หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ควันหลงจากการเลือกตั้งสว.

ผลจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่เปลียนระบบการเลือกสว.หรือสมาชิกสภาใหม่หลายอย่าง และแม้จะผ่านการลงประชามติแล้วก็ตาม ซึ่งก็น่าจะมีคนเห็นด้วยมากกว่าที่ไม่เห็นด้วย แต่คนไม่เห็นด้วยก็มีอยู่ค่อนครึ่งเหมือนกันก็มีปฏิกิริยาออกมาให้เห็นในรูปต่างๆ


รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้มีทั้งสว.ที่เลือกตั้งและแต่งตั้ง ที่มีปัญหาก็เพราะในรัฐธรรมนูญเมื่อก่อนนั้นจำนวนสว.ตามจำนวนพลเมืองจังหวัดใหญ่ที่มีพลเมืองมากก็จะมีจำนวนสว.มากกว่า แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีจังหวัดละ 1 คน คล้ายๆ กับระบบรัฐสภาอเมริกันที่มีสมาชิกวุฒิสภารัฐละ 1 คนเช่นกัน และระบบเขาเป็นเช่นนั้นมาน่าจะเกือบร้อยปีแล้ว แต่พอเมืองไทยมาทำบ้างก็มีอาการไม่เห็นด้วยหลายอย่าง

คนที่ไม่ยอมรับก็บอกว่าผิดธรรมชาติกรุงเทพจังหวัดตั้งใหญ่เลือกได้คนเดี่ยว เช่นเดียวกับจังหวัดใหญ่ทั้งหลายอาจมีผู้ออกอาการเช่นนี้ เหมือนที่นายกคนปัจจุบันก็เคยพูดไว้ว่ารัฐธรรมนวยอะไรทำนองนั้นผู้เขียนก็จำไม่ได้ บางคนก็ว่าเฮงซวย และด้วยกติกาปลีกย่อยเช่นไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่างน้อย 5 ปี ก็ยิ่งทำให้คนที่รู้จักคุ้นหน้ามาสมัครไม่ได้ก็เกิดอาการบ่นอีกว่า ไม่ค่อยจะรู้จักผู้สมัคร เพราะมีผู้สมัครใหม่โนเนมมากมาย หลายคนบ่นว่าไม่รู้จะเลือกใครไม่รู้จัก ก็เลยมีคนไปถามกกต.ท่านหนึ่งท่านก็มีข้อเสนอแนะให้ไปค้นรายชื่อผู้สมัครสว.ที่ว่าไม่รู้จักทางอินเตอร์เนตใช้กูเกิล หรือยาฮู (เครื่องมือการค้นgoogle or yahoo) แล้วเข้าไปดูก็จะรู้ตั้งแต่ประวัติทำอะไรไว้ที่ไหนมากน้อย เคยไปทำคุณประโยชน์ไว้ที่ไหนบ้าง ก็จะได้ตัดสินใจได้ไม่ยากว่าจะเลือกใคร

ผู้เขียนเห็นด้วยที่เราจะศึกษาผู้สมัครเสียก่อนได้ ก็จะได้รู้ว่าเป็นคนอุ่ทิศตัวเพื่อส่วนรวมหรือเปล่า หลอกกันได้ยากขึ้นจะมาย้อมแม้วกันในเร็ววันนะยาก แต่ก็นั่นแหละมีหลายคนยังไม่เข้าถึงอินเตอร์เนตมีมากกว่าที่มีเสียอีก ก็ต้องสนับสนุนกันอย่างไรให้คนใช้อินเตอร์เนตกันเยอะๆ ดังเช่นประเทศเกาหลียายอายุ80กว่าก็ยังใช้อินเตอร์เนตติดต่อกับลูกหลานที่อยู่ต่างประเทศได้ ยิ่งคนใช้อินเตอร์เนตกันมากเท่าใดเราน่าจะได้ สส สว. ที่คุณภาพดีขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ว่าการเลือกสว.เที่ยวนี้กลุ่มที่เล่นอินเตอร์เนตที่เป็นหนุ่มสาวเทคะแนนให้คนที่มีผลงานส่วมมากกว่า ดูผลการเลือกสว.บ้านเราก็แล้วกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น