ในบล็อกวันที่ 19 เดือนนี้ให้ชื่อว่าการเตรียมคนสำหรับการทำงานในศตวรรษที่ 19 ได้ชี้ให้เห็นว่าความจำเป็นอย่างยิ่งคือความรู้ และวิธีการในการแสวงหาความรู้ รู้วิธีคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ มีวิจารณญาณและสร้างสรรค์อันเป็นส่วนของการศึกษาเพื่ออนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จะมีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้น
ได้มีผู้เสนอเพื่อเตรียมคนสำหรับอนาคตในศตวรรษที่ 21 เพื่อความอยู่รอดและอยู่ดี อีกลักษณะหนึ่งที่เรียกว่า 5 ลักษณะจิต(five minds) นำเสนอขึ้นโดย Howard Gardner ปรมาจารย์ด้านจิตวิทยาผู้ที่เสนอทฤษฎีพหุปัญญา 5 ลักษณะจิตดังกล่าว ราชบัณฑิตสถานได้บัญญัติศัพท์ขึ้นแล้วคือ สมรรถิยะ (competencies) ซึ่งคล้ายกับคำว่า สมรรถนะที่หมายถึงความสามารถ แต่ที่น่าจะแตกต่างกัน สมรรถยะนั้นในในเรื่องของความสามารถทางจิตเป็นหลัก เพราะคำว่า mind แปลว่าจิตในที่นี้
5 ลักษณะจิตดังกล่าวได้แก่
1) Discipline Mind ซึ่งประกอบด้วย
-Disciplinary thinking
-สามารถเก็บสะสมข้อมูลสรุปทฤษฏีได้
-ไม่ยึดติดสาขาใดสาขาหนึ่ง
-สามารถบังคับตัวเองให้ทำสิ่งที่สำคัญ
2) The Synthesizing Mind
3) The Creative Mind
4) the Respectful Mind
5) The Ethics Mind
จะเห็นว่าทั้ง 5 ประการไม่มีอะไรใหม่ เคยได้ยินได้อ่าน ได้ฟังต่างกรรมต่างวาระกัน
Gardner ได้มาร้อยเรียงใหม่เป็นระบบขึ้นและเน้นเรื่องของจิตมากขึ้น ราวกับว่าเขาได้เข้ามาศึกษาพุทธศาสนาที่เน้นในเรื่องจิตเป็นสำคัญ เพราะไม่ว่าการกระทำใดก็เนื่องมาจากจิตคิดรู้สึกมีอารมณ์และส่งผลต่อการกระทำ ไม่ได้กล่าวถึงสมองว่าเป็นบ่อเกิดของลักษณะจิตดังกล่าว ในลักษณะที่ 1 จิตที่เป็นระเบียบถ้าจิตได้รับการฝึกก็จะคิดเป็นระเบียบเป็นระบบ ลักษณะที่2 จิตที่สังเคราะห์โลกปัจจุบันก็ต้องมององค์รวมมากขึ้นต้องสังเคราะห์สิ่งที่เกี่ยวข้องอันเป็นบริบทให้รอบด้าน ในลักษณะที่3 จิตที่คิดสร้างสรรค์แน่นอนว่าโลกในภาวะปัจจุบันต้องการวิธีการใหม่ๆ รูปแบบใหม่ที่จะจัดการกับปัญหาใหม่ๆต้องมีจิตที่สร้างสรรค์ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของผู้นำ ลักษณะจิตที่ 4 และ 5 น่าจะรวมเป็นข้อเดียวได้ แต่Gardner ต้องการเน้นย้ำปัญหาของโลกในปัจจุบัน ที่มีปัญหาเพราะไม่ค่อยเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นที่ยังคิดว่าความคิดสิ่งที่ตัวเองเชื่อถือดีกว่า ในข้อนี้น่าจะอยู่ร่วมกับข้อ 5 ที่ลักษณะจิตที่มีจริยธรรม ที่บุคคล สังคมอยู่อย่างเป็นสุข
เมื่อมองศาสนาพุทธที่เน้นในเรื่องของการฝึกจิต ให้มีสตินั้นก็น่าจะอยู่ในการทำให้จิตมีระเบียบ และเมื่อฝึกสติปัฏฐาน4 การทำสมาธิแน่นอนว่าจะต้องมีการจิตที่ต้องสังเคราะห์สิ่งปรุงแต่งต่างๆ และจิตที่ฝึกดีแล้่วก่อให้เกิดปัญญาที่มี่ทั้งการสร้างสรรค์และจริยธรรมในตัว พอสรุปเป็นหลักธรรมที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่เราได้ปฏิบัตินำมาใช้กันหรือเปล่าเท่านั้น
อ้างอิง บทความเรื่อง5 ลักษณะจิตสำหรับอนาคต โดย รศ.วรากรณ์ สาโกเศศ ในมติชนรายวัน 5สค.53
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น