นโดยชเรอดิงเงอร์และผู้ ร่วมงานของเขามาใช้ ไอน์ไตย์และนักวิทยาศาสตร์อื่นอีกมากมีความรู้สึกว่าจะเป็นการดีกว่าที่ เชื่อว่า สมการในกลศาสตร์ควอนตัม นั้นเป็นอะไรบางอย่างที่ของการเป็นกลวิธีทางคณิตศาสตร์ เพียงปรากฏให้เห็นว่าเป็นเรื่องมีเหตุผลดี ที่นำให้เห็นว่ามีเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมระดับอะตอมและกึ่ง อะตอม แต่ได้ปกปิดความจริงที่ลึกลงไปที่สอดกล้องกันมากกว่า ความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน
สำหรับอะไรที่กลศาสตร์ควอนตัมบอกให้ทราบก็คือ ไม่มีอะไรที่เป็นจริง และนั่นเราไม่อาจกล่าวอะไรได้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ถ้าเราไม่เข้าไปเฝ้ามองมัน แมวของชเรอดิงเงอร์ได้นำเสนอขึ้นมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างโลกของ ควอนตัมและโลกในชีวิตประจำวันได้ชัดเจน
ในโลกของกลศาสตร์ควอนตัมกฏทางฟิสิกส์ที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวันไม่ สามารถใช้ได้อีกต่อไป แต่แทนเหตุการณ์ต่างๆทีควบคุมด้วยความน่าจะเป็น (probabilities) ตัวอย่างเช่นอะตอมกัมมันตรังสีอาจจะสลายตัวปลดปล่อยอิเลคตรอนตัวหนึ่ง หรือกล่าวได้ว่า อาจจะไม่มีการสลายตัวให้อิเลคตรอนเลยก็ได้ เป็นไปได้ที่จะจัดการทดลองให้เห็น ในทางที่มีโอกาส 50-50 เปอร์เซนต์แน่นอนที่สุด ที่อะตอมหนึ่งหนึ่งในชิ้นของสารกัมมันตรังสีจะสลายตัวในเวลาหนึ่ง และตัวตรวจจับบันทึกการสลายตัว ถ้าการสลายตัวเกิดขึ้น
ชเรอดิงเงอร์ ไม่พอใจเท่ากับที่ไอน์สไตย์ ในการนำทฤษฎีควอนตัมไปใช้ ความพยายามี่จะแสดงการนำไปใช้ทีผิดแผกออกไป โดยการจินตนาการเป็นการทดลองในความคิด โดยการจัดการทดลองในห้องปิดหรือกล่องที่นำแมวที่มีชีวิตมาไว้ภายใน และชุดภาชนะที่ใส่ยาพิษไว้ โดยจัดไว้ในลักษณะที่ ถ้าสารกัมมันตรังสีสลายตัวเกิดขึ้นละก็ ภาชนะที่ใส่ยาพิษก็จะแตก แล้วยาพิษนั้นจะมาทำให้แมวตาย ตามโลกในชีวิตประจำวันเรากล่าวได้ว่ามีโอกาสที่แมวจะตาย 50-50 เปอร์เซนต์ที่แมวจะถูกทำให้ตาย โดยไม่ต้องมองเข้าไปดูภายในกล่อง เรากล่าวได้ค่อนข้างแน่ใจว่า แมวภายในกล่องนั้นไม่ตายก็รอด แต่ตอนนี้เราอยู่กับโลกควอนตัมที่ประหลาด ตามทฤษฎีควอนตัมแล้วไม่มีโอกาสทั้งที่แมวจะอยู่หรือตายที่เปิดรับสาร กัมมันตรังสี และดังนั้นแมวจะมีความจริงใดๆอยู่เมื่อไปสังเกตมัน การสลายตัวของอะตอมจึงไม่มี ทั้งที่เกิดขึ้น และไม่เกิดขึ้น จึงไม่มีทั้งแมวที่ตายและแมวที่มีชีวิต จนกระทั่งเราได้มองเข้าไปในกล่องเพื่อดูว่าอะไรเกิดขึ้น นักทฤษฎีที่ยอมรับกลศาสตร์ควอนตัมรุ่นแรก กล่าวว่าแมวยังคงอยู่ในบางสถานะที่หาค่าไม่ได้ ไม่มีทั้งการตายและการมีชีวิตอยู่ จนกว่าผู้สังเกตมองเข้าไปในกล่อง ดูว่ามีความเป็นไปอะไรในกล่อง นั่นก็คือไม่มีอะไรเป็นจริง นอกจากเราเข้าไปสังเกตหรือสิ่งดังกล่าวได้รับการสังเกต
การเข้าใจผิดมโนทัศน์กับทฤษฎีเปียอาเจต์
เมื่อคนเราเข้าใจอะไรมาผิดๆ แล้วยังยึดติด ยึดถือสิ่งที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้น แล้วคิดว่าถูกต้องด้วยมีความเชื่ออย่างหนักแน่น เปรียบได้เหมือนกับการถูกล้างสมองแล้วใส่ความคิดที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวลงไป จนยากที่จะถอดหรือเปลี่ยนความเชื่อความคิดดังกล่าว ที่กล่าวมาแล้วนั้นหมายถึงมโนทัศน์ที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นอย่างไร สำหรับนักเรียนทุกวัยยึดเหนี่ยวอยู่กับคำอธิบายที่ทำให้เข้าใจสำหรับพวกเขา และต่อต้านเรื่องใหม่หรือแนวคิดที่แตกต่างออกไป ตรามเท่าที่ความคิดเดิมที่มีอยู่ยังใช้งานได้อยู่
เมื่อเราท้าทายเด็กนักเรียนต่อการที่เขายังเข้าใจผิดมโนทัศน์อยู่ เพื่อให้เขากลับมาเข้าใจมโนทัศน์ที่ถูกต้องเราต้องทำมากกว่าการเพียงให้ ประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติ เรายังจำต้องให้ผู้เรียนต้องคิดทำความเข้าใจให้สมองทำงาน (brain on) โดยให้ประสบการณ์ลงมือปฏิบัติซ้ำๆ คล้ายคลึงกัน ให้สำรวจเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไม่ลงรอยกัน และการอภิปรายถึงความชอบความประทับใจ และแนวความคิดที่ไม่ถูกต้อง การกระทำในลักษณะนี้เราจะจัดหาเส้นทางตรงๆ ที่สามารถจะเข้าใจได้สำหรับเด็กๆ ที่จะสร้างมโนทัศน์ได้อย่างละเอียดถูกต้องมากขึ้น
ข้อตกลงเบื้องต้นภายใต้ทฤษฎีของเปียอาเจต์ในการพัฒนาการทางสติปัญญา ก็คือสิ่งมีชีวิตไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์จะมีโอกาสที่จะอยู่รอดได้ ถ้าสามารถจัดการสร้างระเบียบแบบแผนขึ้นในท่ามกลางประสบการณ์ เมื่อเราตัดสินใจว่าจะกระทำอย่างไร เราทำภายใต้ฐานของอะไรที่เรารู้มาแล้ว ไม่ได้อยู่บนฐานว่าโลกอาจจะเป็นอะไรโดยตัวเอง ความเข้าใจเป็นบางสิ่งที่เราทุกคนจะต้องสร้างขึ้นสำหรับตัวเราเอง
อาการคิด (operation) ตามทฤษฎีของเปียอาเจต์เป็นผลพวกของการสะท้อนการคิดและการเข้าใจเชิงนามธรรม คำว่าสะท้อนความคิด (reflection) มีความหมายหลักสองอย่างในการใช้ในภาษาอังกฤษตามปกติธรรมดา อย่างแรกหมายถึงกิจกรรมทางจิต (mental activities) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนให้เกิดการคิดที่รู้สำนึก (conscious thought) นั่นคือไม่ได้ต่างไปมากจากการพิจารณาไตร่ตรอง (pondering)
อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของอารมณ์ความรู้สึก หรือการกระทำที่เคลื่อนไหว (motor action) หรือตัวแทนองค์ประกอบเช่นนั้น อันแสดงรูปร่างหรืออุปมาที่เหมือนกับการอาการทางจิตที่ ให้ความสัมพันธ์ ประสานงาน ให้ข้อสรุป ดังที่นักปรัชญาบางคนกำหนดลักษณะสั้นๆ ว่าเป็นอาการทางจิต (operation of mind)
ตามทัศนะการสร้างความรู้ (constructivist) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำและเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่กิจกรรมต่างๆที่จะต้องทำให้บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานะการณ์แวด ล้อมทั้งหมด อันเป็นประสบการณ์ของบุคคลดังกล่าว ในเทอมของเปียอาเจต์ เป็นกระบวนการโดยวิธีการที่มโนทัศน์และชนิดมโนทัศน์เช่นนั้นจะได้การสรุป เชิงประจักษ์ นั้นเท่ากับกล่าวได้ว่าเป็นข้อสรุปจากประสบการณ์จากประสาทสัมผัส และกระทำเคลื่อนไหว (sensory and motor) ส่วนข้อสรุปจากการสะท้อนความคิดเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่หาได้จากการกระทำและ การคิดจากใจ
เมื่อเราท้าทายเด็กนักเรียนต่อการที่เขายังเข้าใจผิดมโนทัศน์อยู่ เพื่อให้เขากลับมาเข้าใจมโนทัศน์ที่ถูกต้องเราต้องทำมากกว่าการเพียงให้ ประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติ เรายังจำต้องให้ผู้เรียนต้องคิดทำความเข้าใจให้สมองทำงาน (brain on) โดยให้ประสบการณ์ลงมือปฏิบัติซ้ำๆ คล้ายคลึงกัน ให้สำรวจเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไม่ลงรอยกัน และการอภิปรายถึงความชอบความประทับใจ และแนวความคิดที่ไม่ถูกต้อง การกระทำในลักษณะนี้เราจะจัดหาเส้นทางตรงๆ ที่สามารถจะเข้าใจได้สำหรับเด็กๆ ที่จะสร้างมโนทัศน์ได้อย่างละเอียดถูกต้องมากขึ้น
ข้อตกลงเบื้องต้นภายใต้ทฤษฎีของเปียอาเจต์ในการพัฒนาการทางสติปัญญา ก็คือสิ่งมีชีวิตไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์จะมีโอกาสที่จะอยู่รอดได้ ถ้าสามารถจัดการสร้างระเบียบแบบแผนขึ้นในท่ามกลางประสบการณ์ เมื่อเราตัดสินใจว่าจะกระทำอย่างไร เราทำภายใต้ฐานของอะไรที่เรารู้มาแล้ว ไม่ได้อยู่บนฐานว่าโลกอาจจะเป็นอะไรโดยตัวเอง ความเข้าใจเป็นบางสิ่งที่เราทุกคนจะต้องสร้างขึ้นสำหรับตัวเราเอง
อาการคิด (operation) ตามทฤษฎีของเปียอาเจต์เป็นผลพวกของการสะท้อนการคิดและการเข้าใจเชิงนามธรรม คำว่าสะท้อนความคิด (reflection) มีความหมายหลักสองอย่างในการใช้ในภาษาอังกฤษตามปกติธรรมดา อย่างแรกหมายถึงกิจกรรมทางจิต (mental activities) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนให้เกิดการคิดที่รู้สำนึก (conscious thought) นั่นคือไม่ได้ต่างไปมากจากการพิจารณาไตร่ตรอง (pondering)
อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของอารมณ์ความรู้สึก หรือการกระทำที่เคลื่อนไหว (motor action) หรือตัวแทนองค์ประกอบเช่นนั้น อันแสดงรูปร่างหรืออุปมาที่เหมือนกับการอาการทางจิตที่ ให้ความสัมพันธ์ ประสานงาน ให้ข้อสรุป ดังที่นักปรัชญาบางคนกำหนดลักษณะสั้นๆ ว่าเป็นอาการทางจิต (operation of mind)
ตามทัศนะการสร้างความรู้ (constructivist) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำและเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่กิจกรรมต่างๆที่จะต้องทำให้บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานะการณ์แวด ล้อมทั้งหมด อันเป็นประสบการณ์ของบุคคลดังกล่าว ในเทอมของเปียอาเจต์ เป็นกระบวนการโดยวิธีการที่มโนทัศน์และชนิดมโนทัศน์เช่นนั้นจะได้การสรุป เชิงประจักษ์ นั้นเท่ากับกล่าวได้ว่าเป็นข้อสรุปจากประสบการณ์จากประสาทสัมผัส และกระทำเคลื่อนไหว (sensory and motor) ส่วนข้อสรุปจากการสะท้อนความคิดเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่หาได้จากการกระทำและ การคิดจากใจ
สมรรถนะ
สมรรถนะ (competency) หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ ตลอดจนทัศนคติที่จำเป็นในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และคุณลักษณะอื่น ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานหลายคนอื่นๆ ผลงานวัดได้โดยใช้ KPI (Key performment Indicator) พฤติกรรมของผู้มีผลปฏิบัติงานยอดเยี่ยมในงานหนึ่งๆ ประกอบด้วยสมรรถนะดังนี้
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึงความมุ่งมั่นการปฏิบัติบัติงานให้ดีตลอดจนการสร้างสรรค์พัฒตาผลงาน
2. การบริการที่ดี หมายถึงความตั้งใจและพยายามบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ หมายถึง ขวนขวาย สนใจใฝ่รู้ พัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถของตน เพื่อมาปรับปรุงเข้ากับงาน
4. จริยธรรม หมายถึง การครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้องเหมาะสมตามหลักกฏหมาย และคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของตน
5. ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ หมายถึงความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
6. ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ หมายถึงความสามารถด้านการคิด แยกแยะภายใต้ สถานการณ์เพื่อประกอบกับองค์ความรู้
7. ความสามารถในเชิงจัดการ หมายถึงความสามารถในการจัดการโดยมีความตั้งใจทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
8. ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลและกลุ่มบุคคล หมายถึงความสามารถในในการรับรู้และเข้าใจถึงความต้องการของบุคคลที่สำคัญต่อ ผลสำเร็จของงานหมายถึง ลักษณะเฉพาะบุคคล
9. คุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่สำคัญต่อผลสำเร็จของงาน หมายถึงลักษณะเฉพาะบุคคล
10. ความสามารถเพื่อสนองตอบปัจจัยความเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง หมายถึงความสามารถในการจัดสรร ตอบสนอง และให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อองค์กร และบุคคล อ้างอิง เอกสารบรรยาย จากการเข้าร่วมประชุม
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึงความมุ่งมั่นการปฏิบัติบัติงานให้ดีตลอดจนการสร้างสรรค์พัฒตาผลงาน
2. การบริการที่ดี หมายถึงความตั้งใจและพยายามบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ หมายถึง ขวนขวาย สนใจใฝ่รู้ พัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถของตน เพื่อมาปรับปรุงเข้ากับงาน
4. จริยธรรม หมายถึง การครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้องเหมาะสมตามหลักกฏหมาย และคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของตน
5. ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ หมายถึงความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
6. ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ หมายถึงความสามารถด้านการคิด แยกแยะภายใต้ สถานการณ์เพื่อประกอบกับองค์ความรู้
7. ความสามารถในเชิงจัดการ หมายถึงความสามารถในการจัดการโดยมีความตั้งใจทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
8. ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลและกลุ่มบุคคล หมายถึงความสามารถในในการรับรู้และเข้าใจถึงความต้องการของบุคคลที่สำคัญต่อ ผลสำเร็จของงานหมายถึง ลักษณะเฉพาะบุคคล
9. คุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่สำคัญต่อผลสำเร็จของงาน หมายถึงลักษณะเฉพาะบุคคล
10. ความสามารถเพื่อสนองตอบปัจจัยความเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง หมายถึงความสามารถในการจัดสรร ตอบสนอง และให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อองค์กร และบุคคล อ้างอิง เอกสารบรรยาย จากการเข้าร่วมประชุม
ตรวจสอบภายในกันทำไม
โดยทั่วไปการตรวจสอบภายใน (Internal auditing) หมายถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านต่างๆภายในองค์กรอย่างอิสระด้วยการสอบทานการทำงานเพื่อเป็นเครื่องเมื่อของฝ่ายบริหาร ระบบการควบคุมภายในจึงมีความสำคัญและมีสวนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการดำเนินกิจการขององค์กร ......
จุดมุ่งหมายหลักๆ ของการตรวจสอบภายใน ประการแรกก็เพื่อเป็นการป้องกัน และติดตามค้นหาสาเหตุของความเสียหายหรือสูญเสียต่างๆ ขององค์กร ในขั้นต่อไปก็เพื่อทำการวัด ทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครื่องมือการตรวจสอบภายในโดยเฉพาะว่ามีจุดปฏิบัติงานใดที่ซ้ำซ้อน ที่ไม่ประสานสัมพันธ์กัน และสุดท้ายเป็นการตรวจสอบให้เป็นไปในทางที่เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการขององค์กรทั้งระบบ .....
ขอบข่ายของการตรวจสอบภายในจึงมีตั้งแต่การสอบทานประเมินความเหมาะสมของหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปํญชี การเงิน และการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบดูว่านโยบาย แผนงานและระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่กำหนดไว้มีการปฏิบัติจริงหรือไม่ ตรวจสอบดูว่ามีการบันทึก และควบคุมการเก็บรักษาทรัพสินไว้ในลักษณะที่เหมาะสม และสามารถป้องกันความเสียหายอย่างเพียงพอ ตรวจสอบระบบประมวลผลข้อมูลภายในองค์กรว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่ ประเมินผลการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ว่าเป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่มอบหมายให้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร และเสนอแนะ ข้อแก้ไขปรับปรุง การปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ....
อ้างอิง การตรวจสอบภายใน เจริญ เจษฏาวัลย์
จุดมุ่งหมายหลักๆ ของการตรวจสอบภายใน ประการแรกก็เพื่อเป็นการป้องกัน และติดตามค้นหาสาเหตุของความเสียหายหรือสูญเสียต่างๆ ขององค์กร ในขั้นต่อไปก็เพื่อทำการวัด ทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครื่องมือการตรวจสอบภายในโดยเฉพาะว่ามีจุดปฏิบัติงานใดที่ซ้ำซ้อน ที่ไม่ประสานสัมพันธ์กัน และสุดท้ายเป็นการตรวจสอบให้เป็นไปในทางที่เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการขององค์กรทั้งระบบ .....
