ผัสสะที่บอกว่าเป็นช่องทางรับรู้รับทราบ ผ่านทางอายตนะทั้งห้าของมนุษย์คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายหรือผิวหนัง และใจ ผัสสะจึงแปลว่ากระทบกับสิ่งที่จะมาทำให้รับรู้ได้ด้วยอายตนะดังกล่าว ในพุทธศาสตร์นั้นใส่คำว่าใจเพิ่มเติม ซึ่งวิทยาศาสตร์จะไม่นำมาใส่ไว้ตอนนี้ จึงไม่อาจเรียกว่าอวัยวะทั้ง 5 เพราะใจอาจไม่ใช่เป็นอวัยวะที่เป็นรูปธรรม แต่เป็นนามธรรม
เมื่อมีสิ่งมากระทบดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกที่ทำให้เรารับรู้ได้ การเกิดอาการทางจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ใจจะเป็นผู้รับรู้ รับรู้ในเรื่องนามธรรมที่ไม่สามารถแตะต้องสัมผัสได้เกี่ยวเนื่องกับการคิด ควมมรู้สึกทั้งหมดรวมเรียกว่าวิญญาณ จึงใช้คำว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และมโนวิญญาณ เมื่อมีการรับรู้ มีความรู้สึกทำให้เกิดมีการกระทำ ทั้งที่ดีและไม่ดี จึงสรุปได้ว่า การกระทำทุกอย่างเนื่องด้วยผัสสะ การกระทำก่อให้เกิดกรรม เพราะเมื่อถูกใจ และไม่ถูกใจของแต่ละคนก็เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการกระทำนอกเหนือจากการตอบสนองตามธรรมชาติเหมือนกัน จึงมีกรรมดี กรรมชั่ว กรรมไม่ดีไม่ชั่ว กล่าวอีกอย่างได้ว่า กรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นปัจจัย ในทางโลกนั้นถ้าถูกใจมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความอยากที่จะทำตามความรู้สึกอยากได้อยากเอาก่อให้เกิดความโลภ ไม่ถูกใจก็ก่อให้เกิดความโกรธไม่พอใจ และก่อกรรมในทางทำลายล้างได้ จึงมีคำใช้อีกคำที่เรียกว่า กรรมไม่ดีไม่ชั่ว แต่ก็เป็นกรรมอยู่ดี สำหรับคนที่จะดำเนินชีวิตสู่เป้าหมายสูงสุดก็คงต้องควบคุมไม่ให้เกิดผัสสะและอยู่เหนือกรรมทั้งปวง
ในทางจิตวิทยาได้มีผู้ตั้งเป็นทฤษฎีไว้อย่างสั้น อาจจะไม่ละเอียดเหมือนทฤษฎีทางพุทธศาสตร์ ทฤษฎีที่ว่านี้บางทีก็เรียกว่าพีรมิด บางที่เรียกว่าทฤษฎี abc บางที่ก็เรียกว่าสามขา โดยหลักสำคัญจะใช้คำว่าสิ่งมากระทบว่าสิ่งที่มากระตุ้นหรือสิ่งเร้าที่จะก่อให้เกิดความรู้สึก เช่นได้เช่นเสียงดังแบบต่างๆ เป็นตัวกระตุ้น ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกตามที่เคยเรียนรู้มาแล้ว อาจตกใจกลัว รักชอบ ซึ่งทุกคนจะต้องคิดก่อนที่จะมีการกระทำจะหนี หรืออยู่เฉยๆ หรือจะเข้าไปหาไปดู ซึ่งส่งผลต่อการกระทำ โดยสรุป มีหลักว่าต้องมีความรู้สึก คิด และกระทำ จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ แต่น่าจะยกเว้นกลไกในการป้องกันตัวที่ไม่ทันได้คิด ก็มีการกระทำบางอย่างเกิดขึ้น หรือกล่าวอีกอย่างว่ามีอยู่แล้วในจิตใต้สำนึกของแต่ละคน และทฤษฎีสามประสานนี้ เรานำมาใช้ในการเรียนการสอน ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการกระทำ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก
สำหรับเป้าหมายสุดท้ายที่พูดถึง การจะให้เกิดผัสสะหรือไม่เกิดผันสะนั้น เป็นเรื่องของความตั้งใจที่จะให้เกิดหรือไม่ให้เกิด ซึ่งไปสอดคล้องกันพอดีกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ใช้คำว่าเข้าไปสังเกตหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาก โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ อย่างไอน์สไตย์และชเรอดิงเงอร์ ต่างก็เกิดความรู้สึกคนละแบบ โดยกลุ่มของไอน์สไตย์มีความเชื่อว่าสรรพสิงยังคงอยู่ตามที่มันเป็นแม้ว่าจะไม่สังเกตมัน หมายถึงว่ายังคงมีโลก ดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ฝ่ายชเรอดิงเงอร์นั้นบอกว่าตามทฤษฎีควอนตัมนั้นเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีหรือไม่ คงอยู่หรือไม่คงอยู่จนกว่าเราไปสังเกตมัน ในกรณีโลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เราไปสังเกตมันแล้วและบอกว่ามันคงอยู่ ต่างฝ่ายก็ยืนยันความคิดของตนเอง ตามหลักพุทธศาสตร์จึงเป็นไปในทางเดียวกับของชเรอดิงเงอร์มากกว่า ในเรื่องนี้ชเรอดิงเงอร์ได้พยายามอธิบายโดยยกตัวอย่างการทดลองในความคิดที่เรียกว่า แมวของชเรอดิงเงอร์ (schrodinger's cat)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น