หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

มาตรฐานการปฏิบัติ

มาตรฐานมีหลายระดับ ที่มีสูงมีต่ำ ดีมากดีน้อย มาตรฐานที่ไม่ดีไม่ค่อยมี เพราะคำว่ามาตรฐานคงจะใช้กับสิ่งที่ดีๆ เสียมากกว่าอะไรที่ไม่ดีก็ไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน เพื่อให้มาปฏิบัติกัน หากไม่มองทีระบบใหญ่ที่เป็นแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์อันเป็นความฝันที่จะไปให้ถึง ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะถึงตามฝัน แต่ถ้าคิดเอาความเป็นจริงที่สัมผัสได้ ไม่ต้องคิดถึงแผนอะไรให้ยุ่งยาก แต่คิดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ต้องมีตัวชี้วัดอะไรบ้างอย่าง มาตรฐานที่ว่านี้แม้จะไม่ใช่มาตรฐานสากล แต่เป็นมาตรฐานเพื่อการปฏิบัติที่สัมผัสได้ อยู่ในชีวิตการทำงานประจำวัน ซึ่งมาตรฐานของแต่ละหน่วยงานองค์กรก็แตกต่างกันไป แต่การกำหนดมาตรฐานไว้ดีกว่าไม่มีอะไรเลย และหากว่าทำได้ตามมาตรฐานก็ถือว่ามีคุณภาพระดับหนึ่งที่เข้าหลักความหมายคุณภาพอย่างหนึ่งที่ว่าคุณภาพคือการทำได้ตามที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานนั่นเอง
จะขอยกตัวอย่างง่ายๆ วันนี้ไปศาลากลางมาแวะไปห้องน้ำห้องส้วม มีการกำหนดมาตรฐานว่า มีการตรวจห้องน้ำ 4 ครั้ง เช้า 2 ครั้ง ช่วงบ่าย 2 ครัง แต่ละครั้งที่ตรวจมี พื้นห้องน้ำ และผนัง ง่ายๆ สำหรับพื้นห้องน้ำก็ไม่ทราบว่ารวมโถส้วมและอ่างล้างหน้าด้วยหรือเปล่า ขณะเดียวกันได้แวะไปอีกที่หนึ่งที่ห้างดังแห่งหนึ่ง ก็มีการกำหนด ตรวจ 4 เวลาเช่นเดียวกัน แต่กำหนดรายละเอียดมากขึ้น เช่นมีพื้น ผนัง เพดาน โถส่วม อ่างล้างหน้า รวมน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด และรวมทั้งถังขยะและกระดาษชำระ จะเห็นว่ามาตรฐานของห้างน่าจะสูงกว่าเพราะกำหนดรายละเอียดไว้มากกว่าน่าที่จะมีคุณภาพมากกว่า และในสภาพความเป็นจริงที่เห็นก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่สำหรับสถานที่ราชการเช่นมหาวิทยาลัยของเราไม่ได้มีการกำหนดอะไรไว้ แม้จะมีแผนกลยุทธ์แผนปฏิบัติการแล้วก็ตาม แต่ไม่มีมาตรฐานส่วนนี้ที่เป็นระบบ ก็น่าที่จะเชื่อได้ว่าคุณภาพจะสู้ที่ศาลากลางและที่ห้างไม่ได้ เพราะเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าไม่ว่างานใดก็ตามที่มีคนมาตรวจประเมินย่อมมีคุณภาพมากกว่า ห้องน้ำห้องส้วมที่มีคนมาตรวจประเมินวันละ 4 ครั้งและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ย่อมสะอาดกว่าที่ไม่มีระบบการตรวจประเมินใดๆ เป็นธรรมดา ถึงเวลาแล้วยังที่เราควรจะกำหนดมาตรฐานกันบ้างไม่ว่าเรื่องใดๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น