ขอบข่ายของการตรวจสอบภายในจึงมีตั้งแต่การสอบทานประเมินความเหมาะสมของหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปํญชี การเงิน และการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบดูว่านโยบาย แผนงานและระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่กำหนดไว้มีการปฏิบัติจริงหรือไม่ ตรวจสอบดูว่ามีการบันทึก และควบคุมการเก็บรักษาทรัพสินไว้ในลักษณะที่เหมาะสม และสามารถป้องกันความเสียหายอย่างเพียงพอ ตรวจสอบระบบประมวลผลข้อมูลภายในองค์กรว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่ ประเมินผลการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ว่าเป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่มอบหมายให้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร และเสนอแนะ ข้อแก้ไขปรับปรุง การปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ....
อ้างอิง การตรวจสอบภายใน เจริญ เจษฏาวัลย์
รูปแบบการเรียนรู้แบบเจนเนอร์เรทีฟ
ตามชื่อมาจากคำว่า Generative learning model คำว่า generative เป็นคำคุณศัพท์ ส่วน generator เป็นคำนามที่แปลว่าเครื่องกำเนิด (ไฟฟ้า) generative จึงเป็นที่สภาพที่กำเนิดหรือที่กำเนิด ดังนั้น Generative learning model จึงเป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ รูปแบบกำเนิดการเรียนรู้ เพื่อที่จะเปลี่ยนทัศนะแนวคิดของผู้เรียน ที่เน้นให้ว่านักเรียนจะกระตือรือร้น สร้างหรือก่อกำเนิดความหมายจากประสาทสัมผัสอินทรีย์ (sensory input) ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้นั้น เน้นตามวัตถุประสงค์สามประการ
1.ต้องทำให้ทัศนะของนักเรียนให้ชัดว่าเป็นอย่างไรก่อน
2.ปรับเปลี่ยนทัศนะนักเรียนไปทางทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
3.แล้วทำให้ทัศนะทางวิทยาศาสตร์เข้มแข็งมั่นคงขึ้นภายใต้ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมี
สำหรับกระบวนการในการสอนรูปแบบที่กำเนิดการเรียนรู้ กล่าวคือ
ในขั้นแรกเริ่มต้องมั่นใจให้ได้ถึงทัศนะที่มีอยู่ของนักเรียน ในขั้น focus ตามด้วยขั้น challenge หรือท้าทาย และขั้นการประยุกต์ (application) ที่มุ่งไปที่นำเอาทัศนะของนักเรียน เข้าไปอยู่ในแนวเดียวกับทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ยอมรับกัน
generative learning หรือการเรียนรู้ที่กำเนิดขึ้น เป็นทฤษฎีหนึ่งที่เน้นการบูรณาการสื่อใหม่ต่างๆอย่างแข็งขันกับแบบแผนความคิด (schemata) ที่มีอยู่ หรือการเข้าใจแนวคิดที่ผู้เรียนจะต้องบูรณาการอย่างกระตือรือร้นกับข้อมูลสารสนเทศใหม่ เข้ากับความเข้าใจหรือแบบแผนการคิดที่มีอยู่ เป็นข้อตกลงเบื้องต้นหลัก ของรูปแบบการเรียนรู้ที่เรียกว่า “generative learning ” (Wittrock, 1978,1976) ที่กล่าวอีกอย่างว่า การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นการค้นพบ (all learning is discovery)
1.ต้องทำให้ทัศนะของนักเรียนให้ชัดว่าเป็นอย่างไรก่อน
2.ปรับเปลี่ยนทัศนะนักเรียนไปทางทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
3.แล้วทำให้ทัศนะทางวิทยาศาสตร์เข้มแข็งมั่นคงขึ้นภายใต้ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมี
สำหรับกระบวนการในการสอนรูปแบบที่กำเนิดการเรียนรู้ กล่าวคือ
ในขั้นแรกเริ่มต้องมั่นใจให้ได้ถึงทัศนะที่มีอยู่ของนักเรียน ในขั้น focus ตามด้วยขั้น challenge หรือท้าทาย และขั้นการประยุกต์ (application) ที่มุ่งไปที่นำเอาทัศนะของนักเรียน เข้าไปอยู่ในแนวเดียวกับทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ยอมรับกัน
generative learning หรือการเรียนรู้ที่กำเนิดขึ้น เป็นทฤษฎีหนึ่งที่เน้นการบูรณาการสื่อใหม่ต่างๆอย่างแข็งขันกับแบบแผนความคิด (schemata) ที่มีอยู่ หรือการเข้าใจแนวคิดที่ผู้เรียนจะต้องบูรณาการอย่างกระตือรือร้นกับข้อมูลสารสนเทศใหม่ เข้ากับความเข้าใจหรือแบบแผนการคิดที่มีอยู่ เป็นข้อตกลงเบื้องต้นหลัก ของรูปแบบการเรียนรู้ที่เรียกว่า “generative learning ” (Wittrock, 1978,1976) ที่กล่าวอีกอย่างว่า การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นการค้นพบ (all learning is discovery)
การพัฒนาการเชิงมโนทัศน์
สิ่งที่จะให้เรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะแนวคิดในเนื้อหาวิชาและการประยุกต์กับโลกแห่งความเป็นจริง การเรียนรู้เกิดขึ้นโดยการตีความ สร้างตัวแทนความรู้จากการอ่านอะไรก็ตาม ได้ฟังได้ยินมา และสังเกตมา การบูรณาการกับการเปลี่ยนความคิดที่มีอยู่เดิมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ บทบาทของครูที่สำคัญก็จะต้องสะท้อนแนวคิดของนักเรียนและตีความให้ ทางเลือกที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน นำนักเรียนไปสู่ความไม่พึงพอใจกับความคิดเดิมที่มีอยู่ เพื่อเทียบกับแนวคิดใหม่ผ่านการประยุกต์ใช้ มีหลักฐานอ้างอิง และการถกเถียงโต้แย้ง ในเรื่อง
-มโนทัศน์แต่ละมโนทัศน์ที่ได้รู้เป็นการเสริมแรงในตัวเอง
-ความรู้ของเนื้อหาวิชา
-ตื่นรู้ถึงความยากลำบากของนักเรียน และซื่อไร้เดียงสาของมโนทัศน์ที่มี
สื่อการเรียนรู้ที่แนะนำเริ่มจากชุดของคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียนกล่าวคือ
-โดยใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อพัฒนาความคิดที่ลึกซี้งให้นักเรียน
-เน้นให้ชัดเจนถึงคุณของความเข้าใจมโนทัศน์และการตีความของนักเรียน
-นักเรียนทั้งหมดสามารถที่จะเข้าใจได้ ถ้ามีอุปสรรควิกฤติอยู่ในมโนทัศน์ของนักเรียนที่
หาได้ว่าเป็นอย่างไรตรงไหน และใช้หลักฐานอ้างอิงที่เหมาะสม หรือการอภิปรายถก
เถียงที่ทำให้ข้ามพ้นอุปสรรค์ดังกล่าวไปได้
ความก้าวหน้าไม่เคยหยุดอยู่กับที่ เพราะว่าในทัศนะนี้นำครูไปให้ใช้ความพยายามต่อไปในการทบทวนการสอน แสวงหาความเข้าใจที่แจ่มแจ้งลึกเข้าไปในความคิดของนักเรียน ซึ่งจะให้ความมั่นใจที่มีนักเรียนมากพอที่จะเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิดในเรื่องหลักสำคัญได้ถูกต้อง
การสอนวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปในลักษณะที่ส่วนใหญ่ของนักเรียนที่สอนได้เข้าใจมากกว่าการจำ มีทางที่เป็นไปได้ แต่ต้องอาศัยจำนวนหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ที่สำคัญ ของนักเรียนที่มีมโนทัศน์ซื่อใสไร้เดียงสาอยู่ และยุทธวิธีการสอนสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์
ครูจำเป็นต้องรับเอาเป้าหมายในการช่วยนักเรียนส่วนใหญ่ทั้งหมดให้เข้าใจวิทยาศาสตร์
ครูจำต้องจัดให้เข้าไปจัดการหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ตอนนี้ ไม่ได้พร้อมจัดให้แก่ผู้เรียน
-มโนทัศน์แต่ละมโนทัศน์ที่ได้รู้เป็นการเสริมแรงในตัวเอง
-ความรู้ของเนื้อหาวิชา
-ตื่นรู้ถึงความยากลำบากของนักเรียน และซื่อไร้เดียงสาของมโนทัศน์ที่มี
สื่อการเรียนรู้ที่แนะนำเริ่มจากชุดของคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียนกล่าวคือ
-โดยใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อพัฒนาความคิดที่ลึกซี้งให้นักเรียน
-เน้นให้ชัดเจนถึงคุณของความเข้าใจมโนทัศน์และการตีความของนักเรียน
-นักเรียนทั้งหมดสามารถที่จะเข้าใจได้ ถ้ามีอุปสรรควิกฤติอยู่ในมโนทัศน์ของนักเรียนที่
หาได้ว่าเป็นอย่างไรตรงไหน และใช้หลักฐานอ้างอิงที่เหมาะสม หรือการอภิปรายถก
เถียงที่ทำให้ข้ามพ้นอุปสรรค์ดังกล่าวไปได้
ความก้าวหน้าไม่เคยหยุดอยู่กับที่ เพราะว่าในทัศนะนี้นำครูไปให้ใช้ความพยายามต่อไปในการทบทวนการสอน แสวงหาความเข้าใจที่แจ่มแจ้งลึกเข้าไปในความคิดของนักเรียน ซึ่งจะให้ความมั่นใจที่มีนักเรียนมากพอที่จะเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิดในเรื่องหลักสำคัญได้ถูกต้อง
การสอนวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปในลักษณะที่ส่วนใหญ่ของนักเรียนที่สอนได้เข้าใจมากกว่าการจำ มีทางที่เป็นไปได้ แต่ต้องอาศัยจำนวนหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ที่สำคัญ ของนักเรียนที่มีมโนทัศน์ซื่อใสไร้เดียงสาอยู่ และยุทธวิธีการสอนสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์
ครูจำเป็นต้องรับเอาเป้าหมายในการช่วยนักเรียนส่วนใหญ่ทั้งหมดให้เข้าใจวิทยาศาสตร์
ครูจำต้องจัดให้เข้าไปจัดการหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ตอนนี้ ไม่ได้พร้อมจัดให้แก่ผู้เรียน
ทฤษฎีเรียนรู้จากการคิด
ทฤษฎีเรียนรู้จากการคิด ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตที่สังเกตไม่ได้ ที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้ และจำสารสนเทศใหม่ หรือทำให้เกิดทักษะได้
ตามทฤษฎีนี้เป็นการอธิบาย การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นในกระบวนการทางจิต ขณะที่ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม เป็นการอธิบายการเรียนรู้ ที่เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ แต่ต่อมานั้นคิดได้ว่าผลที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมนั้นมาจากกระบวนการทางจิตเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ หรือเป็นแรงผลักดันทางจิตเป็นมูลเหตุ นั่นคือการคิดก่อนการกระทำเสมอ จะคิดดี คิดชั่วอย่างไรก็ส่งผลให้มีพฤติกรรมตามมานั่นเอง
ตามทฤษฎีนี้เป็นการอธิบาย การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นในกระบวนการทางจิต ขณะที่ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม เป็นการอธิบายการเรียนรู้ ที่เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ แต่ต่อมานั้นคิดได้ว่าผลที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมนั้นมาจากกระบวนการทางจิตเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ หรือเป็นแรงผลักดันทางจิตเป็นมูลเหตุ นั่นคือการคิดก่อนการกระทำเสมอ จะคิดดี คิดชั่วอย่างไรก็ส่งผลให้มีพฤติกรรมตามมานั่นเอง
ผลของแนวคิดที่ให้ทุกอย่างอยู่บนคอมพิวเตอร์
เดิมคอมพิวเตอร์ทำงานคำนวณเป็นหลักจึงเรียกว่าคอมพิวเตอร์ ซึ่งมาจากคำ compute แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้ภายในได้โดยอัตโนมัติ และทำงานได้เร็วจึงค่อยๆ ขยายการทำงานออกไปสู่การประมวลผลข้อมูลด้านอื่นๆ ทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลการทำงานในรูปของสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงเรียกได้ว่าเป็นมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ โดยสามารถที่จะแสดงผลตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างมีคุณภาพ ใกล้เคียงกับสิ่งที่มองเห็นมากที่สุด นอกจากนี้ยังบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วแค่ชั่วพริบตา ดังที่เราเห็นการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ผ่านทางการสื่อสาร ผสมผสานกันเป็นเทคโนโลยีข่าวสาร (information technology:IT) ในการนี้ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นตัวการสำคัญในการเข้าสู่สังคมข่าวสาร (information society) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลกวิธีคิดวิธีทำงาน และวิธีการดำรงชีวิต ที่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตที่เคยเป็นอยู่เดิมอย่างมากมาย ที่การเปลี่ยนแปลงที่ส่วนหนึ่งของโลกส่งผลไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่เรารู้จักกันในนามโลกาภิวัฒน์ (globalization)
แนวคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกได้มากมายในปัจจุบันไม่ใช่การใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานคนเช่นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่เป็นแนวคิดที่พัฒนาดิจิทัลคอมพิวเตอร์ให้มีความฉลาดหลักแหลม ให้คอมพิวเตอร์ก้าวเข้ามาช่วยมนุษย์ในการคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหา ด้วยที่เป็นที่พิสูจน์ยืนยันชัดเจนแล้วว่ายิ่งพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานมนุษย์มากเท่าใดก็จะยิ่งพัฒนางาน และวิชาการที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้มีการจ้างงานด้านหนึ่งน้อยลงเพราะคอมพิวเตอร์เป็นผู้ทำงานแทน แต่กลับสร้างงานด้านอื่น ที่เป็นการสร้างงานใหม่ๆ ให้กับมนุษย์ได้มากมายในทุกสาขามากกว่าในด้านที่จ้างแรงงานน้อยลง จากแนวคิดดังกล่าวนี้ทำให้มีความพยายที่จะพัฒนางานต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์มีส่วนในการช่วยงานให้มีประสิทธิภาพที่มีส่วนทำให้ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ถ้าเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจก็จะส่งผลทำให้มีกำไรสูงสุดได้
การพัฒนาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งผลให้มีการปฏิวัติวงการบันทึกเสียงและบันทึกภาพ จากที่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างภาพ ภาพเคลือนไหวและเสียง จากการบันทึกเสียงและภาพ ภาพเคลื่อนไหวในระบบแอนะล็อกที่ใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของสื่อข้อมูลในการบันทึกและใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นในการอ่านจากที่บันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นถือว่าล้าสมัยไปหมดแล้ว แทบไม่มีการใช้กันอีกต่อไป ได้แก่ แผ่นเสียง เทปม้วนหรือเทปคาสเซ็ตทั้งที่ใช้บันทึกภาพและเสียง กล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นตัวการสำคัญเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนหลักการจากระบบแอนะล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล ที่เป็นหลักการพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ โดยพัฒนาเครื่องบันทึกและอ่านข้อมูลที่จะเป็นส่วนนำข้อมูลเข้าและส่วนนำข้อมูลผลกากรทำงานออกมาบันทึกไว้ในสื่อข้อมูลแบบดิจิทัล อันได้แก่ฮาร์ดดิสค์และซีดีรอม ต่อมาได้พัฒนาซีดีรอมไปเป็นเครื่องสำหรับดูภาพยนต์และฟังเสียงเพลงและดนตรี ดังที่ในตอนแรกเราเรียกกันว่า เครืองเล่นคอมแพคดิส เพลเยอร์ (compact disk player: CD player) ที่ฟังเพลงและดนตรีได้เพียงอย่างเดียวต่อมาได้พัฒนาให้สามารถเล่นได้ทั้งวิดีโอ และฟังเพลงและดนตรีในเครื่องเดียวกัน จะเรียกว่า video compact disk player: VCD player) และพัฒนาเป็นเครื่อง ดีวีดีเพลเยอย์ (Digital Video Disk : DVD Player) ที่ให้คุณภาพดีกว่าและสามารถเล่นไฟล์ภาพและเสียงฟอร์แมทต่างๆ ได้
