หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

โลกแห่งความสัมพันธ์

ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าวัตถุหรืออะนุภาคทุกอนุภาคมีความสัมพันธ์กัน โดยการที่วัตถุทุกชนิดที่มีอยู่ในจักรวาลนั้นถือว่ามีมวลสารเป็นองค์ประกอบสำคัญ และตามทฤษฎีแรงความโน้มถ่วง หรือแรงดึงดูระหว่างมวลสาร อันนี้หมายความว่าไม่ว่าวัตถุจะเล็กจะใหญ่ก็มีแรงดึงดูดซึ่งกันและกันเสมอ และเป็นแรงที่เท่ากัน ไม่คำนึงว่ามวลหนึ่งจะมีค่ามากกว่าหรือเล็กกว่าอีกมวลหนึ่งอย่างไร ก็จะเกิดแรงดึงดูระหว่างมวลเท่ากันเสมอ ทฤษฏีความโน้มถ่วงยังคงใช้ได้แม้แต่ในปัจจุบัน

นอกจากนี้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่นจากวิชากลศาสตร์ควอนตัม ได้เสริมทฤษฎีความโน้มถ่วงที่ทำให้วัดค่าแรงได้อย่างตายตัวแน่นอน แต่ในกรณีของกลศาสตร์ควอนตัมนั้นการวัดค่าต่างๆ จะเกิดความไม่แน่นอน อันเนื่องจากการสังเกตวัตถุมีผลทำให้มีข้อผิดพลาด นั่นก็คือไม่ว่าจะวัดค่าใด สิ่งที่ใช้วัดหรือสังเกตจะไปรบกวนสิ่งที่ถูกวัดเสมอ ได้รับผลกระทบจากผู้วัดและเครื่องมือในการวัด ถือว่าเป็นลักษณะความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันแบบใดแบบหนึ่ง

เมื่อเรารู้ว่าโลกของเราเป็นโลกแห่งความสัมพันธทั้งที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โลกหรือองค์กรต่างๆ ควรจะได้ออกแบบ และจัดการองค์กรที่ตอบสนองต่อโลกแห่งความสัมพันธ์ เราทั้งหลายเป็นเหมือนผู้ให้กำเนิดหรือสร้างสรรค์ความจริงหรือความรู้ที่มีความหลากหลายรูปแบบหรือแบบพหุลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น