หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

ทัศนะเกี่ยวกับวัตถุนิยม

เราเคยเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุนิยม จะมีความหมายไปทางที่การมีวัตถุก็เป็นไปเพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ความมีหน้ามีตา ความมีเกียรติที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา ทำให้มนุษย์แสวงหาวัตถุเพื่อบำรุงบำเรอให้เกิดความสุข อันเป็นต้นตอของปัญหาในโลกยุคปัจจุบันที่ต่างก็แย่งชิงวัตถุกันในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวเงิน และสิ่งของที่มองเห็นจับต้องได้ เป็นการแย่งชิงผลประโยชน์ทางวัตถุกัน โดยไม่คำนึงถึงว่าจะให้ได้วัตถุมาโดยวิธีใด


การเป็นนักบริโภคนิยม มีความหมายไปในทางเดียวกับวัตถุนิยม เพราะการเป็นนักบริโภคนิยมนั้นจะซื้อหาทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นแก่การดำรงชีพ หรือเพียงเพื่อประดับบารมี และความพึงพอใจเป็นที่ตั้ง ดังนั้นทำให้มีการแสวงเงินทองกันให้มากเท่าที่จะมากได้เพื่อจะได้นำไปซื้อหาวัตถุที่ต้องการ โดยคิดว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะก่อให้เกิดความสุขได้ แต่กลายเป็นว่ายิ่งมีการบริโภคกันมากเท่าใดก็ยิ่งก่อให้เกิดการทำลายล้างกันมากเท่านั้น ก็ยังหาความสุขที่แท้ได้ยาก

ถ้านับย้อนไป 300 กว่าปีที่นิวตันได้พบกฏความโน้มถ่วง และกฏการเคลื่อนที่ ที่คิดให้วัตถุทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้กฏดังกล่าว ที่มองทุกอย่างเหมือนเครื่องจักรกล ทำให้มีการสร้างเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักรกลมาใช้แทนแรงงานคน ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม สามารถผลิตวัตถุในรูปของสินค้าต่างๆ ได้จำนวนมากด้วยต้นทุนที่ต่ำลง เป็นที่มาของวัตถุนิยมอย่างหนึ่ง

เมื่อมองพุทธศาสนาเราก็ทราบว่าไม่ได้เน้นไปที่วัตถุ แต่มุ่งเน้นไปที่จิตใจ โดยให้ปล่อยวางวัตถุว่าไม่มีตัวตนที่แท้จริงไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในวัตถุ ดังที่ปรากฏในพระธรรมวินัยที่พระสงฆ์ต้องปฏิบัติไปตามนั้น อย่างไรก็ตามพุทธศาสนาก็สามารถคิดให้เป็นวัตถุนิยมได้ ตามทัศนะของไมเคิล ไรท์ มองว่าแนวคำสอนทางพุทธศาสนาก็มีวัตถุนิยมอยู่ในตัว เช่นการให้ใช้ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นตัวแทนของความทุกข์ ก็ยึดถือเอาตัวบุคคลซึ่งเป็นวัตถุ และกาลามสูตร ก็กล่าวอ้างถึงเรื่องวัตถุเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำไปสู่การขัดเกลาทางจิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น