หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดแบบวิจารณญาณ และการคิดแบบสร้างสรรค์

ขณะที่เราแก้ปัญหาหรือตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เราดำเนินการไปไม่มากก็น้อยบนฐานของการคิดสร้างสรรค์และการคิดแบบวิจารณญาน โดยทั่วไปคนมักจะมองว่าการคิดแบบวิจารณญานว่าเป็นการตีค่าประเมินเป็นหลัก ส่วนการคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดสิ่งใหม่และทางเลือก การคิดทั้งสองแบบเป็นคู่ที่มีส่วนร่วมกันหลายอย่าง โดยความคิดที่ดีทั้งหลายจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพการประเมิน และผลผลิตใหม่ที่เกิดขึ้น


การคิดแบบวิจารณญานก่อให้เกิดทางเลือกเพื่อการทดสอบยืนยัน นักคิดสร้างสรรค์จะตรวจสอบความคิดใหม่เพื่อยืนยันถึงความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์ ความแตกต่างอยุ๋ที่องศาและการเน้น โปรแกรมการเรียนและการปฏิบัติในโรงเรียน ควรจะได้สะท้อนความเข้าใจที่ว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์สูง ก็มักจะเป็นผู้ที่คิดได้แบบมีวิจารณญานด้วย และในทางที่กลับกัน

Ennis (1985) กำหนดให้การคิดแบบมีวิจารณญานว่าเป็นการคิดที่มีเหตุผล และเป็นการคิดแบบย้อนกลับที่มุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจว่าเชื่ออะไรหรือทำอะไร ในการคิดแบบมีเหตุผลเมื่อนักคิดพยายามคบคิด วิเคราะห์ข้อโต้แย้งอย่างระมัดระวัง มองหาหลักฐานที่ถูกต้อง และเข้าสู่ข้อสรุปที่เป็นพ้องกัน (sound conclusion) เป้าหมายของการสอนการคิดอย่างมีวิจารณญานก็เพื่อพัฒนาคนที่มีใจเป็นกลาง (fair minded) จริงจัง และตัดสินใจแล้วว่าต้องการทำให้ชัดเจนเป็นที่ปรากฏ โดยพัฒนาเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อการตัดสินใจ

ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับความสามารถที่ไปไกลกว่าโครงสร้างความคิดตามปกติที่ใช้นำเข้าสู่ปัญหา การออกไปนอกกรอบ นอกเส้น และกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งอาจปรากฏในมุมมองที่แตกต่างออกไป โดยคุณลักษณะผู้มีความคิดสร้างสรรค์มีความสามารถที่จะมองปัญหาจากกรอบอ้างอิงหนึ่งหรือมีโครงสร้างความคิดหนึ่ง โดยความรู้ตัวได้ปรับเปลี่ยนไปยังกรอบอ้างอิงอื่นที่ได้ทัศนใหม่ที่แท้จริง กระบวนการนี้ยังคงมีต่อไปจนกระทั่งบุคคลนั้นได้มองปัญญาจากหลายๆ ทัศนะ การสอนเพื่อการคิดสร้างสรรค์จึงต้องการ การใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมนักเรียนให้เห็นความเหมือนในปรากฏการณ์และในตัวปริมาณว่าไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างธรรมดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น