หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS

ก่อนอื่น STS ย่อมาจาก Science Technology and Social เป็นการเรียนการสอนที่บูรณาการทั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และมิติทางสังคมเข้าด้วยกัน ดังนั้นการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS จึงต้องการความชำนาญในยุทธวิธีการสอนที่กว้างขวางกว่า เช่นการคิดแบบปลายเปิด (divergent thinking) การทำงานเป็นกลุ่มย่อยขนาดเล็ก นักเรียนเป็นศูยน์กลาง การอภิปรายในชั้นเรียน การแก้ปัญหา การจำลองแบบและการจำลองสถานะการณ์ การตัดสินใจ การวิพากษ์วิจารณ์การเห็นแย้ง การโต้เถียงกันด้วยเหตุผล และรวมทั้งการสื่อ และการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Iikenhead, solomon, 1989,1993)

ในแง่มุมของการศึกษาแบบ STS จะมีหลากหลายแนวทาง แนวทางในประเด็นที่นำไปสู่เทคโนโลยี แต่ไม่ลึกเข้าไปในคำถามทางสังคม ในแนวทางด้านอาชีพจะยกประเด็นคำถามเหล่านี้ขึ้นมา แนวทางที่ข้ามศาสตร์เน้นย้ำให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แต่อาจจะเป็นไปได้ที่ทำให้ความเก่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงเมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม

การศึกษาแบบ STS อยู่ในระดับที่ตื้นไม่ลึกซึ้งอะไร ถ้าปราศจากมิติทางประวัติศาสตร์ แต่ในเรื่องนี้ก็อาจเป็นไปได้กลายเป็นวิชาการมากเกินไป

ในแนวทางปรัชญาสามารถที่จะให้แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แต่ก็เฉพาะที่ระดับพื้นฐานมาก เมื่อ STS เป็นเหมือนแนวทางการสอนและการเรียนรู้ในบริบทประสบการณ์ของมนุษย์

สำหรับในแง่มุมของหลักสูตร โดยหน้าที่บ่งถึงว่าอะไรที่เป็นเป้าหมายสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS ที่ซึ่งให้มีความรูรอบมโนทัศน์ที่ลุ่มลึกขึ้น มีความสามารถที่จะใช้ทักษะกระบวนการ ปรับปรุงทักษะการคิดสร้างสรร ทัศนคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ ให้นำมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการมาใช้ในชีวิตประจำวัน และในการตอบสนองต่อการตัดสินใจส่วนบุคคล แนวทาง STS จึงหมายถึงแนวทางที่จะหาค่าหาคำตอบและโดยประสบการณ์ตรง ที่แนวคิดพื้นฐานและทักษะสามารถที่จะสังเกตได้ในสั้งเกต

STS ยังหมายถึงการมุ่งเน้นไปที่ปัญหาของโลกที่เป็นจริงที่มีองค์ประกอบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากแนวคิดทัศนะของนักเรียน แทนที่จะเริ่มจากมโนทัศน์และกระบวนการ ในลักษณะที่
-นอกเหนือจากห้องเรียนไปยังชุมชนในท้องถิ่น
-เหตุการปัจจุบัน
-มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และรับผิดชอบในการทำเช่นนั้น
-เน้นย้ำต่อความรับผิดชอบในการตัดสินใจในโลกแห่งความเป็นจริงของนักเรียน

ด้วยแนวทาง STS จะให้ทิศทางที่จะให้ทุกคนเป็นผู้รู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น