คำว่า "พุทธิปัญญา" ทางจิตวิทยาเป็นศัพท์ที่แทนการรู้คิดหรือการคิดทุกชนิด ตั้งแต ความใส่ใจ(attending) การรับรู้(perception) การระลึกได้หรือจำได้(remembering) การคิดอย่างมีเหตุผล(reasoning) การจินตนาการหรือการวาดภาพในใจ(imaging) การคาดการณ์ล้วงหน้าหรือการมีแผนรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น(anticipating) การตัดสินใจ(deciding) การแก้ปัญหา(problem soving) การสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นอกจากนี้ พุทธิปัญญายังรวมถึงกระบวนการทางจินตนาการสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัว เช่น การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ(clssifying) และการตีความหมาย(interpreting) กระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เราคิดในใจเหมือนกับความฝันและจินตนาการต่างๆ รวมทั้งเนื้อหาของกระบวนการเหล่านี้เช่น ความคิดรวบยอด(concepts) ความจริง(facts) และความจำ
.............นักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ(Cognitivism) เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มากกว่าผลของการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า-การตอบสนอง โดยให้ความสนใจในกระบวนการภายในที่เรียกว่า ความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิดของมนุษย์ โดยเชื่อว่าการเรียนรู้จะอธิบายได้ดีที่สุดหากเราสามารถเข้าใจกระบวนการภายใน ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การเรียนรู้ตามแนวคิดของกลุ่มความรู้ความเข้าใจมีรากฐานอยู่บนแนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ ซึ่ง แนวคิดพื้นฐานของกลุ่มเกสตัลท์พุ่งไปที่เรื่องการรับรู้โดยเห็นว่าการรับรู้ เป็นกระบวนการของการเรียบเรียงประสบการณ์และข้อสนเทศและจัดให้เป็นรูปร่าง และโครงสร้างที่มีความหมาย แล้วจึงแสดงอาการตอบสนองซึ่งการตอบสนองใหม่ที่เกิดขึ้น ก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ได้จากการเรียนรู้ (กุญชรี ค้าขาย,2540)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น