หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ตัวการทำลายสังคมไทย

การที่จะหาสาเหตุว่าอะไรเป็นตัวการทำลายสังคมไทยนั้น คงจะมีอะไรหลายอย่างประกอบกัน คงจะบอกว่าอย่างใดอย่างหนึ่งชัดลงไปคงไม่ได้ แต่ถ้ามองในภาพรวมว่ารากฐานที่แท้จริงอยู่ที่อะไร ที่รวมทุกสิ่งไว้ด้วยกันก็คือการศึกษา เพราะถ้าการศึกษาดี สังคมก็จะดีตามไปด้วย อันนี้หมายถึงการศึกษาที่ถูกต้อง ที่มีคุณธรรมจริยธรรมกำกับ ดังที่ท่านพุทธทาสเคยกล่าวว่าถ้าศิลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ และถ้ามองว่าคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา


แน่นอนว่าการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวัตถุ เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของวัตถุภายใต้เงื่อนไขต่างๆ อันได้แก่กฏเกณฑ์ ทฤษฎีต่างๆ ที่นำมาใช้อธิบาย และนำไปประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น จากวัตถุที่ทำให้สะดวกสะบายแล้ว วัตถุยังเป็นสิ่งที่ประดับบารมี และมีความโน้มเอียงไปทางที่ดีกับคนที่มีวัตถุที่มีค่าต่างๆ มากกว่าคนที่ไม่มีวัตถุที่เป็นชิ้นเป็นอันใดเลย ทำให้คนแสวงหาวัตถุมากเกินไปเกินความจำเป็น ยึดเอาวัตถุเป็นสารณะที่ให้คุณให้โทษมากเกินไป อันเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้สังคมเสื่อมทราม จนทำให้มองเห็นไปทำนองเดียวกับที่ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดมได้ให้ข้อคิดจากการให้สัมภาษณ์ ในประชาคมวิจัย ฉบับที่ 87 ว่า "ถ้าเรายังสอนให้คนเป็นทรัพยากร เน้นแต่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนเกินไปบอกได้เบยว่านี่คือส่วนหนึ่งที่จะทำลายสังคมไทย" อย่างไรก็ตาม เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ยังจะต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าการได้มาซึ่งความรู้ เป็นไปตามหลักตรรกะและเหตุผล จึงน่าจะมีความถูกต้อง แต่กลับพบภายหลังว่ามีพิษภัยเกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายก็มากมาย แต่ที่เป็นประโยชน์น่าจะมากกว่า เป็นทับทวี จนอาจกล่าวได้ว่าโลกเรายอมรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเหมือนกับวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่แทรกซึมไปอยู่ในวิถีชีวิต เปรียบเหมือนปลาไม่รู้จักน้ำ จนกล่าวได้ว่าไม่มีใครที่ไม่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่คิดได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ใช้กันมากที่สุด ไม่เฉพาะแต่ในศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่สาขาวิชาอื่นๆ ก็นำวิทยาศาสตร์ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมศาสตร์ หรือจัดการศาสตร์ ก็ใช้คำว่าวิทยาศาสตร์ประกอบอยู่ด้วย

ดังนั้นแน่นอนว่าการเน้นแต่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนเกินไป เหมือนกับว่านำวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างไม่เหมาะสม อย่างผิดหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็แน่นอนว่าส่งผลให้เกิดการทำลายสังคม ไม่ว่าสังคมประเทศใด และหากคิดต่อไปทำนองเดียวกันว่า แล้วถ้ามุงเน้นศาสตร์ด้านอื่นๆ ด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป ก็คงมีโทษได้เช่นเดียวกัน เพราะการเน้นมากเกินไปไม่มีความสมดุลย์ ไม่เหมาะสม ก็ส่งผลให้เกิดการทำลายสังคมได้เช่นกัน ฉะนั้นตามแนวพุทธศาสนาที่ให้เดินสายกลางไม่มากไม่น้อยเกินไป คงจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพราะอย่างไรเสียก็ไม่มีศาสตร์สาขาใดที่สมบูรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็เช่นเดียวกันที่มีทั้งโทษและประโยชน์ ที่ยังต้องอยู่กับมันก็เพราะยังน่าจะมีประโยชน์มากกว่า สอดคล้องตามปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ว่าไม่มีความรู้ใดที่สมบูรณ์แน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้ายังมีวิธีการใดๆของผู้อื่น ที่แน่ใจว่าดีกว่าก็จะรับมาใช้แทนที่ที่ใช้อยู่เดิม ทีสอดคล้องกับหลักไตรลักษณ์อย่างหนึ่งที่ว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น