หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

การเข้าใจผิดมโนทัศน์และทฤษฎีเปียอาเจต์

เมื่อคนเราเข้าใจอะไรมาผิดๆ แล้วยังยึดติด ยึดถือสิ่งที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้น แล้วคิดว่าถูกต้องด้วยมีความเชื่ออย่างหนักแน่น เปรียบได้เหมือนกับการถูกล้างสมองแล้วใส่ความคิดที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวลงไป จนยากที่จะถอดหรือเปลี่ยนความเชื่อความคิดดังกล่าว ที่กล่าวมาแล้วนั้นหมายถึงมโนทัศน์ที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นอย่างไร สำหรับนักเรียนทุกวัยยึดเหนี่ยวอยู่กับคำอธิบายที่ทำให้เข้าใจสำหรับพวกเขา และต่อต้านเรื่องใหม่หรือแนวคิดที่แตกต่างออกไป ตรามเท่าที่ความคิดเดิมที่มีอยู่ยังใช้งานได้อยู่

เมื่อเราท้าทายเด็กนักเรียนต่อการที่เขายังเข้าใจผิดมโนทัศน์อยู่ เพื่อให้เขากลับมาเข้าใจมโนทัศน์ที่ถูกต้องเราต้องทำมากกว่าการเพียงให้ ประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติ เรายังจำต้องให้ผู้เรียนต้องคิดทำความเข้าใจให้สมองทำงาน (brain on) โดยให้ประสบการณ์ลงมือปฏิบัติซ้ำๆ คล้ายคลึงกัน ให้สำรวจเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไม่ลงรอยกัน และการอภิปรายถึงความชอบความประทับใจ และแนวความคิดที่ไม่ถูกต้อง การกระทำในลักษณะนี้เราจะจัดหาเส้นทางตรงๆ ที่สามารถจะเข้าใจได้สำหรับเด็กๆ ที่จะสร้างมโนทัศน์ได้อย่างละเอียดถูกต้องมากขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้นภายใต้ทฤษฎีของเปียอาเจต์ในการพัฒนาการทางสติปัญญา ก็คือสิ่งมีชีวิตไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์จะมีโอกาสที่จะอยู่รอดได้ ถ้าสามารถจัดการสร้างระเบียบแบบแผนขึ้นในท่ามกลางประสบการณ์ เมื่อเราตัดสินใจว่าจะกระทำอย่างไร เราทำภายใต้ฐานของอะไรที่เรารู้มาแล้ว ไม่ได้อยู่บนฐานว่าโลกอาจจะเป็นอะไรโดยตัวเอง ความเข้าใจเป็นบางสิ่งที่เราทุกคนจะต้องสร้างขึ้นสำหรับตัวเราเอง

อาการคิด (operation) ตามทฤษฎีของเปียอาเจต์เป็นผลพวกของการสะท้อนการคิดและการเข้าใจเชิงนามธรรม คำว่าสะท้อนความคิด (reflection) มีความหมายหลักสองอย่างในการใช้ในภาษาอังกฤษตามปกติธรรมดา อย่างแรกหมายถึงกิจกรรมทางจิต (mental activities) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนให้เกิดการคิดที่รู้สำนึก (conscious thought) นั่นคือไม่ได้ต่างไปมากจากการพิจารณาไตร่ตรอง (pondering)

อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของอารมณ์ความรู้สึก หรือการกระทำที่เคลื่อนไหว (motor action) หรือตัวแทนองค์ประกอบเช่นนั้น อันแสดงรูปร่างหรืออุปมาที่เหมือนกับการอาการทางจิตที่ ให้ความสัมพันธ์ ประสานงาน ให้ข้อสรุป ดังที่นักปรัชญาบางคนกำหนดลักษณะสั้นๆ ว่าเป็นอาการทางจิต (operation of mind)

ตามทัศนะการสร้างความรู้ (constructivist) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำและเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่กิจกรรมต่างๆที่จะต้องทำให้บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานะการณ์แวด ล้อมทั้งหมด อันเป็นประสบการณ์ของบุคคลดังกล่าว ในเทอมของเปียอาเจต์ เป็นกระบวนการโดยวิธีการที่มโนทัศน์และชนิดมโนทัศน์เช่นนั้นจะได้การสรุป เชิงประจักษ์ นั้นเท่ากับกล่าวได้ว่าเป็นข้อสรุปจากประสบการณ์จากประสาทสัมผัส และกระทำเคลื่อนไหว (sensory and motor) ส่วนข้อสรุปจากการสะท้อนความคิดเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่หาได้จากการกระทำและ การคิดจากใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น