จากที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประเทศที่มีผู้สูงวัยมาก เหตุผลหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วนน้ำนมที่ยืนนานที่สุด ก็คือความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ดังจะเห็นได้จากอายุเฉลี่ยของคนไทยก็สูงขึ้น อย่างไรก็ตามการมีผู้สูงวัยมากไม่ใช่ว่าเป็นคนแก่ แต่เป็นคนแก่ที่สุขภาพดียังทำงานกระฉับกระเฉงอยู่ ต่อไปคงจะทายอายุกันยากมากขึ้น เพราะขณะนี้ได้เกิดสาขาทางการแพทย์ใหม่ขึ้นมาในทางที่จะชลอความแก่ ที่เรียกว่า เวชศาสตร์ชลอวัย (Ani Ageing Medicine) เป็นศาสตร์แนวใหม่ในการดูแลสุขภาพจากภายใน โดยวิเคราะห์เจาะลึกถึงระดับพันธุกรรม การทำงานของเซลล์ อวัยวะต่างๆ ในแนวทางที่จะวางแผนดูแลสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรค ด้วยแนวคิดที่ว่าการเกิดโรคบางอย่างบ่งบอกถึงความเสื่อมที่เกิดภายในร่างกายหรือความชราเข้ามาเยือนบ้างแล้ว อันได้แก่โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
โดยความพยายามจะหาปัจจัยความเสื่อม โดยทุกคนหลีกเลี่ยงความเสื่อมความชราไม่ได้แต่สามารถทื่จะชลอได้ ซึ่งปัจจัยความเสื่อมได้แก่พันธุกรรมในร่างกาย เซลล์เสื่อมสภาพจากสะสมอนุมูลอิสระ ภาวะบกพร่องของฮอร์โมน นำไปสู่การตรวจพันธุกรรม การตรวจภาวะโภชนาการ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ จากการตรวจ
ระดับกรดอะมิโน ระดับกรดไขมันที่จำเป็น ระดับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ การตรวจประสิทธิภาพ การขจัดของเสียของตับ การตรวจความรุนแรงการสะสมของโลหะหนัก และสารพิษที่ก่อให้เกิดโรค การตรวจภูมิแพ้และแอบแฝง
โดยสรุปเวชศาสร์ชลอวัยเป็นศาสตร์แห่งการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผสมผสานเทคโนโลยีการตรวจในห้องปฏิบัติการทำให้ทราบถึงโอกาสที่จะเกิดโรค เป็นที่มาของทฤษฎีการตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของความผิดปกติในเซลล์ก่อนที่จะเกิดโรคจริง เพราะการตรวจสุขภาพตามปกติ ถ้าไม่มีโรคจะตรวจไม่เจอ ไม่ได้ประกันว่าเซล อวัยวะต่างๆในร่างกายยังทำงานได้ปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น