หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

เมื่อชื่อไทยขายไม่ออก

ตอนที่ไปกทม.ได้มีโอกาสไปเดินผ่านห้างเปิดใหม่ของพันธ์ทิพย์สาขาบางกะปิ ที่เปิดจำหน่ายสินค้าด้านไอทีทั้งซอพท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ก็ไม่ได้ตั้งใจไปซื้ออะไรแค่อยากเดินไปสำรวจดูว่าสถานท่เป็นอย่างไรและมีสินค้าไอทีมากหมายหลากหลายหรือไม่ ซึ่งก็พบว่ายังมีคนเดินเข้าไปเพื่อซื้อสินค้าน้อยกว่าพันธ์ทิพย์พลาซ่าประตูน้ำ อาจจะเป็นเพราะว่าคนยังรู้จักน้อย ถ้าดูสถานที่แล้วก็อาจพอๆกัน ร้านค้าเดิมๆ ก็ยังคงมาเปิดสาขาด้วย

และที่น่าสังเกตก็คือว่าไม่มีชื่อร้านใดที่ชื่อเป็นภาษาไทยล้วนเกือบร้อยเปอร์เซนต์ให้ชื่อร้านเป็นภาษาอังกฤษหมด ถ้าจะมีชื่อไทยก็ต้องเป็นอีกบรรทัด ไม่ต้องพูดถึงตราหรือแบรนของสินค้าที่ไม่มีชื่อไทยอยู่ในสารบบเลย เคยได้ยินได้ฟังว่าถ้าตั้งชื่อไทยแล้วโอกาสเจ๊งมีสูง ก็เลยต้องตั้งเป็นภาษาอังกฤษดีกว่า บ้างก็ว่าภาษาไทยเรียกยากอ่านยากมีไม่กี่คำทีอ่านง่ายเขียนง่าย เคยมีสินค้าไทยคือตราธานินทร์ ซึ่งตอนนี้ก็เจ๊งไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าวิเคราะห์ดูว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่เราไม่ค่อยมีความเป็นชาตินิยม จึงไม่นิยมใช้ภาษาของตัวเองแต่ไปใช้ภาษาต่างประเทศมากขึ้น เป็นทางหนึ่งหรือเปล่าที่ทำให้การใช้ภาษาไทยแย่ลงไป

อีกประการหนึ่งอาจเป็นไปได้จากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่จะต้องมีภาษากลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนทั่วโลก และภาษาอังกฤษได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด ทำให้เข้าใจความหมายของคำในภาษาอังกฤษได้ดีที่จะสื่อกับคนทั่วโลกได้ดีกว่าใช้ภาษาไทย สำหรับบางประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่นมีความเป็นชาตินิยมสูงผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ดังนั้นจริงมีตราหรือแบรนด์ของญี่ปุ่นเอกก็ได้รับการยอมรับ ซึ่งมีอยู่มากมาย เช่นฮอนด้า โตโยต้า ระยะหลังๆ ก็มีการปรับตัวใช้ชื่อภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วย และทำให้คนทั่วโลกรู้จักสินค้าญี่ปุนเพิ่มมากขึ้นเมื่อใช้ภาษาอังกฤษ แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้ทิ้งชื่อญี่ปุ่นด้วยยังคงใช้คู่ขนานกันไป แน่นอนว่าคนทั่วโลกจะรู้จักชื่อภาษาอังกฤษได้ดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น