อุปการณ์ที่ใช้ในการสร้างภาพเช่นกล้องถ่ายรูป ก็เปลี่ยนไปเป็นกล้องดิจิทัลที่ใช้หน่วยความจำเป็นฟิล์มที่เรียกว่าเมมโมรีสติก (memory stick) ซึ่งสามารถถอดเข้าออกเปลี่ยนได้เมื่อบันทึกภาพไว้เต็ม นอกจากนี้สามารถที่จะลบภาพที่ถ่ายไว้แล้วได้และนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ร้านถ่ายรูปเดิมปรับเปลี่ยนจากที่เคยรับล้างฟิล์มอัดรูป กลายมาเป้นรับพิมพ์ภาพและตกแต่ภาพแทน เช่นเดียวกับการถ่ายวิดีโอก็เปลี่ยนจากฟิล์มเป็นม้วนมาเป็นฮาร์ดดิสค์หรือแผ่นซีดีรอม ทำให้การตัดต่อเคลื่อนย้ายทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม สำหรับอุปกรณ์บันทึกเสียงและบันทึกภาพวิดีโอก็เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลที่บันทึกลงในหน่วยความจำได้โดยตรง และสามารถทำงานได้เร็วกว่าเดิมหลายเท่า นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่พัฒนาขึ้นมาแทนอุปกรณ์เก่าที่ใช้ในระบบแอนะล็อก จะได้นำเสนออีกครั้งหนึ้ง
แนวคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกได้มากมายในปัจจุบันไม่ใช่การใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานคนเช่นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่เป็นแนวคิดที่พัฒนาดิจิทัลคอมพิวเตอร์ให้มีความฉลาดหลักแหลม ให้คอมพิวเตอร์ก้าวเข้ามาช่วยมนุษย์ในการคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหา ด้วยที่เป็นที่พิสูจน์ยืนยันชัดเจนแล้วว่ายิ่งพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานมนุษย์มากเท่าใดก็จะยิ่งพัฒนางาน และวิชาการที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้มีการจ้างงานด้านหนึ่งน้อยลงเพราะคอมพิวเตอร์เป็นผู้ทำงานแทน แต่กลับสร้างงานด้านอื่น ที่เป็นการสร้างงานใหม่ๆ ให้กับมนุษย์ได้มากมายในทุกสาขามากกว่าในด้านที่จ้างแรงงานน้อยลง จากแนวคิดดังกล่าวนี้ทำให้มีความพยายที่จะพัฒนางานต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์มีส่วนในการช่วยงานให้มีประสิทธิภาพที่มีส่วนทำให้ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ถ้าเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจก็จะส่งผลทำให้มีกำไรสูงสุดได้
การพัฒนาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งผลให้มีการปฏิวัติวงการบันทึกเสียงและบันทึกภาพ จากที่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างภาพ ภาพเคลือนไหวและเสียง จากการบันทึกเสียงและภาพ ภาพเคลื่อนไหวในระบบแอนะล็อกที่ใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของสื่อข้อมูลในการบันทึกและใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นในการอ่านจากที่บันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นถือว่าล้าสมัยไปหมดแล้ว แทบไม่มีการใช้กันอีกต่อไป ได้แก่ แผ่นเสียง เทปม้วนหรือเทปคาสเซ็ตทั้งที่ใช้บันทึกภาพและเสียง กล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นตัวการสำคัญเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนหลักการจากระบบแอนะล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล ที่เป็นหลักการพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ โดยพัฒนาเครื่องบันทึกและอ่านข้อมูลที่จะเป็นส่วนนำข้อมูลเข้าและส่วนนำข้อมูลผลกากรทำงานออกมาบันทึกไว้ในสื่อข้อมูลแบบดิจิทัล อันได้แก่ฮาร์ดดิสค์และซีดีรอม ต่อมาได้พัฒนาซีดีรอมไปเป็นเครื่องสำหรับดูภาพยนต์และฟังเสียงเพลงและดนตรี ดังที่ในตอนแรกเราเรียกกันว่า เครืองเล่นคอมแพคดิส เพลเยอร์ (compact disk player: CD player) ที่ฟังเพลงและดนตรีได้เพียงอย่างเดียวต่อมาได้พัฒนาให้สามารถเล่นได้ทั้งวิดีโอ และฟังเพลงและดนตรีในเครื่องเดียวกัน จะเรียกว่า video compact disk player: VCD player) และพัฒนาเป็นเครื่อง ดีวีดีเพลเยอย์ (Digital Video Disk : DVD Player) ที่ให้คุณภาพดีกว่าและสามารถเล่นไฟล์ภาพและเสียงฟอร์แมทต่างๆ ได้
อุปการณ์ที่ใช้ในการสร้างภาพเช่นกล้องถ่ายรูป ก็เปลี่ยนไปเป็นกล้องดิจิทัลที่ใช้หน่วยความจำเป็นฟิล์มที่เรียกว่าเมมโมรีสติก (memory stick) ซึ่งสามารถถอดเข้าออกเปลี่ยนได้เมื่อบันทึกภาพไว้เต็ม นอกจากนี้สามารถที่จะลบภาพที่ถ่ายไว้แล้วได้และนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ร้านถ่ายรูปเดิมปรับเปลี่ยนจากที่เคยรับล้างฟิล์มอัดรูป กลายมาเป้นรับพิมพ์ภาพและตกแต่ภาพแทน เช่นเดียวกับการถ่ายวิดีโอก็เปลี่ยนจากฟิล์มเป็นม้วนมาเป็นฮาร์ดดิสค์หรือแผ่นซีดีรอม ทำให้การตัดต่อเคลื่อนย้ายทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม สำหรับอุปกรณ์บันทึกเสียงและบันทึกภาพวิดีโอก็เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลที่บันทึกลงในหน่วยความจำได้โดยตรง และสามารถทำงานได้เร็วกว่าเดิมหลายเท่า นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่พัฒนาขึ้นมาแทนอุปกรณ์เก่าที่ใช้ในระบบแอนะล็อก จะได้นำเสนออีกครั้งหนึ้ง
มะพร้าวพืชพืชป้องกันรักษาสารพัดโรค
จากที่เราเคยเข้าใจว่ามะพร้าวเป็นพืชที่มีไขมันอิ่มตัว และคิดว่ามีคอเรสเทอร์รอลสูง เมื่อรับประทานมะพร้าว คอเรสเทอร์รอลในมะพร้าวจะแพร่ไปในกระแสโลหิต และเป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดอุดตันทำให้หัวใจขาดโรคและทำให้หัวใจวาย จึงทำให้หลายคนลดการรับประทานอาหารที่มีมะพร้าวเป็นองค์ประกอบ จะด้วยเหตุผลอื่นใดที่ทำให้เราเข้าใจเช่นนั้น ในเวลาเดียวกันนั้นเราก็คิดว่าน้ำมันพืชอื่น ไม่ว่าน้ำมันปาล์ม น้ำถั่วเหลือง และอื่นๆ มีคุณสมบัติที่ดีกว่า จึงได้รับการส่งเสริมให้รับประทานมากกว่าน้ำมันมะพร้าว แต่เมื่อมาทบทวนกลับพบว่าประเทศที่ใช้อาหารมะพร้าวเป็นส่วนผสมกลับเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจน้อยกว่าประเทศที่ใช้น้ำมันพืชอื่นมาก ไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่าน้ำมันมะพร้าว จากกระบวนอัดเย็นที่เรียกว่าน้ำมันมะพร้าวพรหมจันทร์ หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติที่เป็นยาอายุวัฒนะ และเป็นตัวป้องกันรักษาโรคได้สารพัดโรคทีเดียว
จากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่า น้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวก็ตามแต่มีคอเรสเทอร์รอลน้อยกว่าน้ำมันพืชอื่นๆ และที่สำคัญก็คือเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถเผาผลาญเป็นพลังงานได้ทันที่ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับคนที่รับประทานอาหารมะพร้าวจะไม่อ้วน และจากการทดลองให้รับประทานน้ำมันมะพร้าวก็พบว่าคอเรสเตอร์รอลไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามที่เคยคิดกัน การพบคุณสมบัติสำคัญอันได้แก่เป็นตัวฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ และโปรตัวซัว และไว้รัสบางชนิดรวมทั้งพวกที่มีเกาะเปาะไขมันหุ้ม น้ำมันมะพร้าวสามารถละลายได้และกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวสามารถทำลายเชื้อโรคนั้นได้ จะเห็นได้ว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่ายาปฏิชีวันนะโดยทั่วไป
ในน้ำมันมะพราวจากการอัดเย็นยังมีวิตามินอี ที่สามารถป้องกันการเกิดอ๋อกซิแดนซ์ และต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้ ทำให้ลดการเสื่อมสภาพส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ได้ดี นั่นก็คือช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดช่วยรักษากระดูก ไขข้อให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ผิวเนียนอ่อนนุ่ม ลบรอยย่อน ลดการตกกระและฟ้า ผิวหยาบกร้านเนื่องจากแดด นำมากำจัดเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแคเป็นต้น นอกจากนี้สำหรับเนื้อมะพร้าวยังเป็นอาหารทีมีไฟเบอร์สูง น้ำมะพร้าวมีสารอาหารโดยเฉพาะเอนไซม์บางชนิดที่มีประโยชน์ ทั้งยังสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้อีกด้วย
ในการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ไว้ใช้เองในกระบวนการอัดเย็นก็คือ เมื่อคั้นกะทินำมาใส่ภาชนะ แล้วทิ้งให้เย็น จะเห็นได้ชัดว่าแบ่งออกเป็นสามส่วนแยกกันส่วนบนเป็นครีม ส่วนกลางเป็นส่วนของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และส่วนล่างเป็นน้ำและเศษกากที่หลงเหลืออยู่่ ให้เอาส่วนบนออกหรือดูดเอาเฉพาะส่วนกลาง
จากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่า น้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวก็ตามแต่มีคอเรสเทอร์รอลน้อยกว่าน้ำมันพืชอื่นๆ และที่สำคัญก็คือเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถเผาผลาญเป็นพลังงานได้ทันที่ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับคนที่รับประทานอาหารมะพร้าวจะไม่อ้วน และจากการทดลองให้รับประทานน้ำมันมะพร้าวก็พบว่าคอเรสเตอร์รอลไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามที่เคยคิดกัน การพบคุณสมบัติสำคัญอันได้แก่เป็นตัวฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ และโปรตัวซัว และไว้รัสบางชนิดรวมทั้งพวกที่มีเกาะเปาะไขมันหุ้ม น้ำมันมะพร้าวสามารถละลายได้และกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวสามารถทำลายเชื้อโรคนั้นได้ จะเห็นได้ว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่ายาปฏิชีวันนะโดยทั่วไป
ในน้ำมันมะพราวจากการอัดเย็นยังมีวิตามินอี ที่สามารถป้องกันการเกิดอ๋อกซิแดนซ์ และต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้ ทำให้ลดการเสื่อมสภาพส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ได้ดี นั่นก็คือช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดช่วยรักษากระดูก ไขข้อให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ผิวเนียนอ่อนนุ่ม ลบรอยย่อน ลดการตกกระและฟ้า ผิวหยาบกร้านเนื่องจากแดด นำมากำจัดเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแคเป็นต้น นอกจากนี้สำหรับเนื้อมะพร้าวยังเป็นอาหารทีมีไฟเบอร์สูง น้ำมะพร้าวมีสารอาหารโดยเฉพาะเอนไซม์บางชนิดที่มีประโยชน์ ทั้งยังสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้อีกด้วย
ในการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ไว้ใช้เองในกระบวนการอัดเย็นก็คือ เมื่อคั้นกะทินำมาใส่ภาชนะ แล้วทิ้งให้เย็น จะเห็นได้ชัดว่าแบ่งออกเป็นสามส่วนแยกกันส่วนบนเป็นครีม ส่วนกลางเป็นส่วนของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และส่วนล่างเป็นน้ำและเศษกากที่หลงเหลืออยู่่ ให้เอาส่วนบนออกหรือดูดเอาเฉพาะส่วนกลาง
สปีชีที่อยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์
การหาว่าสปีชีใดเข้าสู่อันตรายเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ไม่มีเกณฑ์ที่กำหนดลงไปตายตัวที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกๆ สปีชี จำนวนของสมาชิกในสปีชีที่ทราบจำนวนว่ายังมีชีวิืตอยู่ก็ไม่ใช่เป็นเพียงองค์ ประกอบเดียวที่ใช้ สปีชีหนึ่งๆที่มีสมาชิกนับล้านที่ยังคงมีชีวิตอยู่ แต่อาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ก็อาจพิจารณาว่าอยู้่ในอันตราย ขณะที่สปีชีอื่นๆมีจำนวนสมาชิกที่มีชีวิตอยู่น้อยกว่า แต่แพร่กระจายไปในขอบเขตพื้นที่กว้างกว่า ที่อาจไม่ได้รับการพิจารณาว่าถูกบีบคั้นกดดันให้อยู่ในอันตรายมากนัก จากข้อมูลการสืบพันธ์ ความถี่ของการสืบเผ่าพันธ์ จำนวนเฉลี่ยของลูกที่คลอด อัตราการรอดชีวิต และอื่นๆ ที่นำเข้ามาสู่การพิจารณาในการหาว่าสปีชีอื่นใดที่จะอยู่ในอันตราย ในบางประเทศพิจารณาให้สปีชีที่จัดให้อยู่ในอันตรายนั้น อยู่บนฐานของงานวิจัย และข้อมูลภาคสนามที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ นักชีววิทยา นักพืชศาสตร์ และนักธรรมชาติวิทยา
และเนื่องจากกฏบัตรสปีชีอันตรายที่ได้ตกลงสัญญากันในปี 1973 สปีชีที่จะอยู่ในรายการที่มีความเสียงอันตรายได้ถ้าถูกบีบคั้นหรือกดดัน โดยอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
1. การทำลายล้างกดดันในปัจจุบัน การตัดตอนเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยหรือจัดระเบียบต่างไปจากเดิม
2. มีการนำไปใช้ในทางการค้า การกีฬา ทางวิทยาศาสตร์ หรือจุดประสงค์ทางการศึกษาในระดับที่เห็นว่าการทรุดโทรมทำล้ายมีผลต่อการมี ชีวิตต่อไป
3. เชื้่อโรคและเป็นเยื่อที่ถูกล่า
4. การไม่มีกลไกกฏระเบียบที่เพียงพอในการป้องกันการลดลงของสมาชิกในสปีชีหรือการลดระดับลงไปของถิ่นที่อยู่อาศัย
5. ปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นหรือองค์ประกอบที่มนุษย์ทำขึ้นอันมีผลต่อการคงอยู่ต่อไป
ถ้าหากว่าสปีชีต่างๆ ในภาวะที่มีแรงบีบคั้นที่จะเกิดอันตราย ผู้ที่จะมาชี้นำและหาว่าถิ่นที่อาศัยนั้นๆวิกฤติ นั่นคือบริเวณที่อยู่อาศัยของสปีชีนั้นได้มีลักษณะหลักทางกายภาพและชีวิภาพ ที่จำเป็นสำหรับการอนุรักษ์สปีชีดังกล่าว แหล่งที่อยู่อาศัยที่วิกฤติสามารถที่จะกำหนดรวมเอาพื้นที่ที่ไม่ได้เป็น แหล่งที่อยู่อาศัยก็ได้ผนวกรวมอยู่้ด้วย ซึ่งถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นต่อการป้องกันสปีชีนั้นๆ ไม่ให้สูญพันธ์ได้
และเนื่องจากกฏบัตรสปีชีอันตรายที่ได้ตกลงสัญญากันในปี 1973 สปีชีที่จะอยู่ในรายการที่มีความเสียงอันตรายได้ถ้าถูกบีบคั้นหรือกดดัน โดยอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
1. การทำลายล้างกดดันในปัจจุบัน การตัดตอนเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยหรือจัดระเบียบต่างไปจากเดิม
2. มีการนำไปใช้ในทางการค้า การกีฬา ทางวิทยาศาสตร์ หรือจุดประสงค์ทางการศึกษาในระดับที่เห็นว่าการทรุดโทรมทำล้ายมีผลต่อการมี ชีวิตต่อไป
3. เชื้่อโรคและเป็นเยื่อที่ถูกล่า
4. การไม่มีกลไกกฏระเบียบที่เพียงพอในการป้องกันการลดลงของสมาชิกในสปีชีหรือการลดระดับลงไปของถิ่นที่อยู่อาศัย
5. ปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นหรือองค์ประกอบที่มนุษย์ทำขึ้นอันมีผลต่อการคงอยู่ต่อไป
ถ้าหากว่าสปีชีต่างๆ ในภาวะที่มีแรงบีบคั้นที่จะเกิดอันตราย ผู้ที่จะมาชี้นำและหาว่าถิ่นที่อาศัยนั้นๆวิกฤติ นั่นคือบริเวณที่อยู่อาศัยของสปีชีนั้นได้มีลักษณะหลักทางกายภาพและชีวิภาพ ที่จำเป็นสำหรับการอนุรักษ์สปีชีดังกล่าว แหล่งที่อยู่อาศัยที่วิกฤติสามารถที่จะกำหนดรวมเอาพื้นที่ที่ไม่ได้เป็น แหล่งที่อยู่อาศัยก็ได้ผนวกรวมอยู่้ด้วย ซึ่งถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นต่อการป้องกันสปีชีนั้นๆ ไม่ให้สูญพันธ์ได้
ก้าวสู่การเป็นนักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์
จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมอบรมเชิง ปฏิบัิตการ เรื่องการเขียนเรื่องเผยแพร่ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีวิทยากรจากชมรมนักเขียนวิทยาศาสตร์ จากความคิดริเริ่มของคุณ ปรีชา อมาตยกุล เริ่มบรรยายจากคุณ จุึมพล เหมะศิรินทร์ ได้แนะนำเคล็ดลับ 3 ขั้นง่ายที่ทราบกันทั่วไป คือ (1) ต้องชอบหรือมีฉันทะ การชอบจะทำให้รุ่งมากกว่า ไปได้ไกลกว่าการทำตามหน้าที่ (2) ต้องอ่านต้องฟัง นำมาคิดขยายผลการอ่านสะสมข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ (3) มีเวลาลงมือเขียน โดยการเขียนไม่มีกฏ ทฤษฎีที่ตายตัว โดยมีข้อคำนึงก่อนการเขียนคือ มีจุดประสงค์การเขียน เผยแพร่ที่ไหน อย่างไร ผู้รับสารเป็นใคร นอกจากนี้ท่านยังได้แนะการเขียนข่าว โดยยึดหลัีก 5W1Hอันได้แก่ Who What Where When Why และ How
สำหรับแนวการเขียนนั้น สำหรับผู้เริ่มต้นให้มีสามส่วนหลักคือ ส่วนนำเป็นการปูพื้นนำเข้าสู่เรื่องสำคัญ ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง อาจมีหัวข้อย่อย มีลูกเล่น และสุัดท้ายส่วนสรุป หรือคำลงท้าย ในแต่ละบทความควรที่จะมี ลำดับเรื่องที่ดี การทำเรื่องยากให้ง่ายอาจทำได้โดยวิธีการเปรียบเทียบ การใช้สำนวนภาษาให้เหมาะกับผู้รับสาร และติดตามพัฒนางานเขียนแก้ไขข้อบกพร่อง
วิทยากรอีกท่านหนึ่งคือคุณ สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล บรรณาธิการนิตยสาร โลกวิทยาศาสตร์ (science world) ได้แนะนำหลักการเขียนเป็น 9 เคล็ด (ไม่ลับ) ที่เป็นคำคล้องจองกัน ก้าวสู่การเป็นนักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับงานเขียนทั่วไป ได้คือ
1. รักการอ่าน
2. เชี่ยวชาญหาข้อมูล
3. เข้าใจจูนกลุ่มเป้าหมาย
4. พริ้งพราววางโครงเรื่อง
5. สติเฟื่องตั้งชื่อเด่น
6. รู้เล่นวรรคตอนและภาษา
7. พํฒนาปรุงศัพท์ให้เข้าตา
8. หาเวลาลงมือเขียน
9. ใผ่รู้เพื่อปรับปรุง
นอกจากนี้ยังแนะนำ 8(โป้ยเซียน) คุณค่าเข้าตาสื่อ สำหรับผู้ที่จะส่งไปลงในสื่อประเภทต่างๆ ดังนี้
1. ขายความเป็นที่สุด
2. จุดประกายความหวัง
3.ฝากฝังข้อเกี่ยวพันธ์ (อิงกระแส)
4. ดันแนบแอบคนดัง
5. เพิ่มพลังด้วยตัวเลข
6. เอกลักษณ์เน้นจำกัด
7. อัดเรืองลี้ลับ ปริศนา
8. พาเพลินกับความใหม่ แปลก
นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อคิดในการเขียนหรือทำสารคดีวิทยศาสตร์เป็นวิดิโอหรือโทรทัศน์ที่ต้องคำนึงถึง
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. เรื่องใกล้ตัว
3. เหตุการณ์ปัจจุบัน
4. มุมมองใหม่
5. เป็นไปได้ในการผลิต
สำหรับแนวการเขียนนั้น สำหรับผู้เริ่มต้นให้มีสามส่วนหลักคือ ส่วนนำเป็นการปูพื้นนำเข้าสู่เรื่องสำคัญ ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง อาจมีหัวข้อย่อย มีลูกเล่น และสุัดท้ายส่วนสรุป หรือคำลงท้าย ในแต่ละบทความควรที่จะมี ลำดับเรื่องที่ดี การทำเรื่องยากให้ง่ายอาจทำได้โดยวิธีการเปรียบเทียบ การใช้สำนวนภาษาให้เหมาะกับผู้รับสาร และติดตามพัฒนางานเขียนแก้ไขข้อบกพร่อง
วิทยากรอีกท่านหนึ่งคือคุณ สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล บรรณาธิการนิตยสาร โลกวิทยาศาสตร์ (science world) ได้แนะนำหลักการเขียนเป็น 9 เคล็ด (ไม่ลับ) ที่เป็นคำคล้องจองกัน ก้าวสู่การเป็นนักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับงานเขียนทั่วไป ได้คือ
1. รักการอ่าน
2. เชี่ยวชาญหาข้อมูล
3. เข้าใจจูนกลุ่มเป้าหมาย
4. พริ้งพราววางโครงเรื่อง
5. สติเฟื่องตั้งชื่อเด่น
6. รู้เล่นวรรคตอนและภาษา
7. พํฒนาปรุงศัพท์ให้เข้าตา
8. หาเวลาลงมือเขียน
9. ใผ่รู้เพื่อปรับปรุง
นอกจากนี้ยังแนะนำ 8(โป้ยเซียน) คุณค่าเข้าตาสื่อ สำหรับผู้ที่จะส่งไปลงในสื่อประเภทต่างๆ ดังนี้
1. ขายความเป็นที่สุด
2. จุดประกายความหวัง
3.ฝากฝังข้อเกี่ยวพันธ์ (อิงกระแส)
4. ดันแนบแอบคนดัง
5. เพิ่มพลังด้วยตัวเลข
6. เอกลักษณ์เน้นจำกัด
7. อัดเรืองลี้ลับ ปริศนา
8. พาเพลินกับความใหม่ แปลก
นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อคิดในการเขียนหรือทำสารคดีวิทยศาสตร์เป็นวิดิโอหรือโทรทัศน์ที่ต้องคำนึงถึง
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. เรื่องใกล้ตัว
3. เหตุการณ์ปัจจุบัน
4. มุมมองใหม่
5. เป็นไปได้ในการผลิต
ระบบอินเวิร์ทเตอร์ประหยัดไฟฟ้าได้อย่างไร
การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากก็คือ อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่บ่งถึงการมีประสิทธิภาพ คือให้พลังงานน้อยกว่าแต่ให้ผลเท่าเดิมหรือมากกว่าหรือกล่าวได้ว่าจ่ายเงินน้อยกว่าแล้วยังได้งานเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ที่ใช้มอเตอร์เป็นกำลังงานหลายชนิดเช่นเครื่องปรับอากาศ เครื่องสูบน้ำเป็นต้น จะมีระบบใหม่ที่ทำให้ประหยัดไฟฟ้ามากกว่าเดิมขึ้นไปอีกมากกว่า 30 เปอร์เซนต์ โดยระบุว่าใช้ระบบอินเวิรสเตอร์ (inverter) สำหรับหลักการทำงานของระบบใหม่ที่กำลังเข้ามาแทนที่ระบบเก่า
จะยกตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นเครื่องปรับอากาศที่ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนมาสู่ระบบนี้ เพื่อให้เห็นการทำงานที่แตกต่าง ก็จะอธิบายระบบเครื่องปรับอากาศเก่าพอสังเขปกล่าวคือ เมื่อตั้งอุณภูมิที่ต้องการไว้ เช่นที่ 25 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิห้อง 30 องศานั้น เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานให้ความเย็นแก่ห้องจนอุณหภูมิเท่าหรือต่่ำกว่า 25 เล็กน้อย ตัวตรวจเช็คที่เครื่องปรับอากาศจะตัดการทำงานตัดไฟฟ้าเข้า
คอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิห้องก็ค่อยๆ สูงขึ้นไปอีกจนมากกว่า 25 องศาเซลเซียสเล็กน้อย คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานให้ความเย็นอีก โดยส่วนควบคุมการทำงานคือสวิตช์อัตโนมัติต่อไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนวาถ้าคอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลาจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่า หลักการทำงานคล้ายๆ กับตู้เย็นที่เมื่อเย็นจัดคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นก็หยุดทำงานเช่นกัน
ส่วนในเครื่องปรับอากาศที่ให้อินเวิรทเตอร์นั้น เมื่อเครื่องทำงานให้ความเย็นเท่ากับหรือน้อยกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้แล้ว การทำงานในระบบนี้จะไม่ตัดไฟแต่จะยังให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานต่อไป แต่ลดระดับการทำงานลง เหมือนกับการเปลี่ยนเกียร์รถยนต์ให้เกียร์สูงขึ้นแต่ใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งทำให้รักษาความเย็นได้สม่ำเสมอกว่า และสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า เพราะในระบบเก่าการตัดกระแสไฟฟ้าที่ให้มอเตอร์ทันที จากนั้นให้เริ่มทำงานใหม่นั้นต้องใช้พลังงานมากในตอนเริ่มต้นใหม่ ทำให้ความเย็นอาจไม่สม่ำเสมอและมีเสียงดังมากกว่า และสิ้นเปลืองมากกว่า ในเครื่องที่ใช้ระบบอินเวิร์ทเตอร์ตามชื่อก็บอกว่ากลับการทำงานมาใช้มอเตอร์แบบกระแสตรงที่ทำให้ปรับควบคุมความเร็วมอเตอร์หรือที่ความถี่ต่ำได้ดีกว่า ยิ่งการนำแม่เหล็กแบบนีโอไดเมี่ยมมาใช้ในมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องปรับอากาศดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด การใช้ระบบอินเวิร์ทเตอร์แม้ราคาแพงขึ้นเล็กน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ากว่าในการะประหยัดไฟฟ้าแน่นอน
จะยกตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นเครื่องปรับอากาศที่ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนมาสู่ระบบนี้ เพื่อให้เห็นการทำงานที่แตกต่าง ก็จะอธิบายระบบเครื่องปรับอากาศเก่าพอสังเขปกล่าวคือ เมื่อตั้งอุณภูมิที่ต้องการไว้ เช่นที่ 25 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิห้อง 30 องศานั้น เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานให้ความเย็นแก่ห้องจนอุณหภูมิเท่าหรือต่่ำกว่า 25 เล็กน้อย ตัวตรวจเช็คที่เครื่องปรับอากาศจะตัดการทำงานตัดไฟฟ้าเข้า
คอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิห้องก็ค่อยๆ สูงขึ้นไปอีกจนมากกว่า 25 องศาเซลเซียสเล็กน้อย คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานให้ความเย็นอีก โดยส่วนควบคุมการทำงานคือสวิตช์อัตโนมัติต่อไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนวาถ้าคอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลาจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่า หลักการทำงานคล้ายๆ กับตู้เย็นที่เมื่อเย็นจัดคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นก็หยุดทำงานเช่นกัน
ส่วนในเครื่องปรับอากาศที่ให้อินเวิรทเตอร์นั้น เมื่อเครื่องทำงานให้ความเย็นเท่ากับหรือน้อยกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้แล้ว การทำงานในระบบนี้จะไม่ตัดไฟแต่จะยังให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานต่อไป แต่ลดระดับการทำงานลง เหมือนกับการเปลี่ยนเกียร์รถยนต์ให้เกียร์สูงขึ้นแต่ใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งทำให้รักษาความเย็นได้สม่ำเสมอกว่า และสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า เพราะในระบบเก่าการตัดกระแสไฟฟ้าที่ให้มอเตอร์ทันที จากนั้นให้เริ่มทำงานใหม่นั้นต้องใช้พลังงานมากในตอนเริ่มต้นใหม่ ทำให้ความเย็นอาจไม่สม่ำเสมอและมีเสียงดังมากกว่า และสิ้นเปลืองมากกว่า ในเครื่องที่ใช้ระบบอินเวิร์ทเตอร์ตามชื่อก็บอกว่ากลับการทำงานมาใช้มอเตอร์แบบกระแสตรงที่ทำให้ปรับควบคุมความเร็วมอเตอร์หรือที่ความถี่ต่ำได้ดีกว่า ยิ่งการนำแม่เหล็กแบบนีโอไดเมี่ยมมาใช้ในมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องปรับอากาศดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด การใช้ระบบอินเวิร์ทเตอร์แม้ราคาแพงขึ้นเล็กน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ากว่าในการะประหยัดไฟฟ้าแน่นอน
คุณค่าขององค์กร
เราคงเข้าใจกับที่กล่าวกันว่า การทำให้มีคุณค่าเพิ่ม แสดงว่ามีคุณค่าอยู่จึงเพิ่มคุณค่าได้ ปกติแล้วแต่ละองค์กรก็มีคุณค่าอะไรบางอย่างอยู่ที่เป็นประโยชน์ ถ้าเปรียบองค์กรเหมือนกับชีวิตแล้วสิ่งที่หนุนช่วยองค์กรอยู่ก็คือหลักการ ที่สลักเจียรนัยกันขึ้นมา หลักการเหล่านั้นเป็นตัวนำทางให้กับองค์กรก็คือคุณค่าขององค์กร เหนือสิ่งอื่นใดแล้วคุณค่าหลักขององค์กรไม่ใช่อะไรที่มากไปกว่าหลักการที่ ประชาคมในองค์กรมีอยู่แนบแน่นฝังประทับอยู่ภายในใจ และคุณค่าหลักเหล่านั้นสำคัญยิ่งยวดต่อความสำเร็จ เพราะว่าคุณค่าเหล่านั้นทำหน้าที่เหมือนกับตัวยึดเหนี่ยว ในยามวิกฤตก็ยงมีที่พักพิง ไม่ว่าจะโดนมรสุมหนักหน่วงเพียงไร ก็ยังมีทิศทางให้ไป ไม่ให้พัดพาไปยังทิศที่ไม่ต้องการจะไป ยิ่งมีคุณค่าที่เข้มแข็งเหมือนกับมีบางอย่างที่ยึดเหนี่ยวเราไว้อย่างมั่นคง ไม่ว่าสภาวะแวดล้อมจะเลวร้ายปานใด
..........
นอกจากนี้แล้วคุณค่าหลักนั้นจะหยั่งรากลึกยึดเหนี่ยวความเชื่อไว้ ที่อธิบายได้ถึงจิตวิญญาณของเรา ก็จะกลายเป็นเหมือนเพื่อนที่อยู่เคียงคู่อย่างซื่อสัตย์ตราบตลอดอายุขัยขององค์กรที่สามารถมั่นใจได้ เพียงเหมือนกับสถานะการณ์โดยรอบ แนวทางที่เราอยู่อาศัยมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอนั้น เราได้มาซึ่งทักษะ วินัย และนิสัย การปฏิบัติต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามสถานะการณ์ ในอีกทางหนึ่งนั้นคุณค่าไม่เคยเปลี่ยน สามารถที่จะพึ่งพิงนำทางให้เรา กล่าวอีกอย่างได้ว่า วิธีการมีมากมาย คุณค่ามีไม่มาก วิธีการนั้นเปลี่ยนไปเสมอ คุณค่าไม่เคยเป็นเช่นนั้น
…………
ทันทีที่เราตรวจสอบคุณค่าของเราและอธิบายได้ แล้วเราก็สามารถจะนำทางถือหางเสือขององค์กรโดยคุณค่านั้น ถ้ามีบางอย่างเป็นคุณค่าหลักหรือคุณค่าแกนจริงแล้วมันจะยังคงเป็นส่วนหนึ่ง ของขีวิต และอาจจะคงอยู่ไปจนจุดสุดท้ายของชีวิตขององค์กร กล่าวคือ
…………
การ
-ให้คุณค่ากับท่าทีทัศนคติ เพราะว่ามีส่วนให้แนวทางเราที่เป็นไปได้
-ใหัคุึณค่ากับลำดับความสำคัญเพราะว่ามีส่วนให้เรามุ่งเน้นในการทำงานใดๆ
-ให้คุณค่ากับสุขภาพเพราว่ามีส่วนให้เราแข็งแรง
-ให้คุณค่ากับครอบครัวประชาคมเพราะว่ามีส่วนทำให้มีความเสถียรภาพ
-ให้คุณค่ากับการคิดเพราะว่ามีส่วนให้เรามีความก้าวหน้า
-ให้คุณค่ากับพันธะสัญญาเพราะว่ามีส่วนให้เราเกาะติดกัดไม่ปล่อย
-ให้คุณค่ากับความศรัธาเพราะว่ามีส่วนให้เกิดความสงบ
-ให้คุณค่ากับความสัมพันธ์เพราะว่ามีส่วนเติมเต็มให้เราสมบูรณ์
-ให้คุณค่ากับการมีใจคอกว้างขวางเพราะว่ามีส่วนให้เกิดนัยสำคัญ
-ให้คุณค่ากับคุณค่าเพราะว่าจะให้ทิศทางแก่เราให้คุณค่ากับการเติบโตเพราะว่าจะทำให้เรามีความสามารถมีพลัง
………………….
จากการนำทางของคุณค่าทั้ง 12 ดังกล่าวเหล่านั้น หวังว่าจะสามารถเติมเต็มจุดประสงค์ โดยมีศูนย์กลางหลักที่-ความเป็นพี่น้องครอบครัวเดียวกันที่จะมีชีวิตอยู่อย่างน่าเชื่อถือน่าชื่นชม ดังนั้นคุณค่าขององค์กรเป็นที่ยอมรับกันในพี่น้องผองเพื่อน-งานของเราต่อองค์กรมีอิทธิพลต่อประชาคมมากเท่าที่เป็นไปได้ในช่วงเวลาน้อยที่สุด-โดยตัวเราเองอยู่และตายด้วยความพึงพอใจว่าได้รับใช้ผู้อื่นและประชาคมอันเป็นพี่น้องผองเพื่อน
…………………อ้างอิง:ได้แนวจาก Today matters โดย John C. Maxwell
..........
นอกจากนี้แล้วคุณค่าหลักนั้นจะหยั่งรากลึกยึดเหนี่ยวความเชื่อไว้ ที่อธิบายได้ถึงจิตวิญญาณของเรา ก็จะกลายเป็นเหมือนเพื่อนที่อยู่เคียงคู่อย่างซื่อสัตย์ตราบตลอดอายุขัยขององค์กรที่สามารถมั่นใจได้ เพียงเหมือนกับสถานะการณ์โดยรอบ แนวทางที่เราอยู่อาศัยมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอนั้น เราได้มาซึ่งทักษะ วินัย และนิสัย การปฏิบัติต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามสถานะการณ์ ในอีกทางหนึ่งนั้นคุณค่าไม่เคยเปลี่ยน สามารถที่จะพึ่งพิงนำทางให้เรา กล่าวอีกอย่างได้ว่า วิธีการมีมากมาย คุณค่ามีไม่มาก วิธีการนั้นเปลี่ยนไปเสมอ คุณค่าไม่เคยเป็นเช่นนั้น
…………
ทันทีที่เราตรวจสอบคุณค่าของเราและอธิบายได้ แล้วเราก็สามารถจะนำทางถือหางเสือขององค์กรโดยคุณค่านั้น ถ้ามีบางอย่างเป็นคุณค่าหลักหรือคุณค่าแกนจริงแล้วมันจะยังคงเป็นส่วนหนึ่ง ของขีวิต และอาจจะคงอยู่ไปจนจุดสุดท้ายของชีวิตขององค์กร กล่าวคือ
…………
การ
-ให้คุณค่ากับท่าทีทัศนคติ เพราะว่ามีส่วนให้แนวทางเราที่เป็นไปได้
-ใหัคุึณค่ากับลำดับความสำคัญเพราะว่ามีส่วนให้เรามุ่งเน้นในการทำงานใดๆ
-ให้คุณค่ากับสุขภาพเพราว่ามีส่วนให้เราแข็งแรง
-ให้คุณค่ากับครอบครัวประชาคมเพราะว่ามีส่วนทำให้มีความเสถียรภาพ
-ให้คุณค่ากับการคิดเพราะว่ามีส่วนให้เรามีความก้าวหน้า
-ให้คุณค่ากับพันธะสัญญาเพราะว่ามีส่วนให้เราเกาะติดกัดไม่ปล่อย
-ให้คุณค่ากับความศรัธาเพราะว่ามีส่วนให้เกิดความสงบ
-ให้คุณค่ากับความสัมพันธ์เพราะว่ามีส่วนเติมเต็มให้เราสมบูรณ์
-ให้คุณค่ากับการมีใจคอกว้างขวางเพราะว่ามีส่วนให้เกิดนัยสำคัญ
-ให้คุณค่ากับคุณค่าเพราะว่าจะให้ทิศทางแก่เราให้คุณค่ากับการเติบโตเพราะว่าจะทำให้เรามีความสามารถมีพลัง
………………….
