หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

เข้าใจการใช้งานวงจรคุณภาพ

วงจรคุณภาพที่เราใช้กันมากที่สุดก็คือวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง ที่เรียกกันติดปากว่า PDCA โดยที่ไม่ว่างานอะไรก็แล้วแต่ถ้าจะให้มีคุณภาพก็ต้องมีการวางแผนเตรียมงานไว้ก่อน ยิ่งเตรียมได้ดีเผื่อทางออกทางเลือกไว้ก็จะทำให้งานมีปัญหาต่อไปนี้ (Plan:P) ต่อไปก็ต้องนำแผนมาปฏิบัติหรือปฏิบ้ติให้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ (Do:D)ในส่วนนี้ต้องอาศัยคนที่มีคุณภาพก็คือมีความรู้มีความสามารถในการปฏิบัติ เพราะเราถือว่าถ้าทำได้ตามแผนก็ถือว่ามีคุณภาพระดับหนึ่งแล้ว ขั้นต่อไปเมื่อมีการปฏิบัติไปแล้วก็ต้องมีการประเมินว่าที่ได้ทำได้ปฏิบัติไปแล้วนั้นทำได้ดีเพียงไร (Check:C) เพราะเราทราบกันดีว่างานใดที่มีการตรวจประเมินงานนั้นจะมีคุณภาพมากกว่า เพราะจะส่งผลให้มีการพัฒนางานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือถ้างานใดทำได้ดีแล้วก็จะมีการกำหนดมาตรฐานไว้ และหาทางพัฒนางานให้มีคุณภาพมากขึ้น และปรับปรุงแก้ไขถ้าผลการทำปฏิบัติงานไม่ดีไม่เป็นไปตามแผน (Act:A)
การทำวงจรคุณภาพไปใช้ดังกล่าวที่กล่าวว่าเป็นวงจรที่ครบรอบจะมาจบที่เริ่มต้นวางแผนกันใหม่ ที่ต้องการให้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นอันหมายถึงมีความก้าวหน้ามากขึ้นอีก โดยมีมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว ที่ต้องทำให้ได้ตามมาตรฐาน และที่ท้าทายจะเป็นการทำให้สูงกว่ามาตรฐานในการวางแผนรอบใหม่ ในกรณีที่ประเมินผลได้ไม่ดีไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ก็จะต้องวางแผนเพื่อการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งควบคู่กันไป ก็จะมีมาตรฐานการปฏิบัติงานของตัวเอง การปฏิบัติและการประเมินการปฏิบัติในรอบใหม่ถ้าผลการปฏิบัติงานออกมาดีสูงกว่ามาตรฐานก็น่าจะมีการตั้งมาตรฐานใหม่ควบคู่กันไปด้วย จะทำให้การทำงานได้มาตรฐานที่สูงขึ้น และคุณภาพก็จะเพิ่มขึ้นได้เสมอหากเราปฏิบัติตามวงจรคุณภาพอย่างเคร่งครัด
ในขั้นตอนการกำหนดมาตรฐาน สิ่งที่จะทำควบคู่กันไปด้วยในรายละเอียดก็คือการทำขั้นตอนงานที่เป็นมาตรฐานควบคู่กันไปด้วยในรายละเอียด ที่ระบุทุกขั้นตั้งแต่เริ่มต้นงานมีกิจกรรมอะไรบ้างใช้เวลานานเท่าใดจนเสร็จกระบวนการอันส่งผลให้เกิดคุณภาพ การกำหนดมาตรฐานหรือขั้นตอนงานเป็นลายลักษณ์อักษรจะทำให้เห็นถึงผู้รับผิดชอบ ทำให้ตรวจสอบได้ว่างานบกพร่องที่จุดใด หรือขาดขั้นตอนใด ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น การตรวจประเมินก็ทำได้ง่ายขึ้น ในองค์กรที่มีคุณภาพมักมีรายละเอียดในส่วนนี้ไว้ชัดเจน ไม่ว่าจะใช้แนว ISO หรือ TQM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น