หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาการเชิงมโนทัศน์

สิ่งที่จะให้เรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะแนวคิดในเนื้อหาวิชาและการประยุกต์กับโลกแห่งความเป็นจริง การเรียนรู้เกิดขึ้นโดยการตีความ สร้างตัวแทนความรู้จากการอ่านอะไรก็ตาม ได้ฟังได้ยินมา และสังเกตมา การบูรณาการกับการเปลี่ยนความคิดที่มีอยู่เดิมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ บทบาทของครูที่สำคัญก็จะต้องสะท้อนแนวคิดของนักเรียนและตีความให้ ทางเลือกที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน นำนักเรียนไปสู่ความไม่พึงพอใจกับความคิดเดิมที่มีอยู่ เพื่อเทียบกับแนวคิดใหม่ผ่านการประยุกต์ใช้ มีหลักฐานอ้างอิง และการถกเถียงโต้แย้ง ในเรื่อง

-มโนทัศน์แต่ละมโนทัศน์ที่ได้รู้เป็นการเสริมแรงในตัวเอง
-ความรู้ของเนื้อหาวิชา
-ตื่นรู้ถึงความยากลำบากของนักเรียน และซื่อไร้เดียงสาของมโนทัศน์ที่มี

สื่อการเรียนรู้ที่แนะนำเริ่มจากชุดของคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียนกล่าวคือ

-โดยใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อพัฒนาความคิดที่ลึกซี้งให้นักเรียน
-เน้นให้ชัดเจนถึงคุณของความเข้าใจมโนทัศน์และการตีความของนักเรียน
-นักเรียนทั้งหมดสามารถที่จะเข้าใจได้ ถ้ามีอุปสรรควิกฤติอยู่ในมโนทัศน์ของนักเรียนที่
หาได้ว่าเป็นอย่างไรตรงไหน และใช้หลักฐานอ้างอิงที่เหมาะสม หรือการอภิปรายถก
เถียงที่ทำให้ข้ามพ้นอุปสรรค์ดังกล่าวไปได้

ความก้าวหน้าไม่เคยหยุดอยู่กับที่ เพราะว่าในทัศนะนี้นำครูไปให้ใช้ความพยายามต่อไปในการทบทวนการสอน แสวงหาความเข้าใจที่แจ่มแจ้งลึกเข้าไปในความคิดของนักเรียน ซึ่งจะให้ความมั่นใจที่มีนักเรียนมากพอที่จะเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิดในเรื่องหลักสำคัญได้ถูกต้อง

การสอนวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปในลักษณะที่ส่วนใหญ่ของนักเรียนที่สอนได้เข้าใจมากกว่าการจำ มีทางที่เป็นไปได้ แต่ต้องอาศัยจำนวนหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ที่สำคัญ ของนักเรียนที่มีมโนทัศน์ซื่อใสไร้เดียงสาอยู่ และยุทธวิธีการสอนสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์

ครูจำเป็นต้องรับเอาเป้าหมายในการช่วยนักเรียนส่วนใหญ่ทั้งหมดให้เข้าใจวิทยาศาสตร์
ครูจำต้องจัดให้เข้าไปจัดการหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ตอนนี้ ไม่ได้พร้อมจัดให้แก่ผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น