หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ปรัชญาการสร้างความรู้

แนวปรัชญาการสร้างความรู้ (Constructivism)  เป็นเหมือนทฤษฎีการเรียนรู้ที่อธิบายว่าจิต ของเราสร้างความรู้อย่างไร โครงสร้างความรู้ของนักเรียนเป็นอย่างไร จึงได้เข้าใจมโนทัศน์ได้ลึกซี้ง (Fosnot,1996, p30; Joyce & Weil,1996) กิจกรรมสร้างความรู้ไม่เพียงแต่การจัดหาสารสนเทศ แล้วคาดหวังให้รับข้อมูลนั้นว่าเป็นจริง  กิจกรรมตามแนวปรัชญานักสร้างความรู้ (constructivist) เรียกร้องให้ผู้เรียนนำเอารูปแบบการคิดของตนเองมาบูรณาการกับสารสนเทศภายใต้กรอบเฉพาะตน (Glynn & Duit,1955; Novak,1955) เพื่อช่วยผู้เรียน บูรณาการแนวคิดใหม่ เข้ากับรูปแบบที่คุ้นเคยของตัวเอง นักสร้างความรู้ได้แนะนำกิจกรรมเบื้องต้นในบริบทประจำวัน กรณีที่มีจริง เป็นจริงกำหนดเป็นหัวข้อเรียนรู้ในหลายทัศนะ และสนับสนุนส่งเสริมนักเรียนเข้ามาร่วมกันเรียนรู้ โดยมีทัศนะกลุ่มแบบเปิด มีความปรองดองยอมรับกัน (Jonassen,1994; Wills,2000)

ตามแนวปรัชญานี้ไม่มากก็น้อยใกล้เคียงกับทัศนะความรู้ของอริสโตเติล (Aristotle) เหมือนกับการปฏิบัติคงอยู่ในบริบท สร้างขึ้นจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากกว่าที่จะเป็นนามธรรมและทฤษฎีจากภายนอก การเรียนรู้นั้นเชื่อมโยงจากสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น