จากการนำทางของคุณค่าทั้ง 12 ดังกล่าวเหล่านั้น หวังว่าจะสามารถเติมเต็มจุดประสงค์ โดยมีศูนย์กลางหลักที่-ความเป็นพี่น้องครอบครัวเดียวกันที่จะมีชีวิตอยู่อย่างน่าเชื่อถือน่าชื่นชม ดังนั้นคุณค่าขององค์กรเป็นที่ยอมรับกันในพี่น้องผองเพื่อน-งานของเราต่อองค์กรมีอิทธิพลต่อประชาคมมากเท่าที่เป็นไปได้ในช่วงเวลาน้อยที่สุด-โดยตัวเราเองอยู่และตายด้วยความพึงพอใจว่าได้รับใช้ผู้อื่นและประชาคมอันเป็นพี่น้องผองเพื่อน
…………………อ้างอิง:ได้แนวจาก Today matters โดย John C. Maxwell
รู้เรื่องพลังงาน
คนเดินขึ้นบันได รถยนต์เคลื่อนที่ไปตามถนน รถเครนยกสิ่งของ ทั้งหมดต่างก็เป็นตัวอย่างการกระทำที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน(energy) งาน(work) และกำลังงาน(power) แต่ละเทอมเกี่ยวข้องกับความหมายทางวิทยาศาสตร์ (scientific meaning) จะเกิดการทำงานขึ้นเมื่อไรก็ตามที่แรงก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ นั่นคือ งาน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่บางอย่าง อาจเป็นการเคลื่อนของสิ่งที่เล็กมากเช่นอะตอม หรือใหญ่มากเช่นช้างหรือปลาวาฬ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่วนพลังงานหมายถึงความสามารถที่จะทำงาน และกำลังงานเป็นอัตราในการทำงาน หรือการทำงานเทียบกับเวลา พลังงานอาจแบ่งออกได้ 6 ประเภทดังนี้
1. พลังงานกล (mechanical energy) คือพลังงานจลน์ หรือพลังงานศักย์ (kinetic or potential energy) เช่นพลังงานจากไดนาโม เทอร์ไบน์
2. พลังงานไฟฟ้า (electrical energy) พลังานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เช่นพลังงานจากมอเตอร์ เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า
3. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy) พลังงานที่เก็บสะสมอยู่ในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ เช่นพลังงานจากเตาปฏิกรณ์ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากระเบิดนิวเคลียร์
4. พลังงานความร้อน คือพลังงานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่แบบสุ่ม (random) ของอะตอมของศาล ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าใดสารนั้นก็ยิ่งร้อนมากเท่านั้น เช่นอากาศร้อนในบอลล์ลูนแบบอากาศร้อน วัตถุสารใดก็ตามทีร้อนมากน้อย
5.พลังงานแผ่รังสี ประกอบด้วยรังสี คลื่นหรืออนุภาค โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสง รังสีอุลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า และรังสีคอสมิกซ์ (cosmic rays)เช่นจากแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาเซลล์ การสังเคราะห์แสง
6. พลังงานเคมี เป็นพลังงานที่เก็บอยู่ในอะตอมหรือโมเลกุลที่ปลดปล่อยออกมาโดยปฏิกิริยาเคมี เช่นพลังงานในแบตเตอร์รี เตาเผาแกสและน้ำมัน
พลังงานแต่ละชนิดดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่าพลังงานรูปหนึ่ง สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ โดยพลังงานรูปต่างๆ มักจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้ได้สะดวก และการใช้พลังงานที่ใช้รูปต่างๆ ก็ก่อให้เกิดพลังงานความร้อนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
1. พลังงานกล (mechanical energy) คือพลังงานจลน์ หรือพลังงานศักย์ (kinetic or potential energy) เช่นพลังงานจากไดนาโม เทอร์ไบน์
2. พลังงานไฟฟ้า (electrical energy) พลังานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เช่นพลังงานจากมอเตอร์ เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า
3. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy) พลังงานที่เก็บสะสมอยู่ในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ เช่นพลังงานจากเตาปฏิกรณ์ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากระเบิดนิวเคลียร์
4. พลังงานความร้อน คือพลังงานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่แบบสุ่ม (random) ของอะตอมของศาล ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าใดสารนั้นก็ยิ่งร้อนมากเท่านั้น เช่นอากาศร้อนในบอลล์ลูนแบบอากาศร้อน วัตถุสารใดก็ตามทีร้อนมากน้อย
5.พลังงานแผ่รังสี ประกอบด้วยรังสี คลื่นหรืออนุภาค โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสง รังสีอุลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า และรังสีคอสมิกซ์ (cosmic rays)เช่นจากแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาเซลล์ การสังเคราะห์แสง
6. พลังงานเคมี เป็นพลังงานที่เก็บอยู่ในอะตอมหรือโมเลกุลที่ปลดปล่อยออกมาโดยปฏิกิริยาเคมี เช่นพลังงานในแบตเตอร์รี เตาเผาแกสและน้ำมัน
พลังงานแต่ละชนิดดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่าพลังงานรูปหนึ่ง สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ โดยพลังงานรูปต่างๆ มักจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้ได้สะดวก และการใช้พลังงานที่ใช้รูปต่างๆ ก็ก่อให้เกิดพลังงานความร้อนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
ค่านิยมที่ควรจะเป็นในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ช่วงนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาลงที่ทุกหมู่ ทุกเหล่าจะต้องช่วยเหลือประคับประคองให้ดำเนินไปได้โดยให้มีกระทบต่อทุกคนใน ภาพรวมให้น้อยที่สุด แน่นอนว่าในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคียงหาเงินใช้ยาก และมีคนเอาเงินไปจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ซึ่งแน่นอนว่ากระทบคนที่เคยค้าขายทุกระดับ ทำอย่างไรที่จะต้องช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนมาก และลดหลั่นกันไป ตามความเดือดร้อนแต่ใครจะเป็นผู้บอกว่าใครเดือดร้อนมากน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องยาก
เราจะเห็นว่ามีหลายกลุ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือ บ้างก็มาเดินขบวนอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลบ้างหรือบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งก็เชื่อว่ารัฐก็ต้องหาทางช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ แต่บางที่ได้ข่าวว่าความช่วยเหลือมาไม่ทันใจ ก็เรียกร้องความสนใจโดยการคืนบัตรประชาชนบ้าง ปิดถนนบ้าง ซึ่งไม่ว่าจะประท้วงโดยวิธีใดถ้าหากไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อกดดันรัฐให้หันมาสนใจ วิธีการดังกล่าวนี้ถ้าผิดกฏหมาย หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้วไม่น่าจะกระทำนำมาใช้ น่าจะใช้วิธีการอื่นที่ดีกว่านี้
ส่วนใหญ่ผู้ที่เดือดร้อนมักจะเป็นเกษตรกรไทยที่มักมีหนี้สิน เป็นหนี้ธนาคาร และผลผลิตราคาตกต่ำยิ่งซ้ำเติมเข้าไปอีก หรือไม่ก็ผลผลิตเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติบ้าง หรือจากความผันผวนของลมฟ้าอากาศที่ทำให้เกิดความเสียหาย เรื่องต่างๆ เหล่านี้ต้องหาทางช่วยเหลืออย่างไรทำอย่างไรให้มีหลักประกันต่อเกษตรกรได้ บ้าง รัฐจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง กลุ่มเกษตรกรได้รวมกลุมมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ได้พยายมช่วยเหลือตนเองอย่างไร ถ้ารู้ว่าผลผลิตจะตกต่ำล่วงหน้าควรจะทำอย่างไร หรือว่าถ้าเกิดภัยวิบัติจะทำอย่างไร ต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องมีการวางแผนเตรียมการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมกลุ่มกันช่วยเหลือกลุ่มของตัวเอง ให้มีอำนาจในการต่อรอง
ค่านิยมและวัฒนธรรมในการพึ่งพาตนเอง ความจริงตามแนวพุทธศาสนาก็มีพุทธภาษิตอยู่ว่า อันตาหิ อัตโนนาโถ ซึ่งหมายความว่าตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตนเอง ยามนี้เศรษฐกิจถดถอยถ้ามีน้อยก็ใช้น้อยตามอัตภาพ และสำหรับคนที่พอมีมากเหลือพอถ้าได้ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนบ้างจะช่วยให้ สังคมเราอยู่เย็นเป็นสุขได้แม้แต่ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี โดยนึกอยู่เสมอว่าเราจะเป็นสุขอยู่ฝ่ายเดียวได้อย่างไรขณะที่ผู้อยู่รอบข้าง ทุกร้อนอย่างแสนสาหัส สอดคล้องกับการศึกษาที่พบความจริงที่ว่าทุกสิ่งโดยเฉพาะระบบชีวิตที่ดำรง อยู่ได้เพราะมีการอิงอาศัยกันและกัน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
และคำกล่าวของอดีตผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกา ประธานาธิปดีเคนเนดี ที่สร้างแรงบัีนดารใจในเรื่องของการพึ่งพิงตนเอง สร้างค่านิยมที่ให้ความรู้สึกถึงเกียรติภูมิ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และไม่ไปขัดขวางความก้าวหน้า ความสงบสุขใดๆ จากคำกล่าวที่ว่า “อย่าถามว่าประเทศจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามว่าท่านจะให้อะไรกับประเทศ “ ถ้าจะขอยกมาใช้เป็นสติเตือนใจได้ในยามที่มีการเรียกร้องอะไรกันมากมายก็น่า จะบรรเทาลงได้บ้าง
เราจะเห็นว่ามีหลายกลุ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือ บ้างก็มาเดินขบวนอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลบ้างหรือบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งก็เชื่อว่ารัฐก็ต้องหาทางช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ แต่บางที่ได้ข่าวว่าความช่วยเหลือมาไม่ทันใจ ก็เรียกร้องความสนใจโดยการคืนบัตรประชาชนบ้าง ปิดถนนบ้าง ซึ่งไม่ว่าจะประท้วงโดยวิธีใดถ้าหากไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อกดดันรัฐให้หันมาสนใจ วิธีการดังกล่าวนี้ถ้าผิดกฏหมาย หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้วไม่น่าจะกระทำนำมาใช้ น่าจะใช้วิธีการอื่นที่ดีกว่านี้
ส่วนใหญ่ผู้ที่เดือดร้อนมักจะเป็นเกษตรกรไทยที่มักมีหนี้สิน เป็นหนี้ธนาคาร และผลผลิตราคาตกต่ำยิ่งซ้ำเติมเข้าไปอีก หรือไม่ก็ผลผลิตเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติบ้าง หรือจากความผันผวนของลมฟ้าอากาศที่ทำให้เกิดความเสียหาย เรื่องต่างๆ เหล่านี้ต้องหาทางช่วยเหลืออย่างไรทำอย่างไรให้มีหลักประกันต่อเกษตรกรได้ บ้าง รัฐจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง กลุ่มเกษตรกรได้รวมกลุมมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ได้พยายมช่วยเหลือตนเองอย่างไร ถ้ารู้ว่าผลผลิตจะตกต่ำล่วงหน้าควรจะทำอย่างไร หรือว่าถ้าเกิดภัยวิบัติจะทำอย่างไร ต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องมีการวางแผนเตรียมการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมกลุ่มกันช่วยเหลือกลุ่มของตัวเอง ให้มีอำนาจในการต่อรอง
ค่านิยมและวัฒนธรรมในการพึ่งพาตนเอง ความจริงตามแนวพุทธศาสนาก็มีพุทธภาษิตอยู่ว่า อันตาหิ อัตโนนาโถ ซึ่งหมายความว่าตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตนเอง ยามนี้เศรษฐกิจถดถอยถ้ามีน้อยก็ใช้น้อยตามอัตภาพ และสำหรับคนที่พอมีมากเหลือพอถ้าได้ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนบ้างจะช่วยให้ สังคมเราอยู่เย็นเป็นสุขได้แม้แต่ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี โดยนึกอยู่เสมอว่าเราจะเป็นสุขอยู่ฝ่ายเดียวได้อย่างไรขณะที่ผู้อยู่รอบข้าง ทุกร้อนอย่างแสนสาหัส สอดคล้องกับการศึกษาที่พบความจริงที่ว่าทุกสิ่งโดยเฉพาะระบบชีวิตที่ดำรง อยู่ได้เพราะมีการอิงอาศัยกันและกัน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
และคำกล่าวของอดีตผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกา ประธานาธิปดีเคนเนดี ที่สร้างแรงบัีนดารใจในเรื่องของการพึ่งพิงตนเอง สร้างค่านิยมที่ให้ความรู้สึกถึงเกียรติภูมิ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และไม่ไปขัดขวางความก้าวหน้า ความสงบสุขใดๆ จากคำกล่าวที่ว่า “อย่าถามว่าประเทศจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามว่าท่านจะให้อะไรกับประเทศ “ ถ้าจะขอยกมาใช้เป็นสติเตือนใจได้ในยามที่มีการเรียกร้องอะไรกันมากมายก็น่า จะบรรเทาลงได้บ้าง
จงทำสิ่งที่ทำให้มีความสุขโดยไม่ทำความลำบากใจให้ผู้อื่น
อะไรก็ตามที่ทำให้คุณมีความสุข ตราบเท่าที่ไม่ได้ทำร้ายตัวคุณเอง หรือบุคคลอื่นแล้ว จงทำไปเถิด สร้างแผนการตารางกิจกรรมที่สามารถให้ความสุขความพึงพอใจให้กับชีวิตของคุณบ้าง เคยให้ความสำคัญกับอะไรมากมายนั้น คุณควรกำหนดให้น้อยกว่าสิงที่สามารถให้ความสุขบ้าง บางคนคิดว่าความสุขเพียงเกิดขึ้นแล้วหายไป แต่ก็เป็นเป็นองศาหนึ่งที่เป็นจริง สร้างความทรงจำที่ทำให้เกิดความสุข ความสุขมีโอกาสเกิดได้ดีกว่าในสถานะการณ์ที่สามารถสนุกสนาน การมุ่งเน้นที่ประสบการณ์เชิงบวกสามารถที่จะหาความสุขได้แม้ในกองขยะ แต่เพียงเน้นประสบการณ์ที่เป็นเชิงบวกที่จะหาความสุขได้ง่ายกว่า ที่พิืพิธภัณฑ์ หรืออ่านหนังสือดีๆ ดูรายการแสดงโชว์ดีๆจากทีวี หรือเดินเล่นแถวชายหาด หรืออยู่กับเพื่อนๆ จงพยายามกระทำในสิ่งที่รักและชอบ ที่ทำให้คุณสนุกในการกระทำ และทำบ่อยๆ การให้มีความสุขต่อไปคือการคงสุขภาพดีต่อไปนั่นเอง
ลดภาวะโลกร้อนด้วยปฏิวัติเขียว
ปัญหาอย่างหนึ่งที่มาพร้อมกับความเจริญพัฒนาทางวัตถุก็คือปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันจะเห็นได้จากการที่สัตว์ป่าสูญพันธ์ไปเป็นจำนวนมากอันเนื่องมาจากการทำลายป่าไม้ที่ทำให้ป่าไม้ทั่วโลกหายไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง ผลที่ตามมาแน่นอนว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ ที่เรียกว่าเราอยู่ในภาวะโลกร้อน
เราสามารถมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยลดระดับภาวะโลกร้อน ด้วยตัวอย่างต่อไปนี้ หากมีอะไรอีกช่วยกันเสนอแนะด้วยครับ
-ช่วยกันประหยัดน้ำ เช่นติดฝักบัวแบบประหยัดน้ำ ชักโครกแบบประหยัดน้ำ-เลิกใช้กระดาษชำระวันเว้นวัน-ขี่รถจักรยานไปทำงานอย่างน้อย 5 วันต่อเดือน-ขณะแปรงฟันให้ปิดก็อกน้ำ-ปลูกต้นไม้อย่างน้อยเดือนละ 1 ต้น-เลิกใช้ยาฆ่าแมลงสารเคมีเป็นเวลา 1 เดือน ให้ใช้สารอินทรีย์แทน-รับทานอาหารมังสวิรัติสัปดาห์ละครั้ง-ใช้สบู่ซักผ้าแทนผงซักฟอก-ใช้กระดาษทำสำเนาสองหน้า-ใช้ถ้วยกาแฟของตนเองไม่ใช้แบบใช้แล้วทิ้ง-ใช้แบตเตอร์รีแบบชาร์ตได้-ให้ของขวัญสีเขียว (ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม)
เราสามารถมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยลดระดับภาวะโลกร้อน ด้วยตัวอย่างต่อไปนี้ หากมีอะไรอีกช่วยกันเสนอแนะด้วยครับ
-ช่วยกันประหยัดน้ำ เช่นติดฝักบัวแบบประหยัดน้ำ ชักโครกแบบประหยัดน้ำ-เลิกใช้กระดาษชำระวันเว้นวัน-ขี่รถจักรยานไปทำงานอย่างน้อย 5 วันต่อเดือน-ขณะแปรงฟันให้ปิดก็อกน้ำ-ปลูกต้นไม้อย่างน้อยเดือนละ 1 ต้น-เลิกใช้ยาฆ่าแมลงสารเคมีเป็นเวลา 1 เดือน ให้ใช้สารอินทรีย์แทน-รับทานอาหารมังสวิรัติสัปดาห์ละครั้ง-ใช้สบู่ซักผ้าแทนผงซักฟอก-ใช้กระดาษทำสำเนาสองหน้า-ใช้ถ้วยกาแฟของตนเองไม่ใช้แบบใช้แล้วทิ้ง-ใช้แบตเตอร์รีแบบชาร์ตได้-ให้ของขวัญสีเขียว (ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม)
การเรียนรู้อย่างมีความหมาย 2
ส่วนที่สำคัญมีความลึกซื้งของทฤษฎี schema ในการเรียนรู้อย่างมีความหมายคือการเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างกระตือรือร้นของผู้เรียน อันเป็นเจ้าบ้านของความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อน ที่จะนำมาสู่สิ่งที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่จะต้องเข้าไปร่วมไม้ร่วมมือ เข้าไปมีความสัมพันธ์กับสารสนเทศใหม่ที่เข้ามา
David Ausubel (1960,1963) ได้พัฒนาวิธีการที่เรียกว่า Advance Organizer เพื่อนำทางให้แนวทางแก่ผู้เรียนในรูปของสื่อการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ และช่วยให้ผู้เรียนจดจำสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อช่วยนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมสัมพันธ์กับสารทนเทศใหม่ที่นำเสนอต่อผู้เรียน Advance Organizer เป็นเหมือนประโยคพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะให้เรียนรู้ และจัดเตรียมโครงสร้างสำหรับสารสนเทศใหม่ ให้สัมพันธ์กับสารสนเทศที่ผู้เรียนมีอยู่ นักเรียนจำนวนมากได้ก่อตัวจัดตั้งให้ Advance Organizer เป็นตัวการเพิ่มความเข้าใจให้กับการเรียนรู้ ในแต่ละเนื้อหาของสื่อที่จัดให้ นอกจากนี้ advance organizer ดูเหมือนว่าจะมีประโยชน์มากที่สุดกับการสอนเนื้อหาที่จัดโครงสร้างไว้อย่างดีที่อาจจะไม่ปรากฏต่อนักเรียนในทันที
