หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

สเป็คเชี่ยลเอ็ฟเฟ็คในอวตาร

ในบล็อกที่แล้วมาได้พูดถึงภาพยนต์แห่งปีซึ่งต่างก็มีความยิ่งใหญ่เมื่อได้ดูแต่เบื้องหลักการถ่ายทำอันเป็นสเป็คเชี่ยลเอ็ฟเฟ็ค ซึ่งมีบริษัทดำเนินการคือบริษัท ILM ก่อตั้งโดย จอร์จ ลูกัส ซึ่งภาพยนต์ในแนวนี้เกือบทุกเรื่อง สเป็คเชี่ยลเอ็ฟเฟ็คเกือบทุกเรื่องบริษัทนี้เป็นผู้ทำทั้งสิ้น บริษัทนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1975 แล้ว ภาพยนต์แนวนี้จึงเกิดขึ้นหลังปี 1975


ถ้าใครได้ดูหนังเรื่อง Avatar ซึ่งมีผู้แปลว่าอวตาร ก็จะรู้ความหมายคำว่าอวตารว่าเป็นอย่างไร ความจริงแล้วก่อนที่จะมีภาพยนต์เรื่องนี้ก็มีภาพยนต์เรืองอื่นที่ในความหมายเดียวกับอวตารก็คือเรื่องเซอรเรเกต ซึ่งนำแสดงโดยบรูส วิลลิส ที่ใช้วิธีการโคลนนิ่งคนออกไปทำงาน โดยมีคนตัวจริงนอนอยู่กับบ้าน ตอนนั้นไม่ได้เรียกว่าอวตารแต่เรียกว่าการโคลนนิ่ง สำหรับเรื่อง avatar หรืออวตารนั้นก็เป็นไปในทำนองเดียวกันที่ตัวจริงนอนอยู่ในเครื่องมือควบคุมการอวตาร ซึ่งมีการโคลนนิ่งระหว่างคนและมนุษย์ต่างดาวแพนโดร่าเข้าด้วยกันเพื่อไปเรียนรู้มนุษย์ต่างดาว ตัวโคลนนิ่งจะมีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อคนจริงต้องไปอยู่ในเครื่องมือ ถ้าปิดการเดินเครื่องมือควบคุมเมื่อใดตัวโคลนนิ่งก็จะหมดชีวิตไปทันทียุติการอวตารเช่นกัน อันนี้เป็นความหมายของอวตารตามเรื่องอวตาร

ด้วยเทคนิคการถ่ายทำที่ลำลึกไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้เหมือนจริงขนาดนั้น แม้แต่ตัวละครกราฟิกส์ก็สมจริงสมจังสามารถแสดงสีหน้าท่าทาง และอารมณ์ได้เหมือนมนุษย์ทุกอย่าง ที่ทำได้เช่นนี้นั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่มีตัวตรวจจับต่างๆจากคนจริงก่อนที่จะถ่ายทอดให้กับตัวละครกราฟิกส์แอนนิเมชั่้น

ภาพยนต์ทำนองนี้ไม่ใช่เพิ่งมีมาแต่ได้ปรับปรุงให้สมจริงมากขึ้นๆ ถ้าเราย้อนกลับไปดูไม่ว่าในเรื่องเอเลียน คิงคอง จูราสิคพาร์ค ทรานสฟอร์เมอร์ อินเดียน่าโจนและอีกหลายๆ เรื่องในแนวนี้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์มาช่วยสร้างสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ แต่ที่ต่างกันก็คือเรื่องหลังๆ นั้นจะมีเทคนิคที่ดีขึ้นดูสมจริงสมจังมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น