หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ปรัชญาการศึกษาไทยเป็นอะไรกันแน่

ปรัชญาที่จะใช้เป็นหลักยึดในทางการศึกษา เมื่อถามใครๆ ก็ไม่มีใครบอกได้ให้ชัดเจนลงไปว่าปรัชญาการศึกษาไทย คืออะไรกันแน่ ก็มีอยู่หลากหลายมักจะอิงกับหลักพุทธธรรมเช่น เช่นขันธ์ห้าบ้าง อริยสัจสี่บ้าง ซึ่งบางครั้งก็รู้สึกว่าจะปนกันยุ่งระหว่างทางโลกและทางธรรม ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์มีเป้าหมายเหมือนกับปรัชญาที่ว่าเพื่อบรรลุธรรมขั้นนิพพาน ซึ่งก็่น้อยคนที่จะเข้าถึงได้ ก็คือเป็นหลักปรัชญาอันเป็นอุดมคติที่ใช้ยึดถือได้ดีทีเดียว แต่เพราะความห่างไกลจากทางโลกปุถุชนทั่วไปมากเกินไปที่ไม่สามารถที่จะทัดทานกระแสโลกาภิวัฒน์จากทางตะวันตก จึงทำให้ดูเหมือนว่าการศึกษาบ้านเราจะดำเนินเอียงไปในทางซีกตะวันตกเสียมาก ที่การศึกษาเพื่อความมั่งคั่ง เป็นหลัก ดังจะเห็นว่าเราเปลี่ยนความมั่งคั่งมาแล้วสองครั้ง จากการเกษตร อุตสาหกรรม และปัจจุบันเป็นความมั่งคั่งจากความรู้
การพัฒนาการศึกษาของเรามักจะพุดกันว่าเพื่อเป็นไปเพื่อความเป็นสากลได้มาตรฐาน แต่ไม่ได้คิดถึงรากฐานอันเป็นสิ่งแวดล้อมของเรา บริบทที่แตกต่าง ทำให้ระบบการศึกษาเราที่ดูเหมือนว่าทันสมัยแต่ไม่พัฒนา เป็นไปได้ว่าเพราะเราไม่ได้มีเป้าหมายการศึกษาที่ชัดเจน เราอาจจะบอกว่าเพื่อพัฒนาให้เป็นคนที่สมบูรณ์ถึงพร้อมท้้งด้านความรู้ การกระทำ และอารมณ์ แต่่ผลออกมาตามที่เราเห็นที่ในสังคมเราแทบจะหาแบบอย่างได้ยาก เต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น ไม่มีความซื่อสัตย์ ปัญหาสังคม ความแตกแยกสารพัด ไม่ต้องพูดถึงในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ต่างๆ เหล่านี้เป็นไปได้ที่เพราะเราดำเนินการศึกษาที่ผิดพลาด มุ่งที่จะสร้างความรู้ให้เยาวชนเพื่อออกไปทำงานหาเลี้ยงชีพ และมักจะตอกย้ำความสำเร็จในชีวิตกันที่งานมีงานทำดีๆ ได้รับผลตอบแทนสูง นั่นก็คืออาชีพที่ทำเงินได้มากๆ และเป็นไปในลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา และทำให้คนกล้าเสี่ยงที่จะทำผิดเพื่อจะให้ได้เงินมากๆ ซึ่งเราเห็นได้อยู่เสมอ
ดังนั้นเราควรจะกลับมามองว่าปรัชญาการศึกษาที่เราใช้อยู่ไม่น่าจะถูกต้อง จะต้องหันกลับมาดูว่าเราได้สอนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการมีชีวิตอย่างไรถึงจะทำให้ชีวิตมีความสุข มากกว่าที่จะไปเน้นที่รายได้ ดูๆแล้วยามนี้ไม่มีอะไรเหมาะสมเท่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะยกมาให้เป็นปรัชญาทางการศึกษาเสียเลยก็น่าจะดี เพราะไม่ได้อิงกับศาสนาใด และเป็นหลักการพื้นฐานที่คนทุกระดับเข้าถึงได้ง่าย คือการศึกษาที่ทำให้มีความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยมีความรู้และคุณธรรมเป็นตัวกำกับ นี่เป็นข้อเสนอแนะที่จะทำให้สังคมอยู่ด้วยกันอย่างมีสุขสงบ น่าจะเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อความสงบสุขได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น