หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เวลาจิตและเวลาตามนาฬิกา

จิตในทางตะวันตกอาจจะหมายถึงการคิดที่สมอง จิตที่ใกล้เคียงกับความคิดทางตะวันออกอยู่บ้างในกรณีที่ สตีเวนฮอคิง(นักวิทยาศาสตร์ทฤษฎีฟิสิกส์ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง) พูดถึงเวลาจิตเป็นเวลาในการจินตนาการ โดยให้ความเห็นว่าเวลาในการจินตนาการคือเวลาจริง ส่วนที่เรียกว่าเวลาจริงตามนาฬิกาเป็นเรื่องสมมุติที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดปรากฏการณ์บนโลก แต่เวลาที่แท้จริงคือเวลาที่ปรากฏในจิตใจของเรา เราสามารถเข้าถึงเวลาได้ด้วยจิต ตามทฤษฏีสัมพันธภาพสามารถพิสูจน์ได้ด้วยจิต แต่สามารถรู้ได้เฉพาะตน ในทางพุทธศาสนา ได้ชี้ทางค้นพบสัจธรรมความจริงแท้ของจักรวาลด้วยการฝึกใช้สติสัมปชัญญะ ควบคุมจิต ให้จิตนิ่ง จิตที่มีสมาธิ จะทำให้เวลาจิตเดินช้าลงเมื่อเทียบกับเวลาภายนอก


อัตราการเกิดดับ ของกาย เวทนา แปรผันตามเวลาภายนอก ดังนั้นในการกำหนดจิตพิจารณาการเกิดดับ ยิ่งจิตนิ่งเท่าใดก็จะเห็นการเกิดดับเร็วเท่านั้น จนในที่สุดการเกิดดับซ้อนทับกันเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน นั่นก็คือไม่มีการเกิดดับอีกต่อไป ซึ่งที่เวลานั้นเวลาภายในจิตจะหยุดนิ่งสนิท จะเข้าใจในสรรพสิ่งของทั้งจักรวาล ศาสตร์ไม่ว่าสาขาใดจะเกิดการหยั่งรู้ เข้าใจหมด รวมไปถึงการเข้าใจกฏแห่งกรรม ปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา เข้าใจถึงธรรมทุกข้อที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ผ่านทางภาวนาปัญญาญาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น