การสอนที่ดีเป็นความสามารถของครูที่จะหยั่งลึก เข้าถึงความเข้าใจของผู้เรียน มโนทัศน์พื้นฐานของทฤษฎี Ausubel ก็คือการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยสรุปเพื่อให้มีการเรียนรู้อย่างมีความหมายผู้เรียนแต่ละคนจะต้องนำเอาความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับมโนทัศน์และข้อความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว ที่ต่างไปจากการเรียนรู้เชิงรับที่จัดสารสนเทศที่จะเรียนรู้ให้ผู้เรียนโดยตรง
David Ausubel (1960,1963) ได้พัฒนาวิธีการที่เรียกว่า Advance Organizer เพื่อนำทางให้แนวทางแก่ผู้เรียนในรูปของสื่อการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ และช่วยให้ผู้เรียนจดจำสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อช่วยนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมสัมพันธ์กับสารทนเทศใหม่ที่นำเสนอต่อผู้เรียน Advance Organizer เป็นเหมือนประโยคพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะให้เรียนรู้ และจัดเตรียมโครงสร้างสำหรับสารสนเทศใหม่ ให้สัมพันธ์กับสารสนเทศที่ผู้เรียนมีอยู่ นักเรียนจำนวนมากได้ก่อตัวจัดตั้งให้ Advance Organizer เป็นตัวการเพิ่มความเข้าใจให้กับการเรียนรู้ ในแต่ละเนื้อหาของสื่อที่จัดให้ นอกจากนี้ advance organizer ดูเหมือนว่าจะมีประโยชน์มากที่สุดกับการสอนเนื้อหาที่จัดโครงสร้างไว้อย่างดีที่อาจจะไม่ปรากฏต่อนักเรียนในทันที
การสอนที่ดีเป็นความสามารถของครูที่จะหยั่งลึก เข้าถึงความเข้าใจของผู้เรียน มโนทัศน์พื้นฐานของทฤษฎี Ausubel ก็คือการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยสรุปเพื่อให้มีการเรียนรู้อย่างมีความหมายผู้เรียนแต่ละคนจะต้องนำเอาความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับมโนทัศน์และข้อความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว ที่ต่างไปจากการเรียนรู้เชิงรับที่จัดสารสนเทศที่จะเรียนรู้ให้ผู้เรียนโดยตรง
ประเภทของความรู้
ในวงการจัดการความรู้มักแบ่งความรู้เป็นสองประเภทคือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) กับ ความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (Tacit Knowledge) โดยความรู้ที่ชัดแจ้งนั้น เป็นความรู้จากวิทยาการด้านต่างๆ ที่ลงเป็นหลักวิชา เป็นกฏ ทฤษฎี เทียบเคียงได้กับ ปริยัติ เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปของสื่อแบบต่างๆ เป็นความรู้ที่บันทึกไว้ได้ในสื่อนั่นเอง และเห็นได้ค่อนข้างชัดและค่อนข้างแน่ใจ ส่วนความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนนั้นยังมีเชิงนามธรรม เป็นภูมิปัญญาที่อาจยังไม่สามารถบันทึกออกมาได้อย่างชัดเจน เป็นประสบการณ์ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล และอาจกล่าวได้ว่าฝังลึก และซ่อนเร้น ที่ไม่อาจถ่ายทอดได้เพียงแต่การอ่านจากหนังสือตำราเพียงอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับบริบทและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละขณะที่จะต้องปรับเปลี่ยนความรู้ให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
ความหมายของการจัดการความรู้
มีการให้ความหมายการจัดการความรู้ไว้หลายรูปแบบ แต่โดยสรุปมีเนื้อหาใกล้เคียงกันจากการไปฟังการอบรมการจัดการความรู้ครั้งหนึ่งได้ให้ความหมายไว้ว่า
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ภายใน ภายนอกองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ภายในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงความรู้ และนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ (เชี่ยวชาญ) รวมทั้งให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพหรือมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
โดยนัยความหมายดังกล่าวแล้ว การจัดการความรู้จึงทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดการพัฒนาคน เพราะคนเป็นกลไกในการทำงานทุกอย่าง ถ้าคนมีความรู้ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดความผิดซ้ำซาก และเพื่อให้เกิดการพัฒนางานซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคน หรือกล่าวได้ว่าต้องมีระบบงานที่ดีในการทำงานควบคู่กันไปด้วย องค์ประกอบที่สำคัญต่อไปก็คือต้องศึกษา เรียนรู้ที่จะสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาใช้เองหรือปรับปรุงความรู้เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ให้เหมาะกับบริบทในการทำงาน และเพื่อที่จะให้องค์กรเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ว่าจำเป็นต้องใช้ความรู้ อะไร อย่างไร
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ภายใน ภายนอกองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ภายในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงความรู้ และนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ (เชี่ยวชาญ) รวมทั้งให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพหรือมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
โดยนัยความหมายดังกล่าวแล้ว การจัดการความรู้จึงทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดการพัฒนาคน เพราะคนเป็นกลไกในการทำงานทุกอย่าง ถ้าคนมีความรู้ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดความผิดซ้ำซาก และเพื่อให้เกิดการพัฒนางานซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคน หรือกล่าวได้ว่าต้องมีระบบงานที่ดีในการทำงานควบคู่กันไปด้วย องค์ประกอบที่สำคัญต่อไปก็คือต้องศึกษา เรียนรู้ที่จะสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาใช้เองหรือปรับปรุงความรู้เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ให้เหมาะกับบริบทในการทำงาน และเพื่อที่จะให้องค์กรเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ว่าจำเป็นต้องใช้ความรู้ อะไร อย่างไร
การเรียนรู้อย่างมีความหมาย
การเรียนรู้อย่างมีความหมายไม่ใช่การเรียนรู้แบบใดๆก็ได้ และการเรียนรู้แบบนี้สัมพันธ์กับสารสนเทศหรือมโนทัศน์ของผู้เรียนที่มีอยู่แล้ว โดยที่เป็นกระบวนการทางการคิดทางจิตที่คิดให้สารสนเทศใหม่ที่ได้รับนำไปสู่การเชื่อมโยงกับความรู้ที่เคยได้เรียนรู้มาแล้ว สารสนเทศที่ทำให้ง่ายเข้าใจต่อการเรียนรู้ มากกว่าที่ไม่ทำให้เข้าใจอะไรเลย การเรียนรู้อย่างมีความหมายจึงเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจออกมาจากสารสนเทศ โดยมีการจัดลำดับไว้ในการคิดของผู้เรียนจนกระทั่งไปสอดรับกับลำดับ ที่เป็นระบบระเบียบ โดยใช้สารสนเทศที่มีอยู่เดิมหรือความรู้เดิมในการดูดซึมสารสนเทศใหม่ (assimilate) เกิดการเรียนรู้ใหม่
สิ่งที่สำคัญมาอันเป็นงานของครูก็คือทำให้สารสนเทศนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน โดยการนำเสนอให้ชัดเจนเป็นระบบ โดยการจัดความสัมพันธ์กับสารสนเทศที่มีอยู่ในความคิดของนักเรียน และโดยการทำให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอให้อย่างแท้จริง อันได้แก่มโนทัศน์ที่ครูสอน และนักเรียนสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานะการณ์ใหม่
สารสนเทศที่มีความหมายจะเก็บบันทึกไว้ในส่วนของความจำระยะยาว ในรูปของเครือข่ายการเชื่อมโยงความจริงต่างๆ หรือเป็นมโนทัศน์ที่เรียกว่า schemata สารสนเทศที่สอดรับกันกับ sheme ที่มีอยู่นี้จะง่ายต่อการทำความเข้าใจเรียนรู้และคงอยู่ได้มากกว่าสารสนเทศที่ไม่สอดรับกับ scheme ดังกล่าว scheme ที่พัฒนาอย่างดีแล้วจะจัดระบบเป็นลำดับชั้น (hierarchies) คล้ายกับมีหัวข้อรายการที่เชื่อมยึดโยงใยอยู่ใน schemata (Ausubel,1963)
สิ่งที่สำคัญมาอันเป็นงานของครูก็คือทำให้สารสนเทศนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน โดยการนำเสนอให้ชัดเจนเป็นระบบ โดยการจัดความสัมพันธ์กับสารสนเทศที่มีอยู่ในความคิดของนักเรียน และโดยการทำให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอให้อย่างแท้จริง อันได้แก่มโนทัศน์ที่ครูสอน และนักเรียนสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานะการณ์ใหม่
สารสนเทศที่มีความหมายจะเก็บบันทึกไว้ในส่วนของความจำระยะยาว ในรูปของเครือข่ายการเชื่อมโยงความจริงต่างๆ หรือเป็นมโนทัศน์ที่เรียกว่า schemata สารสนเทศที่สอดรับกันกับ sheme ที่มีอยู่นี้จะง่ายต่อการทำความเข้าใจเรียนรู้และคงอยู่ได้มากกว่าสารสนเทศที่ไม่สอดรับกับ scheme ดังกล่าว scheme ที่พัฒนาอย่างดีแล้วจะจัดระบบเป็นลำดับชั้น (hierarchies) คล้ายกับมีหัวข้อรายการที่เชื่อมยึดโยงใยอยู่ใน schemata (Ausubel,1963)
การพัฒนาจอภาพแอลซีดี
การพัฒนาการของจอภาพ LCD มีข้อดีหลายประการ ประการแรกที่สำคัญคือการใช้จ่ายพลังงานกว่าจอภาพแบบซีอาทีที่ใช้กันทั่วไป ประมาณ 2-3 เท่า ข้อดีประการถัดมาคือความคมชัดจะดีกว่าจอภาพโมนีเตอร์และโทรทัศน์ทั่วไป โดยทั่วไปจำนวนจุดในแนวนอนและแนวตั้งยิ่งมากจะให้ภาพที่ละเอียดคมชัด แต่มีลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาคือการคอนทราส(contrast) จะวัดเป็นอัตราส่วน หนึ่งต่อพัน หรือหนึ่งต่อสองพัน สามพัน... ยิ่งมากยิ่งดีเช่นกัน สังเกตได้ว่าถ้าไม่มีสัญญาณใดๆ จะดำสนิท แต่ถ้าคุณภาพด้อยลงมาจะเห็นแสงอยู่บ้างในความดำ
ลักษณะอื่นเช่นให้พอร์ท HDMI ซึ่งในโหมดนี้จะให้ความละเอียดในแนวตั้งถึง 1080 จุดหรือเส้นมากกว่าเดิมถึงสองเท่า ทั้งยังรวมช่องเสียงและภาพอยู่ที่แจ๊คอันเดียว จอภาพแอลซีดีบางรุ่นมีที่เสียบเมมโมรีคาร์ดที่สามารถจะดูภาพและวิดีโอได้เลยโดยไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์ ใช้งานนำเสนอได้เลยไม่ต้องแบกโน้ตบุค
อุปกรณ์เชื่อมต่อก็มีเพียบ ต้องการทำให้จอภาพLCD คอมพิวเตอร์รับโทรทัศน์ได้ด้วยก็มีอุปกรณ์เสริมให้เป็นทีวีได้เลย หรือจะใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ แผงวงจรเล็กเท่าๆ กับเมมโมรีคาร์ด แต่เวลาเปลี่ยนจูนช่องต้องติดตั้งซอพท์แวร์ แบ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ได้ เวลาใช้ก็เสียบวงจรเข้าที่ช่องยูเอสบีเท่านั้น ปัจจุบันได้ออกแบบให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นเครื่องรับโทรทัศน์หรือจะทำหน้าที่เป็นจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที และเปลี่ยนช่องสถานีด้วยรีโมทได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ซอพท์แวร์ช่วยผ่านทางคอมพิวเตอร์อีกต่อไป
ลักษณะอื่นเช่นให้พอร์ท HDMI ซึ่งในโหมดนี้จะให้ความละเอียดในแนวตั้งถึง 1080 จุดหรือเส้นมากกว่าเดิมถึงสองเท่า ทั้งยังรวมช่องเสียงและภาพอยู่ที่แจ๊คอันเดียว จอภาพแอลซีดีบางรุ่นมีที่เสียบเมมโมรีคาร์ดที่สามารถจะดูภาพและวิดีโอได้เลยโดยไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์ ใช้งานนำเสนอได้เลยไม่ต้องแบกโน้ตบุค
อุปกรณ์เชื่อมต่อก็มีเพียบ ต้องการทำให้จอภาพLCD คอมพิวเตอร์รับโทรทัศน์ได้ด้วยก็มีอุปกรณ์เสริมให้เป็นทีวีได้เลย หรือจะใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ แผงวงจรเล็กเท่าๆ กับเมมโมรีคาร์ด แต่เวลาเปลี่ยนจูนช่องต้องติดตั้งซอพท์แวร์ แบ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ได้ เวลาใช้ก็เสียบวงจรเข้าที่ช่องยูเอสบีเท่านั้น ปัจจุบันได้ออกแบบให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นเครื่องรับโทรทัศน์หรือจะทำหน้าที่เป็นจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที และเปลี่ยนช่องสถานีด้วยรีโมทได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ซอพท์แวร์ช่วยผ่านทางคอมพิวเตอร์อีกต่อไป
วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552
จัดการความรู้ทำไม
ในสถาบันอุดมศึกษา หน้าที่หลักที่ต้องประสาทวิชาอันเป็นวิชาชีพให้แก่ผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ ทำอย่างไรให้เรียนรู้ได้ดีและเร็ว และมีอะไรที่เป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ความรู้ที่เหมาะสมถูกต้อง การจะเป็นเช่นนั้นได้นั้นก็ต้องมีการจัดการความรู้
เหตุที่ต้องจัดการความรู้ก็เพราะ ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว การพยากรณ์คาดการณ์ คาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ยาก และในระบอบวัตถุทุนนิยมดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงมาก ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์โลกไร้พรมแดน ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำต้องมีความรู้ที่จะแยกแยะ เลือกสรร ความรู้ที่ถูกต้องมาใช้ จากความรู้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของที่มีอยู่ในทุกๆ 2-3 ปี การจัดการความรู้เพื่อให้นำมาใช้ในการบริการ นำมาซึ่งความพอใจของผู้รับบริการเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโลกปัจจุบันถือว่าลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ต้องมองให้ออกว่าใตรเป็นลูกค้า ที่ต้องให้บริการบ้าง ประกอบกับยังต้องมีวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดีมากำกับ ดังที่เราเห็นว่าการจัดการความรู้เป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการของ ก.พ.ร.อย่างหนึ่ง
สำหรับที่จำต้องจัดการความรู้อันเนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ก็เพราะ การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความผิดซ้ำซากของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ความรู้หายไปเมื่อบุคลากรเกษียณออกไป เพราะยังเป็นความรู้เฉพาะตัวคนยังไม่ได้ทำให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือยังไม่ได้จัดการความรู้ให้ความรู้ไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล มีส่วนทำให้องค์กรสูญเสียความเป็นเลิศหรือความเชี่ยวชาญหรือจุดเด่นที่ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ทัน นั่นก็คือองค์กรจะต้องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพขององค์กร
เหตุที่ต้องจัดการความรู้ก็เพราะ ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว การพยากรณ์คาดการณ์ คาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ยาก และในระบอบวัตถุทุนนิยมดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงมาก ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์โลกไร้พรมแดน ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำต้องมีความรู้ที่จะแยกแยะ เลือกสรร ความรู้ที่ถูกต้องมาใช้ จากความรู้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของที่มีอยู่ในทุกๆ 2-3 ปี การจัดการความรู้เพื่อให้นำมาใช้ในการบริการ นำมาซึ่งความพอใจของผู้รับบริการเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโลกปัจจุบันถือว่าลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ต้องมองให้ออกว่าใตรเป็นลูกค้า ที่ต้องให้บริการบ้าง ประกอบกับยังต้องมีวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดีมากำกับ ดังที่เราเห็นว่าการจัดการความรู้เป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการของ ก.พ.ร.อย่างหนึ่ง
สำหรับที่จำต้องจัดการความรู้อันเนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ก็เพราะ การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความผิดซ้ำซากของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ความรู้หายไปเมื่อบุคลากรเกษียณออกไป เพราะยังเป็นความรู้เฉพาะตัวคนยังไม่ได้ทำให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือยังไม่ได้จัดการความรู้ให้ความรู้ไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล มีส่วนทำให้องค์กรสูญเสียความเป็นเลิศหรือความเชี่ยวชาญหรือจุดเด่นที่ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ทัน นั่นก็คือองค์กรจะต้องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพขององค์กร
ทฤษฏีชีมมากับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
การที่จะเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายไม่ใช่เรียนรู้ไปตามอำเภอใจทุกอย่าง แต่จะเกี่ยวข้องกับว่ามีความรู้เดิมอะไรอยู่บ้าง หรือผู้เรียนรู้มีมโนทัศน์หรือแนวคิดใดอยู่บ้างแล้ว
การสอนที่ให้ผลดี (effective teaching) ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจนั้น จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเข้าใช้สารสนเทศได้สะดวก ดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสารสนเทศอื่นๆ ที่เข้ามา และนำไปประยุกต์ภายนอกห้องเรียนได้
สารสนเทศที่มีความหมายจะเก็บอยู่ในเทอมของความจำระยะยาว (longterm memory) อยู่ในเครือข่ายของการเชื่อมต่อกับความจริงและมโนทัศน์เรียกว่า ชีมมา (schema) สารสนเทศใดที่เข้ากันได้กับชีมมาที่มีอยู่แล้ว ทำให้เข้าใจได้ดีกว่า เรียนรู้ได้ดีกว่า จำได้ดีกว่า กับพวกที่ไม่ไปด้วยกันกับชีมมาที่มีอยู่ (Ausubel, 1986 Anderson and Bower, 1973 Runellhart,1977)
จากนี้คิดได้ว่า ชีมมาหรือชีมมาตา ที่พัฒนาไว้แล้วอย่างดี จัดระบบตามลำดับชั้น (hierachies) ทำนองเดียวกับรายการ หรือที่เรียงหัวข้อไว้ ด้วยสารสนเทศที่มีการจัดกลุ่มภายใต้กลุ่มประเภททั่วไป ที่มีความเป็นทั่วไปมากขึ้น เมื่อมีสารสนเทศใหม่ที่สัมพันธ์กับ ชีมมา (schema) อาจได้รับการเรียนรู้ ร่วมด้วยกับชีมมาได้ง่ายกว่ากับสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับชีมมาน้อยกว่า หรือที่ได้จากการท่องจำ หรือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีมมาใดๆ
สิ่งที่สำคัญยิ่งภายใต้ทฤษฎีชีมมา นั่นคือการเรียนรู้อย่างมีความหมายต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ที่เปรียบเหมือนเจ้าบ้านที่มีประสบการณ์มาก่อน ในทางที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ และร่วมด้วยกับสารสนเทศใหม่
การสอนที่ให้ผลดี (effective teaching) ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจนั้น จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเข้าใช้สารสนเทศได้สะดวก ดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสารสนเทศอื่นๆ ที่เข้ามา และนำไปประยุกต์ภายนอกห้องเรียนได้
สารสนเทศที่มีความหมายจะเก็บอยู่ในเทอมของความจำระยะยาว (longterm memory) อยู่ในเครือข่ายของการเชื่อมต่อกับความจริงและมโนทัศน์เรียกว่า ชีมมา (schema) สารสนเทศใดที่เข้ากันได้กับชีมมาที่มีอยู่แล้ว ทำให้เข้าใจได้ดีกว่า เรียนรู้ได้ดีกว่า จำได้ดีกว่า กับพวกที่ไม่ไปด้วยกันกับชีมมาที่มีอยู่ (Ausubel, 1986 Anderson and Bower, 1973 Runellhart,1977)
จากนี้คิดได้ว่า ชีมมาหรือชีมมาตา ที่พัฒนาไว้แล้วอย่างดี จัดระบบตามลำดับชั้น (hierachies) ทำนองเดียวกับรายการ หรือที่เรียงหัวข้อไว้ ด้วยสารสนเทศที่มีการจัดกลุ่มภายใต้กลุ่มประเภททั่วไป ที่มีความเป็นทั่วไปมากขึ้น เมื่อมีสารสนเทศใหม่ที่สัมพันธ์กับ ชีมมา (schema) อาจได้รับการเรียนรู้ ร่วมด้วยกับชีมมาได้ง่ายกว่ากับสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับชีมมาน้อยกว่า หรือที่ได้จากการท่องจำ หรือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีมมาใดๆ
สิ่งที่สำคัญยิ่งภายใต้ทฤษฎีชีมมา นั่นคือการเรียนรู้อย่างมีความหมายต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ที่เปรียบเหมือนเจ้าบ้านที่มีประสบการณ์มาก่อน ในทางที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ และร่วมด้วยกับสารสนเทศใหม่
ปรากฏการณ์แอลนิโญอันตรายอย่างไร
ตามแนวชายฝั่งอเมริกาใต้ใกล้สิ้นปีปฏิทิน กระแสน้ำอุ่นที่ไม่ค่อนอุดมสมบูรณ์ มีสารอาหารน้อยในเขต tropical เคลื่อนลงทางใต้ แทนที่น้ำที่เย็นกว่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่ผิวหน้า เนื่องจากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นประมาณวันคริสต์มาส ผู้คนในท้องถิ่นจึงเรียกว่า แอลนิโญ (ภาษาสเปนแปลว่าเด็ก) อ้างถึงเด็กชาวคริสต์ ในเกือบทุกปีมีความอบอุ่นเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตามเมื่อปรากกฏการณ์นี้คงอยู่ต่อเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้เกิดผลเสียหายทางด้านเศรษฐกิจจำนวนมาก การขยายช่วงเวลาที่อบอุ่นออกไปซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกในตอนนี้ว่าแอลนิโญ
ในระหว่างที่เกิดปรากฏการแอลนิโญเกิดความเสียหาย เพราะปลาจำนวนมาก และพืชทะเลหลายอย่างไม่อาจอาศัยอยู่ได้อาจตายไป การย่อยสลายชีวิตที่ตายไปในระหว่างนั้นทำให้จำนวนออกซิเจนลดน้อยลง ทำให้เกิดผลผลิตจากแบคทีเรียปริมาณสูงมากคือกลิ่นของไฮโดรเจนซัลไฟล์ ทำให้ลดจำนวนปลาลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพวก anchovy ทำให้ผลผลิตอาหารจากปลาของโลกลดลงจำนวนมาก ส่งผลทำให้สัตว์ปีกทั้งหลายราคาสูงขึ้นด้วยเพราะต้องใช้ปลาเป็นอาหารในการเลี้ยงสัตว์ปีกเหล่านั้น
จากการศึกษาเปิดเผยให้ทราบถึงแอนนิโญไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว ที่เป็นส่วนของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนกระแสน้ำในมหาสมุทร และบรรยากาศ ปรากฏการณ์แอนนิโญในปี 1986-1987 เป็นช่วงที่มีภูมิอากาศที่แล้วร้ายชั่วหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และองศาของความอุ่นที่เพิ่มขึ้น แอลนิโญในปี 1986-1987 จะเป็นส่วนที่มีการบันทึกถึงภาวะโลกร้อนในปี 1987 ที่โลกร้อนที่สุดในรอบ 100ปี ปรากฏการณ์นี้จะน่าจะเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน
ในระหว่างที่เกิดปรากฏการแอลนิโญเกิดความเสียหาย เพราะปลาจำนวนมาก และพืชทะเลหลายอย่างไม่อาจอาศัยอยู่ได้อาจตายไป การย่อยสลายชีวิตที่ตายไปในระหว่างนั้นทำให้จำนวนออกซิเจนลดน้อยลง ทำให้เกิดผลผลิตจากแบคทีเรียปริมาณสูงมากคือกลิ่นของไฮโดรเจนซัลไฟล์ ทำให้ลดจำนวนปลาลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพวก anchovy ทำให้ผลผลิตอาหารจากปลาของโลกลดลงจำนวนมาก ส่งผลทำให้สัตว์ปีกทั้งหลายราคาสูงขึ้นด้วยเพราะต้องใช้ปลาเป็นอาหารในการเลี้ยงสัตว์ปีกเหล่านั้น
จากการศึกษาเปิดเผยให้ทราบถึงแอนนิโญไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว ที่เป็นส่วนของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนกระแสน้ำในมหาสมุทร และบรรยากาศ ปรากฏการณ์แอนนิโญในปี 1986-1987 เป็นช่วงที่มีภูมิอากาศที่แล้วร้ายชั่วหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และองศาของความอุ่นที่เพิ่มขึ้น แอลนิโญในปี 1986-1987 จะเป็นส่วนที่มีการบันทึกถึงภาวะโลกร้อนในปี 1987 ที่โลกร้อนที่สุดในรอบ 100ปี ปรากฏการณ์นี้จะน่าจะเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน
ชีวิตเริ่มต้นเมื่อใด
ยังไม่มีคำจำกัดความทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดถึงว่าชีวิตเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด สิ่งที่ยุ่งยากมากเรื่องหนึ่ง คือการเถียงกันในเรื่องการทำแท้งในบางประเทศ ซึ่งมีการพิจารณากันว่าชีวิตเริ่มขึ้นเมื่อใด สำหรับผู้ที่ต่อต้านการทำแท้งจะยึดถือว่าชีวิตเริ่มต้นเมื่อเริ่มปฏิสนธิหรือเริ่มการตั้งท้อง สำหรับผู้ที่ชอบไปในทางสิทธิส่วนบุคคลที่จะเลือกการทำแท้งได้ จะยึดถือว่าการมีชีวิตเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
ในเรื่องนี้ควรจะมีความชัดเจน เมื่อพิจารณามีการเปลี่อนแปลงอะไรเกิดขึ้น ไม่ได้มีครั้งเดียวในการเปลึ่ยนผ่าน เช่นว่าจากเซลล์สืบพันธ์ไปเป็นไซโกตหรือไข่ที่ผสมแล้ว แล้วจึงเกิดเป็นเด็กเกิดใหม่ เมื่อเรากล่าวได้ว่าชีวิตเริ่มต้นที่นี่ กระบวนการยังดำเนินต่อไป คำถามที่ว่าที่ใดที่ชีวิตเริ่มต้น จำเป็นต้องตอบคำถามนี้จากภายนอกวงการวิทยาศาสตร์ ในเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการถกเถียงกันถึงความเชื่อในทางศาสนา จากคำถามที่ว่าเมื่อไรที่มนุษย์ได้รับจิตวิญญาณมา เมื่อนั้นก็มีชีวิตที่สมบูรณ์
ในเรื่องนี้ควรจะมีความชัดเจน เมื่อพิจารณามีการเปลี่อนแปลงอะไรเกิดขึ้น ไม่ได้มีครั้งเดียวในการเปลึ่ยนผ่าน เช่นว่าจากเซลล์สืบพันธ์ไปเป็นไซโกตหรือไข่ที่ผสมแล้ว แล้วจึงเกิดเป็นเด็กเกิดใหม่ เมื่อเรากล่าวได้ว่าชีวิตเริ่มต้นที่นี่ กระบวนการยังดำเนินต่อไป คำถามที่ว่าที่ใดที่ชีวิตเริ่มต้น จำเป็นต้องตอบคำถามนี้จากภายนอกวงการวิทยาศาสตร์ ในเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการถกเถียงกันถึงความเชื่อในทางศาสนา จากคำถามที่ว่าเมื่อไรที่มนุษย์ได้รับจิตวิญญาณมา เมื่อนั้นก็มีชีวิตที่สมบูรณ์
การจัดการความรู้ที่ควรจะเป็น
โลกในยุคสังคมข่าวสารต้องการบุคคลากรที่มีความรู้มากขึ้น กว่าการมีทักษะเพียงอย่างเดียวเพราะมีความเชื่อว่า การมีความรู้กำกับด้วยจะช่วยให้การปรับปรุงการทำงานได้ดีขึ้น และเชื่ออีกเหมือนกันว่าหน่วยงานที่ดำเนินการจัดการความรู้ได้อย่างดี ควบคู่กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรณ์นั้นก็จะมีคุณภาพและประสิทธิภาพ นั่นก็คือการจัดการความรู้แล้วทำให้มีการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
การจัดการความรู้แล้วไม่ได้หมายถึงการบุคคลากรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีนันทนาการมากขึ้น แต่การทำงานไม่ได้พัฒนาขึ้น งานก็ไม่ได้ปรับปรุงขึ้น อาจจะเป็นการลงทุนจัดการความรู้ที่ไม่คุ้มค่าก็ได้ปัญหาของเรื่องการจัดการความรู้นั้นมีตั้งแต่การให้คำนิยาม ซึ่งเมื่อประมวลดูแล้วจะมีอยู่สองประการหลักก็คือ การจัดการความรู้เพื่อที่จะให้คนมีความรู้มากขึ้น เป็นผู้เรียนรู้หรือนักเรียนรู้มากขึ้น แล้วจะมีผลทำให้การทำงานดีขึ้น ต้องการให้นำไปใช้ในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ส่วนการมีความรู้มากขึ้นหรือการเป็นนักเรียนรู้นั้นเป็นผลพลอยได้ไม่ใช่เรื่องหลัก จะเห็นว่าทั้งสองประการดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน เพราะว่าถ้าการมีความรู้เพิ่มขึ้นแล้ว เรียนรู้เองก็ได้ แต่ทำงานไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น กล่าวได้ว่ายังจัดการความรู้ได้ไม่ดีพอ คนอาจทำงานมานานแต่ก็ทำงานไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ บางคนหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาแต่ก็ยังทำงานได้ไม่ดี หลายคนออกมาเตือนว่าการจัดการความรู้ที่ทำกันนั้นกว้างเกินไป บางทีก็เน้นหนักไปที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย เป็นมิตร กันเอง มีมุมของว่างกาแฟ มุมบันเทิงร่วม และมุมอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเมื่อบรรยากาศเอื้อ ทุกคนอยากอ่าน อยากพบปะ พูดคุย มีการแลกเปลียนเรียนรู้แล้วการทำงานจะดีขึ้นเอง ในความเป็นจริงอาจจะไม่ดีขึ้นเลยก็ได้ ถ้าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นไม่ได้มีผลต่อการทำงานโคยตรงเท่าใดนัก
การจัดการความรู้ต้องผสมผสานระหว่างความรู้เชิงประจักร (explicit knowledge) และการจัดการความรู้แฝง (tacit knowledge) และต้องตั้งเป้าเพื่อให้ทุกคนได้ทำงานดีขึ้น ซึ่งความรู้ทุกอย่างจะพัฒนางอกเงยเพิ่มขึ้นเมื่อมีการนำความรู้นั้นไปใช้ ไม่ใช่เพียงรู้อย่างเดียว หรือเพียงแต่จากการอ่าน ฟังและพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการความรู้ที่มุ่งให้ทำงานในความรับผิดชอบให้ดีขึ้น ยิ่งต้องนำความรู้ไปใช้ ความรู้จะยิ่งเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงในการใช้ แก้ปัญหาในการใช้ทำให้ต้องเสริมแต่งความรู้อยู่ตลอดเวลา การจะให้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นั้น อาจสอดคล้องกับความตั้งใจที่ให้วันพรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ แต่จะเป็นเช่นนั้นได้ คงต้องสร้างสิ่งท้าทาย สร้างโอกาสและวิธีการ ให้คนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีจัดขึ้น อาจทำได้โดยการพบกันซึ่งๆ หน้า การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติม และการเรียนรู้เสริมระหว่างกันและกันเมื่อได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
การจัดการความรู้แล้วไม่ได้หมายถึงการบุคคลากรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีนันทนาการมากขึ้น แต่การทำงานไม่ได้พัฒนาขึ้น งานก็ไม่ได้ปรับปรุงขึ้น อาจจะเป็นการลงทุนจัดการความรู้ที่ไม่คุ้มค่าก็ได้ปัญหาของเรื่องการจัดการความรู้นั้นมีตั้งแต่การให้คำนิยาม ซึ่งเมื่อประมวลดูแล้วจะมีอยู่สองประการหลักก็คือ การจัดการความรู้เพื่อที่จะให้คนมีความรู้มากขึ้น เป็นผู้เรียนรู้หรือนักเรียนรู้มากขึ้น แล้วจะมีผลทำให้การทำงานดีขึ้น ต้องการให้นำไปใช้ในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ส่วนการมีความรู้มากขึ้นหรือการเป็นนักเรียนรู้นั้นเป็นผลพลอยได้ไม่ใช่เรื่องหลัก จะเห็นว่าทั้งสองประการดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน เพราะว่าถ้าการมีความรู้เพิ่มขึ้นแล้ว เรียนรู้เองก็ได้ แต่ทำงานไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น กล่าวได้ว่ายังจัดการความรู้ได้ไม่ดีพอ คนอาจทำงานมานานแต่ก็ทำงานไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ บางคนหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาแต่ก็ยังทำงานได้ไม่ดี หลายคนออกมาเตือนว่าการจัดการความรู้ที่ทำกันนั้นกว้างเกินไป บางทีก็เน้นหนักไปที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย เป็นมิตร กันเอง มีมุมของว่างกาแฟ มุมบันเทิงร่วม และมุมอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเมื่อบรรยากาศเอื้อ ทุกคนอยากอ่าน อยากพบปะ พูดคุย มีการแลกเปลียนเรียนรู้แล้วการทำงานจะดีขึ้นเอง ในความเป็นจริงอาจจะไม่ดีขึ้นเลยก็ได้ ถ้าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นไม่ได้มีผลต่อการทำงานโคยตรงเท่าใดนัก
การจัดการความรู้ต้องผสมผสานระหว่างความรู้เชิงประจักร (explicit knowledge) และการจัดการความรู้แฝง (tacit knowledge) และต้องตั้งเป้าเพื่อให้ทุกคนได้ทำงานดีขึ้น ซึ่งความรู้ทุกอย่างจะพัฒนางอกเงยเพิ่มขึ้นเมื่อมีการนำความรู้นั้นไปใช้ ไม่ใช่เพียงรู้อย่างเดียว หรือเพียงแต่จากการอ่าน ฟังและพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการความรู้ที่มุ่งให้ทำงานในความรับผิดชอบให้ดีขึ้น ยิ่งต้องนำความรู้ไปใช้ ความรู้จะยิ่งเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงในการใช้ แก้ปัญหาในการใช้ทำให้ต้องเสริมแต่งความรู้อยู่ตลอดเวลา การจะให้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นั้น อาจสอดคล้องกับความตั้งใจที่ให้วันพรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ แต่จะเป็นเช่นนั้นได้ คงต้องสร้างสิ่งท้าทาย สร้างโอกาสและวิธีการ ให้คนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีจัดขึ้น อาจทำได้โดยการพบกันซึ่งๆ หน้า การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติม และการเรียนรู้เสริมระหว่างกันและกันเมื่อได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การจัดการทรัพยากรชายฝั่งท่าศาลาโดยชุมชน : จากข้อเสนอสมัชชาสุขภาพจังหวัดสู่ข้อบัญญัติท้องถิ่น
การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ประเด็น “การจัดการทรัพยากรชายฝั่งท่าศาลาโดยชุมชน” เริ่มจากการศึกษาสถานการณ์การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง: องค์กรชุมชนกับการฟื้น ‘เลหน้าบ้าน’ การร่วมเรียนรู้บทเรียนจากพื้นที่เล็กๆ สู่การตอบคำถามสำคัญของสังคมเรื่องรูปแบบบ้านสัตว์น้ำ เพื่อการอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วม และการศึกษานโยบายรัฐที่เอื้อต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจากประสบการณ์การเรียนรู้นับกึ่งทศวรรษของชุมชนบ้านสระบัวประกอบ ประกอบกับการร่วมศึกษาและพัฒนาการจัดการทรัพยากรชายฝั่งร่วมกับภาครัฐ/ท้องถิ่น ประมงจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นปากพูนและท่าศาลา นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สำคัญสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน และมีการร่างข้อเสนอเชิงนโยบายใน ๔ ระดับ คือ ระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และประเทศ โดยเฉพาะข้อเสนอต่อท้องถิ่น ที่มีข้อเสนอสำคัญ ๕ ข้อ คือ ๑) ออกกฎระเบียบข้อบัญญัติโดยศึกษาข้อมูลทางวิชาการรองรับ เช่น การวิจัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ๒) สร้างกลไกสนับสนุน ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากร ๓) จัดสรรงบประมาณสนับสนุน โดยให้อิสระแก่ชุมชนในการกำหนดการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์และความเข้มแข็งของชุมชน ๔) จัดตั้งหน่วยที่รับผิดชอบ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร และให้มีส่วนร่วมจากชุมชน เช่น การปราบปรามและการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย การเฝ้าระวัง (มีเครื่องมือสื่อสารวิทยุ) และ ๕) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ใน
บริเวณชายฝั่งตามศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสัญจรทางน้ำ
ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ประเด็น “การจัดการทรัพยากรชายฝั่งท่าศาลาโดยชุมชน” ถูกนำเข้าพิจารณาเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และพิจารณาแบบมีส่วนร่วมจากสมาชิกเครือข่าย องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ ภาคส่วน ในสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๕๕๑ ที่มีการจัดห้องย่อยพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายพร้อม ๆกับร่างข้อเสนอเชิงนโยบายอีก ๒ ประเด็น คือ เกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ และอาสาสมัครสร้างสุขชุมชน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชและมีการมอบข้อเสนอที่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ต่อตัวแทนภาคประชาชน ภาครัฐ และท้องถิ่น
จากข้อเสนอเชิงนโยบายที่ผ่านการรับรองในสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราชปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๕๒ คณะทำงานสมัชชาสุขภาพประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ได้ดำเนินการเพื่อติดตามผลักดันข้อเสนออย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลสำเร็จที่ผ่านมา คือ การทำ “บ้านสัตว์น้ำ” และการใช้ระเบิดชีวภาพเพื่อปรับปรุงสภาพหน้าดิน และที่สำคัญคือการผลักดันให้มีการออก ข้อบัญญัติ อบต.ท่าศาลา ว่าด้วย การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายประมงพื้นบ้านท่าศาลา คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ นักวิชาการ และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา โดยนายก อบต.ท่าศาลาได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหลายภาคส่วนเพื่อยกร่างข้อบัญญัติ และมีเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงร่างข้อเสนออย่างต่อเนื่องถึง ๘ เวที (เวทีระดับตำบล ๖ เวที เวทีระดับจังหวัด ๒ เวที)
และมีเวทีประชาพิจารณ์ข้อบัญัติ ๑ เวที ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญ ของ อบต.ท่าศาลา ซึ่งข้อบัญญัติดังกล่าวผ่านการรับรองเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนน ๒๙ เสียง จากสมาชิกสภา อบต. ๓๐ คน เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ โดยในการออกข้อบัญญัติ มีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ภายใต้นโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยเน้นที่ ๓ จุดหลัก คือ ๑) กระบวนการเฝ้าระวังแบบมีส่วนร่วม ๒) การออกกติกา ข้อบัญญัติ ประกาศจังหวัด และ ๓) แผนการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
บริเวณชายฝั่งตามศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสัญจรทางน้ำ
ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ประเด็น “การจัดการทรัพยากรชายฝั่งท่าศาลาโดยชุมชน” ถูกนำเข้าพิจารณาเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และพิจารณาแบบมีส่วนร่วมจากสมาชิกเครือข่าย องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ ภาคส่วน ในสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๕๕๑ ที่มีการจัดห้องย่อยพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายพร้อม ๆกับร่างข้อเสนอเชิงนโยบายอีก ๒ ประเด็น คือ เกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ และอาสาสมัครสร้างสุขชุมชน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชและมีการมอบข้อเสนอที่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ต่อตัวแทนภาคประชาชน ภาครัฐ และท้องถิ่น
จากข้อเสนอเชิงนโยบายที่ผ่านการรับรองในสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราชปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๕๒ คณะทำงานสมัชชาสุขภาพประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ได้ดำเนินการเพื่อติดตามผลักดันข้อเสนออย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลสำเร็จที่ผ่านมา คือ การทำ “บ้านสัตว์น้ำ” และการใช้ระเบิดชีวภาพเพื่อปรับปรุงสภาพหน้าดิน และที่สำคัญคือการผลักดันให้มีการออก ข้อบัญญัติ อบต.ท่าศาลา ว่าด้วย การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายประมงพื้นบ้านท่าศาลา คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ นักวิชาการ และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา โดยนายก อบต.ท่าศาลาได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหลายภาคส่วนเพื่อยกร่างข้อบัญญัติ และมีเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงร่างข้อเสนออย่างต่อเนื่องถึง ๘ เวที (เวทีระดับตำบล ๖ เวที เวทีระดับจังหวัด ๒ เวที)
และมีเวทีประชาพิจารณ์ข้อบัญัติ ๑ เวที ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญ ของ อบต.ท่าศาลา ซึ่งข้อบัญญัติดังกล่าวผ่านการรับรองเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนน ๒๙ เสียง จากสมาชิกสภา อบต. ๓๐ คน เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ โดยในการออกข้อบัญญัติ มีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ภายใต้นโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยเน้นที่ ๓ จุดหลัก คือ ๑) กระบวนการเฝ้าระวังแบบมีส่วนร่วม ๒) การออกกติกา ข้อบัญญัติ ประกาศจังหวัด และ ๓) แผนการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
สุริยะ จันทร์แก้ว อำนวยโชค เวชกุล ภูมิชัย สุวรรณดี ทรงวุฒิ พัฒแก้ว รายงาน
วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การเจาะน้ำบาดาล
สำหรับท้องที่ที่น้ำประปายังมาไม่ถึงหรือ มาแล้วแต่ไม่ค่อยจะไหลในเวลาที่ต้องการ ก็ทำให้ต้องขุดเจาะน้ำบาดาล ก่อนที่จะขุดเจาะน้ำบาดาลทราบว่าก็ต้องมีการจุดธูปเทียน ขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทางเพื่อความสบายใจ และที่จะเป็นภูมิปัญญาก็คือจะสำรวจว่าตำแหน่งไหนที่ควรจะเจาะ และได้น้ำที่ดี คือมีน้ำเพียงพอและได้น้ำที่สะอาดพอควร บางคนอาจจะนึกถึงต้องมีเครื่องมืออะไรสักอย่างหยั่งไปให้ทราบก่อนว่ามีน้ำหรือไม่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาขุด ซึ่งการจะทำเช่นนั้นต้องลงทุนลงแรงใช้เครื่องมือราคาแพง แต่มีความแน่นอนเช่นการสำรวจในการขุดเจาะน้ำมัน แต่การเจาะน้ำบาดาลเขาดูกันที่ต้นไม้ชนิดหนึ่งทีเรียกว่าเดือยหวาย ถ้ามีต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่แสดงว่ามีตาน้ำข้างล่างขุดเจาะลงไปมักจะได้ผล คือได้น้ำตามต้องการ ถามว่าต้นเดือยหวายให้ทำอะไรได้บ้างก็ได้รับคำตอบว่าใช้รูดปลาไหล เพราะใบสากมาก ก็เลยเสนอแนะไปว่าถ้ามีมากๆ ก็นำมาหั่นทำปุ๋ยหรือน้ำสะกัดชีวะภาพก็น่าจะได้
จะขอแนะนำสื่อสิ่งพิมพ์วันละ 1 รายการ
เนื่องจากเรามีสื่อสำหรับการเรียนรู้จำนวนมาก บางท่านก็อาจยังไม่ทราบว่าเรามีสื่อใดที่น่าสนใจ ก็จะทำการรีวิวให้ทราบว่าสื่อใดใช้ทำอะไร อย่างน้อยวันละ 1 เรื่อง สำหรับวันี้จะแนะนำ vcd ฉลาดสุดสุด Mega Clever ที่มีอยู่
c1784
ตอนความลับทางเคมี
อาหารชนิดใดสามารถเปล่งแสงได้
อะไรถูกย่อยเร็วที่สุดโดยกรดในกระเพาะ
อุณหภูมิในห้องน้ำเป็นอย่างไร ระหว่างพรมกับกระเบื้อง
อะไรผ่านไนโตรเจนเหลวแล้วใช้เป็นค้อนได้
c591
ตอน กลไกวิทยาศาสตร์
อะไรทำให้ถุงลมนิรภัยในรถยนต์ทำงาน
อะไรทำให้แก้วน้ำติดกับกระจก
เคล็ดลับกำลังภายในของหลวงพ่อจีน
c614
ตอน ไขปริศนารอบตัว
เราสามารถดับไฟที่เกิดจากน้ำมันได้อย่างไร
เราจะเอาจุกค๊อกออกจากขวดได้อย่างไร
ทำไมอาหารสีน้ำเงินจึงไม่น่ารับประทานอวัยวะที่เอาไว้รับพิโรโมนอยู่ตรงไหน
c936
ตอน : ปริศนาสุดเชื่อ
-เราจะเดินบนซุปไม่ให้จมได้หรือไม่
- น้ำจะเป็นอย่างไรในสูญญากาศ
- เราจะละลายสตรอเบอรี่อย่างไรได้เร็วที่สุด
- ความลับของการต่อย ในระยะประชิด
c1784
ตอนความลับทางเคมี
อาหารชนิดใดสามารถเปล่งแสงได้
อะไรถูกย่อยเร็วที่สุดโดยกรดในกระเพาะ
อุณหภูมิในห้องน้ำเป็นอย่างไร ระหว่างพรมกับกระเบื้อง
อะไรผ่านไนโตรเจนเหลวแล้วใช้เป็นค้อนได้
c591
ตอน กลไกวิทยาศาสตร์
อะไรทำให้ถุงลมนิรภัยในรถยนต์ทำงาน
อะไรทำให้แก้วน้ำติดกับกระจก
เคล็ดลับกำลังภายในของหลวงพ่อจีน
c614
ตอน ไขปริศนารอบตัว
เราสามารถดับไฟที่เกิดจากน้ำมันได้อย่างไร
เราจะเอาจุกค๊อกออกจากขวดได้อย่างไร
ทำไมอาหารสีน้ำเงินจึงไม่น่ารับประทานอวัยวะที่เอาไว้รับพิโรโมนอยู่ตรงไหน
c936
ตอน : ปริศนาสุดเชื่อ
-เราจะเดินบนซุปไม่ให้จมได้หรือไม่
- น้ำจะเป็นอย่างไรในสูญญากาศ
- เราจะละลายสตรอเบอรี่อย่างไรได้เร็วที่สุด
- ความลับของการต่อย ในระยะประชิด
สื่อสิ่งพิมพ์ตึกดำมหาชัย
กิจกรรมที่กำลังเร่งดำเนินการเพื่อจะเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบ ตอนปีใหม่ 2553 ก็คือการให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งประกอบด้วยสื่อที่บันทึกไว้แบบดิจิทัลในแผ่นซีดี(ซีดีรอม)และ ดีวีดี (ดีวีดีรอม)รวมทั้งที่บันทึกไว้ในฮาร์ดิส สื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์ก็จะมี e-book บทความในวารสาร จุดสาร เอกสารเย็บเล่ม โดยแยกบทความไว้เป็นหมวดหมู่ที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่สาขาอื่นๆ ก็มีอยู่แต่อาจไม่มากเท่าสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยบันทึกไว้ใน เว็บไซต์ http://nakhonmedia.blogspot.com/ โดยมีการกำหนดรหัสดังนี้
ขึ้นต้นด้วยตัวเลขเป็นวารสาร ขึ้นต้อนด้วยตัว c จะเป็นแผ่น ซีดี ขึ้นต้นด้วยตัว d เป็นแผ่นดีวีดี ขึ้นต้นด้วยตัว b เป็นอีบุค ที่สามารถเข้าไปกวาดดูหรือสืบค้นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ
สำหรับแผนซีดีและดีวีดี ก็ยังแบ่งออกได้เป็น vcd movie หรือวีซีดีภาพยนต์ ที่เน้นภาพยนต์ที่พากษ์ภาษาไทยเป็นหลัก ส่วน vcd movie sound track จะมุ่งเน้นภาพยนต์ที่พูดเสียงภาษาอังกฤษมีบรรยายภาษาไทย สำหรับฝึกภาษาอังกฤษได้ วีซีดีอื่นๆ ที่มีให้บริการเข่น นอกจากนี้ยังมี vcd เพื่อการเรียนรู้ vcd เพลงและคาราโอเกะ วีซีดีสารคดี ฯลฯ.
DIVX จะเป็นภาพยนต์ที่ตอนบันทึกอัดบีบข้อมูลให้มีขนาดเล็กลงใช้เนื้อที่น้อย มีทั้งที่อัดลงบนแผ่นดีวีดี และแผ่นซีดี เกือบทั้งหมดจะพูดเสียงอังกฤษ แต่จะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่พูดอังกฤษบรรยายภาษาอังกฤษด้วย เหมาะสำหรับการฝึกหัดฟังในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ได้มาจากการดาวโหลดจากอินเตอร์เนต สำหรับรายละเอียดความคมชัดอยู่ในระดับเดียวกับดีวีดี สามารถบันทึกลงในแฮนดีไดร์ฟได้ และเปิดเล่นตัวเพลล์เยอร์อะไรก็ได้ที่ใช้ได้ดีก็มี มีเดียเพลเยอร์ของไมโครซอพท์
สำหรับบทความวารสารนั้น ได้มาจากวารสารที่ได้รับจากคณะบางส่วน และที่ได้รับบริจาคมาบางส่วน ในการบันทึกบทความจะบันทึกชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีพศ.ที่ตีพิมพ์ แลผู้เขียน การเก็บก็จะเรียงตามลำดับวารสารที่ได้มา
เงื่อนไขการรับบริการในระยะทดลองให้บริการ
เนื่องจากการจัดทำระบบสื่อสิ่งพิมพ์ตึกดำมหาชัย ดำเนินการโดย กองทุนคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นศูนย์แหล่งการให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ ให้กว้างขวางมากที่สุด และเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งสำหรับการระดมทุนให้กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดเชิญชวนให้ผู้ที่จะยืมไปใช้นอกสถานที่ ช่วยบริจาคให้กองทุนเท่าใดก็ได้ตามแต่ศรัธาในการยืมสื่อแต่ละครั้ง โดยสามารถยืมได้ครั้งละ 1 รายการ หากต้องการยืมมากกว่า 1 รายการจะมีค่ามัดจำ 100 บาทจะจ่ายคืนให้ในเปิดเทอมถัดไปหากไม่ต้องการเป็นสมาชิกอีกต่อไป
โดยสรุป เป็นการให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากการบริจาคให้กองทุนเพื่อใช้ในการจัดหาสื่อเพื่อมาให้บริการต่อไป ผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกได้ที่ทำการของกองทุนห้อง 13104 ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ โทร.0869443475
ขึ้นต้นด้วยตัวเลขเป็นวารสาร ขึ้นต้อนด้วยตัว c จะเป็นแผ่น ซีดี ขึ้นต้นด้วยตัว d เป็นแผ่นดีวีดี ขึ้นต้นด้วยตัว b เป็นอีบุค ที่สามารถเข้าไปกวาดดูหรือสืบค้นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ
สำหรับแผนซีดีและดีวีดี ก็ยังแบ่งออกได้เป็น vcd movie หรือวีซีดีภาพยนต์ ที่เน้นภาพยนต์ที่พากษ์ภาษาไทยเป็นหลัก ส่วน vcd movie sound track จะมุ่งเน้นภาพยนต์ที่พูดเสียงภาษาอังกฤษมีบรรยายภาษาไทย สำหรับฝึกภาษาอังกฤษได้ วีซีดีอื่นๆ ที่มีให้บริการเข่น นอกจากนี้ยังมี vcd เพื่อการเรียนรู้ vcd เพลงและคาราโอเกะ วีซีดีสารคดี ฯลฯ.
DIVX จะเป็นภาพยนต์ที่ตอนบันทึกอัดบีบข้อมูลให้มีขนาดเล็กลงใช้เนื้อที่น้อย มีทั้งที่อัดลงบนแผ่นดีวีดี และแผ่นซีดี เกือบทั้งหมดจะพูดเสียงอังกฤษ แต่จะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่พูดอังกฤษบรรยายภาษาอังกฤษด้วย เหมาะสำหรับการฝึกหัดฟังในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ได้มาจากการดาวโหลดจากอินเตอร์เนต สำหรับรายละเอียดความคมชัดอยู่ในระดับเดียวกับดีวีดี สามารถบันทึกลงในแฮนดีไดร์ฟได้ และเปิดเล่นตัวเพลล์เยอร์อะไรก็ได้ที่ใช้ได้ดีก็มี มีเดียเพลเยอร์ของไมโครซอพท์
สำหรับบทความวารสารนั้น ได้มาจากวารสารที่ได้รับจากคณะบางส่วน และที่ได้รับบริจาคมาบางส่วน ในการบันทึกบทความจะบันทึกชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีพศ.ที่ตีพิมพ์ แลผู้เขียน การเก็บก็จะเรียงตามลำดับวารสารที่ได้มา
เงื่อนไขการรับบริการในระยะทดลองให้บริการ
เนื่องจากการจัดทำระบบสื่อสิ่งพิมพ์ตึกดำมหาชัย ดำเนินการโดย กองทุนคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นศูนย์แหล่งการให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ ให้กว้างขวางมากที่สุด และเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งสำหรับการระดมทุนให้กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดเชิญชวนให้ผู้ที่จะยืมไปใช้นอกสถานที่ ช่วยบริจาคให้กองทุนเท่าใดก็ได้ตามแต่ศรัธาในการยืมสื่อแต่ละครั้ง โดยสามารถยืมได้ครั้งละ 1 รายการ หากต้องการยืมมากกว่า 1 รายการจะมีค่ามัดจำ 100 บาทจะจ่ายคืนให้ในเปิดเทอมถัดไปหากไม่ต้องการเป็นสมาชิกอีกต่อไป
โดยสรุป เป็นการให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากการบริจาคให้กองทุนเพื่อใช้ในการจัดหาสื่อเพื่อมาให้บริการต่อไป ผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกได้ที่ทำการของกองทุนห้อง 13104 ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ โทร.0869443475
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)