การเรียนรู้อย่างมีความหมายไม่ใช่การเรียนรู้แบบใดๆก็ได้ และการเรียนรู้แบบนี้สัมพันธ์กับสารสนเทศหรือมโนทัศน์ของผู้เรียนที่มีอยู่แล้ว โดยที่เป็นกระบวนการทางการคิดทางจิตที่คิดให้สารสนเทศใหม่ที่ได้รับนำไปสู่การเชื่อมโยงกับความรู้ที่เคยได้เรียนรู้มาแล้ว สารสนเทศที่ทำให้ง่ายเข้าใจต่อการเรียนรู้ มากกว่าที่ไม่ทำให้เข้าใจอะไรเลย การเรียนรู้อย่างมีความหมายจึงเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจออกมาจากสารสนเทศ โดยมีการจัดลำดับไว้ในการคิดของผู้เรียนจนกระทั่งไปสอดรับกับลำดับ ที่เป็นระบบระเบียบ โดยใช้สารสนเทศที่มีอยู่เดิมหรือความรู้เดิมในการดูดซึมสารสนเทศใหม่ (assimilate) เกิดการเรียนรู้ใหม่
สิ่งที่สำคัญมาอันเป็นงานของครูก็คือทำให้สารสนเทศนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน โดยการนำเสนอให้ชัดเจนเป็นระบบ โดยการจัดความสัมพันธ์กับสารสนเทศที่มีอยู่ในความคิดของนักเรียน และโดยการทำให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอให้อย่างแท้จริง อันได้แก่มโนทัศน์ที่ครูสอน และนักเรียนสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานะการณ์ใหม่
สารสนเทศที่มีความหมายจะเก็บบันทึกไว้ในส่วนของความจำระยะยาว ในรูปของเครือข่ายการเชื่อมโยงความจริงต่างๆ หรือเป็นมโนทัศน์ที่เรียกว่า schemata สารสนเทศที่สอดรับกันกับ sheme ที่มีอยู่นี้จะง่ายต่อการทำความเข้าใจเรียนรู้และคงอยู่ได้มากกว่าสารสนเทศที่ไม่สอดรับกับ scheme ดังกล่าว scheme ที่พัฒนาอย่างดีแล้วจะจัดระบบเป็นลำดับชั้น (hierarchies) คล้ายกับมีหัวข้อรายการที่เชื่อมยึดโยงใยอยู่ใน schemata (Ausubel,1963)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น