การคิดเชิงระบบ (system thinking) ยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน เหมือนกับทำให้คิดว่าการคิดเชิงระบบที่แท้กับไม่แท้ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าการคิดแบบใดต่างก็อ้างว่ามองอย่างเป็นระบบทั้งนั้น แม้แต่ตามแนวคิดของนิวตันเองก็มองทุกอย่างเป็นระบบ เพราะการที่จะคิดให้อะไรเป็นระบบนั้น มองที่มีองค์ประกอบตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาสัมพันธ์กัน แต่จะพิจารณาให้ครอบคลุมมากน้อยแค่ไหนนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ แนวคิดกระแสหลักแบบนิวตันนั้นพิจารณาว่าเป็นการมองแบบแยกส่วน แล้วมาพิจารณาแต่ละส่วนที่แยกไปศึกษาว่าเป็นระบบ ซึ่งดูเหมือนว่าทำให้ง่ายต่อการศึกษา ตัดขาดความสัมพันธ์ส่วนอื่นๆ ไป ต่อมาพบว่าการศึกษาในลักษณะนี้นั้นจะพบว่ามีข้อผิดพลาดตามมาเสมอแม้ว่าจะตรวจสอบอย่างดีแล้วก็ตาม ประกอบกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 เริ่มจะมีแนวคิดที่ต่างออกไปในการศึกษาตามวิธีของนิวตัน ซึ่งพบว่าทำให้ได้ความรู้ที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น และเทอมที่ได้ตามมาก็คือการมองที่เป็นระบบที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้การคิดเชิงระบบที่แตกต่างไปจากเดิม จนมีนักวิชาการใช้คำว่าวิธีคิดกระบวนระบบ หรือเชิงนิเวศวิทยา
ในวิธีคิดกระบวนระบบหรือนิเวศวิทยานั้น เป็นวิธีการที่คิดให้มองในสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาตามปกติ แต่อาจต้องใช้ตาปัญญาที่มองด้วยใจที่ใช้ปัญญา เมื่อลงลึกไปในด้านจิตแล้วการจะมองได้เช่นนั้นก็จะต้องฝึกจิตให้นิ่งในสภาวะที่ผ่อนคลายและสงบ ในมุมมองใหม่จะเป็นการยกระดับความคิดให้สูงขึ้น โดยการมองความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสรรพสิ่งทำให้เกิดความเข้าใจ และมีการพัฒนาด้านในอยู่ตลอดเวลา ที่อาจข้ามเลยพ้น ความต้องการด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว ทำให้เราได้ฝึกคิดถึงสิ่งต่างๆแบบเชื่อมโยง แบบองค์รวม มองแบบภาพรวม โดยมองเห็นภาพรวมทั้งหมดเพื่อช่วยให้เราคาดการณ์ และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ทั้งระบบไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องการแนววิธีการของกลศาสตร์ควอนตัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น