หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

แกสพลังชีวมวลในสถานศึกษา

แกสชีวภาพในที่นี้ หมายถึงแกสที่นำมาทำเป็นเชื้อเพลิงได้แบบเดียวกับแกสหุงต้มที่ใช้อยู่ตามบ้านเรือน ตามที่เราทราบกันมานั้นได้จากการนำมูลสัตว์เศษวัสดุของสิ่งมีชีวิตนำมาหมักก็จะได้แกส เท่าที่ทำกันได้จริงก็ส่วนมากในระดับครัวเรือน ได้แกสปริมาณน้อย และมักจะทำได้ดีในสถานที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์จำนวนค่อนข้างมากแล้วนำมูลสัตว์เหล่านั้นนำมาทำแกสชีวภาพ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านนี้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการออกแบบการใช้พลังงานจากแกสชีวภาพในระดับที่นำไปใช้ในปริมาณที่มากขึ้น เช่นสถาบันการศึกษาที่มีบ่อพักน้ำเสีย มีเศษอาหารและสิ่งปฏิกูลที่ระบายไปพักไว้เป็นบอบำบัดจำนวนมาก จึงมีผู้ออกแบบผลิตแกสชีวภาพ จากน้ำเสียและเศษอาหารสิ่งปฏิกูล และถ้าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการเลี้ยงสัตว์ก็สามารถนำมูลสัตว์มาผลิตเป็นแกสชีวภาพ แล้วส่งต่อให้กำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบใช้แกส ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ได้ในสถานศึกษาช่วยลดภาระค่ากระแสไฟฟ้าได้จำนวนมาก

การออกแบบผลิตแกสชีวภาพแล้วส่งไปผลิตไฟฟ้า ต้องใช้เทคโนโลยีที่ใช้ได้ผลกันแล้ว ซึ่งต้องมีอุปกรณ์สำคัญ เช่นหัวจ่ายแกสจากบอหมัก จะต้องมีเครื่องสูบเศษอาหารมูลสัตว์เพื่อมาบดให้ละเอียดเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาในการหมักได้ดี และมีมอเตอร์ดูส่วนที่ไม่ต้องการไปทิ้ง และส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือส่วนที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนจากแกสไปเป็นไฟฟ้า ซึ่งแน่นอนว่าก็คือโรงผลิตกระแสไฟฟ้านั่นเอง ที่ใช้แกสชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในการลงทุนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยวิธีนี้นั้น ก็ต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ได้ หากในระดับที่ใหญ่ขึ้นก็อาจใช้งบประมาณในการดำเนินการอาจสูงถึงสิบกว่าล้าน ที่เมื่อเทียบกับผลที่ได้รับก็ยังนับว่าคุ้มค่าอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเป็นมหาวิทยาลัยแรกๆ ที่ได้ก่อสร้างติดตั้งโรงไฟฟ้าแกสชีวมวล ซึ่งได้ช่วยแบ่งเบาค่าพลังงานไฟฟ้าได้มากโขอยู่แม้ว่าจะไม่สามารถใช้ทดแทนได้ทั้งหมดก็ตาม น่าติดตามศึกษา เพราะสถาบันการศึกษาเราก็มีน้ำเสียที่ปล่อยทิ้งไปโดยไม่ได้บำบัด ถ้าหากได้บำบัดโดยการนำมาผลิตเป็นแกสชีวภาพแล้ว นอกจากได้พลังงานไฟฟ้าแล้วยังช่วยบำบัดน้ำเสียไม่ให้เป็นจำเลยของสังคม ที่ว่ามหาวิทยาลัยเป็นตัวการทำให้เกิดน้ำเสียบริเวณใกล้เคึยงมหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น