หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

โคลนคนและพืชได้หรือไม่

ทางทฤษฎีเราสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอุปสรรคในเชิงเทคนิคในการโคลนมนุษย์ เป็นต้นว่าในด้านคุณธรรม จริยธรรม ในเชิงปรัชญา ศาสนา และในแง่เศรษฐศาสตร์ ที่จะต้องแก้ปมปัญหาดังกล่าวให้ได้ก่อนที่จะทำการโคลนมนุษย์ได้จริง


การโคลนเป็นการจัดกลุ่มของเซลล์จากเซลล์กำเนิดโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเซลล์เป็นสองเซลล์ หรือโดยการแบ่งเซลล์ที่เรียกกันว่าไมโตซิส ส่วนอันเป็นนิวเคลียสของเซลล์ซึ่งแต่ละโครโมโซมก็แบ่งตัวเป็นสอง ซึ่งเป็นส่วนที่จะทำให้เกิดสารพันธุ์กรรม ความจริงแล้วชาวสวนแพร่พันธ์โดยการโคลนพืชมานานแล้วนับศตวรรษ โดยนำส่วนที่ตัดจากต้นไม้ไปทำให้เกิดเป็นต้นขึ้นมาที่มีส่ารทางพันธุกรรมเหมือนกัน สำหรับพืชที่ไม่ยอมให้เติบโตมาจากการตัดส่วนของพืช หรือสำหรับในโลกของสัตว์ เทคนิคทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ขยายขอบเขตช่วงของการโคลนออกไปอย่างกว้างขวาง

สำหรับเทคนิคในการโคลนพืชเริ่มจากตัดส่วนของพืช ที่คิดว่าดีที่สุดในเทอมของการขยายพันธ์และการเสริมแต่ง หรือมาตรฐานอื่นๆ เนื่องจากเซลล์ต้นไม้ทั้งหมดมีสารพันธุ์กรรม ซึ่งพืชทั้งหมดสามารถที่จะสารพันธุกรรมและสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ การตัดชิ้นส่วนของพืชในการโคลน สามารถตัดส่วนใดของพืชที่มีความสมบูรณ์มาใช้ได้ แล้วนำไปวางในถาดเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่มีสารอาหารทางเคมีและฮอโมนเพื่อการเจริญเติบโต เซลล์ของพืชที่ตัดมาจะมีการแบ่งตัว มีขนาดเป็นสองเท่าในทุก 6 สัปดาห์ จนกระทั่งมวลของเซลล์ก่อให้เกิดจุดสีขาวเล็กๆกลมๆ เรียกว่า embryoids ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นราก หน่อ และเริ่มจะมองเห็นเป็นต้นไม้เล็กๆ แล้วแยกนำไปปลูก พืชเหล่านี้จะจะเติบโตขึ้นเป็นเหมือนสำเนาของต้นพืชเดิมที่ตัดเอาส่วนของมันไป กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 18 เดือน กระบวนการดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเรียกว่า tissue culture สามารถนำมาใช้ในการโคลนต้นปาล์มน้ำมัน หน่อไม้ สัปรด สตรอเบอร์รี ฯลฯ

สำหรับเทคนิคในสัตว์เรียกว่า การส่งผ่านทางนิวเคลียส ให้มีการโคลนเกิดขึ้น 32 รายการที่ทำให้เกิดขึ้นในครั้งเดียวกัน เอมบรายโอในขั้น 32 เซลล์ของการพัฒนาที่จะต้องมีการแบ่งแยกโดยใช้เครื่องมือช่วยในแยกตัด จากนั้นแต่ละ 32 เซลล์ให้รวมกันกับเพียงเซลล์เดียวของ empbryos วิธีการนี้ใช้ได้ในการทำสำเนาสัตว์ เช่นหนู กบ แกะ และวัวควาย น่นคือท้ายทึ่สุดแล้วไม่มีเหตุผลทางชีวะวิทยาใดเลย ว่าทำไม่มนุษย์จะถูกโคลนไม่ได้ตามเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น