หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฏีชีมมากับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

การที่จะเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายไม่ใช่เรียนรู้ไปตามอำเภอใจทุกอย่าง แต่จะเกี่ยวข้องกับว่ามีความรู้เดิมอะไรอยู่บ้าง หรือผู้เรียนรู้มีมโนทัศน์หรือแนวคิดใดอยู่บ้างแล้ว
การสอนที่ให้ผลดี (effective teaching) ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจนั้น จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเข้าใช้สารสนเทศได้สะดวก ดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถที่จะเชื่อมโยงกับสารสนเทศอื่นๆ ที่เข้ามา และนำไปประยุกต์ภายนอกห้องเรียนได้

สารสนเทศที่มีความหมายจะเก็บอยู่ในเทอมของความจำระยะยาว (longterm memory) อยู่ในเครือข่ายของการเชื่อมต่อกับความจริงและมโนทัศน์เรียกว่า ชีมมา (schema) สารสนเทศใดที่เข้ากันได้กับชีมมาที่มีอยู่แล้ว ทำให้เข้าใจได้ดีกว่า เรียนรู้ได้ดีกว่า จำได้ดีกว่า กับพวกที่ไม่ไปด้วยกันกับชีมมาที่มีอยู่ (Ausubel, 1986 Anderson and Bower, 1973 Runellhart,1977)

จากนี้คิดได้ว่า ชีมมาหรือชีมมาตา ที่พัฒนาไว้แล้วอย่างดี จัดระบบตามลำดับชั้น (hierachies) ทำนองเดียวกับรายการ หรือที่เรียงหัวข้อไว้ ด้วยสารสนเทศที่มีการจัดกลุ่มภายใต้กลุ่มประเภททั่วไป ที่มีความเป็นทั่วไปมากขึ้น เมื่อมีสารสนเทศใหม่ที่สัมพันธ์กับ ชีมมา (schema) อาจได้รับการเรียนรู้ ร่วมด้วยกับชีมมาได้ง่ายกว่ากับสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับชีมมาน้อยกว่า หรือที่ได้จากการท่องจำ หรือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีมมาใดๆ
สิ่งที่สำคัญยิ่งภายใต้ทฤษฎีชีมมา นั่นคือการเรียนรู้อย่างมีความหมายต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ที่เปรียบเหมือนเจ้าบ้านที่มีประสบการณ์มาก่อน ในทางที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ และร่วมด้วยกับสารสนเทศใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น