ภาพยนต์สะท้อนให้เห็นถึงสังคมวัฒนธรรมของชุมชนในภาพยนต์ว่าเป็นลักษณะใด ภาพยนต์ฮอดลีวูดส่วนใหญ่ใช้สังคมอเมริกาเป็นฉากในภาพยนต์ ภาพยนต์ที่ได้ดูสองเรื่องสะท้อนวัฒนธรรมบางอย่างของสังคมอเมริกา เรื่องแรกชื่อ Failure to launch อีกเรื่องหนึ่งคือ All about Steve
สำหรับ Failure to launch ภายใต้ชื่อไทยว่า จัดฉากรัก..กำจัดลูกแหง่ ตามเรื่องพระเอกนั้นอายุเกือบ 35 ปีแล้วยังอยู่กับพ่อแม่ เพราะมีแม่คอยบริการ ผู้หญิงที่เขาติดต่อด้วยมองว่าเป็นเรื่องผิดปกติ พ่อแม่เขาก็มองว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่ลูกอายุมากแล้วไม่ยอมแยกไปมีครอบครัวจึงวางแผนจ้างนักจิตวิทยามาช่วยอีกแรง ส่วนอีกเรื่องคือ All about steve หรือ อลเวงนักกรี๊ดรักนายสตีฟ เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกับเรื่องแรกแต่เป็นผู้หญิ่งที่ยังอยู่กับพ่อแม่แต่เพราะเหตุผลเพราะว่าน่าจะติ้งต๋องนิดหน่วย ที่เรียกว่าแอปหรือพวกออเทสติก ที่เก่งบางเรื่องพูดได้ไม่หยุดเก่งเรื่องอักษรไขว้ เขียนอักษรไขว้ให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น พ่อแม่ของนางเอกเราก็ติดต่อนายสตีฟให้มาเป็นแฟนออกเดท แต่มีเรื่องวุ่นชวนให้ขัน เป็นภาพยนต์ comedy น่าจะให้ชื่อเรื่องว่า All about marry มากกว่า เพราะเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ marry เป็นส่วนใหญ๋ และเช่นกันในกรณีของแมรี่ ที่ยังอยู่กับพ่อแม่ทั้งที่วัยควรจะได้แต่งงานแล้ว ก็ถือเป็นเรื่องไม่ธรรมดาเช่นกัน
ภาพยนต์ทั้งสองเรื่องดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงค่านิยมหรือวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในสังคมอเมริกา ที่เน้นให้รับผิดชอบตัวเองเร็ว เน้นให้มีความเป็นผู้ใหญ่เร็ว สร้างค่านิยมว่าถ้าพึ่งต้นเองได้ เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ เมื่อมีงานทำหรือมีครอบครัวจะแยกไปอยู่เองต่างหากไม่อยู่กับพ่อแม่ เราจึงเห็นได้ว่าในสังคมอเมริกันนั้นนักเรียนในชั้นมัธยมก็ออกไปทำงานในที่ต่างๆเองแล้ว และจะเห็นอยู่เสมอว่าแม้ว่าพ่อแม่จะร่ำรวยมากเพียงไร ก็ยังภูมิใจกับเงินที่ตัวเองหาได้เองมากกว่า และผลดีที่ได้ตามมา ก็คือการที่เป็นผู้ใหญ่เร็วก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องที่ซับซ้อนเข้าใจสังคมเป็นนามธรรมได้ดีขึ้น สอดคล้องตามทฤษฎีการพัฒนาการคิดของเปียอาเจต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น