หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แคลเซี่ยมกับสุขภาพ

เมื่อปีที่ผ่านมาได้ไปติดตามผลการตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาลมหาราช และในวันนั้นก็ได้มีบริการตรวจมวลกระดูกด้วยเครื่องมือสมัยใหม่อัตโนมัติ แค่เอาเท้าไปวางที่แป้นวางของเครื่องซึ่งทาสารเคมีบางชนิด แล้วเครืองก็วัดออกมาเป็นตัวเลขที่มีตารางเทียบว่ากระดูกเป็นอย่างไร และเทียบออกมาได้ว่ามวลกระดูกเทียบได้กับคนหนุ่มอายุ 20 หรือเทียบได้กับคนแก่อายุ 80 ถ้าเทียบกับคนแก่นี่แสดงว่าขาดแคลเซี่ยมเป็นอันตรายที่กระดูกจะเปราะแตกหักง่ายต้องระวัง เขาก็แนะนำให้เสร็จว่าควรจะรับประทาน แคลเซี่ยมเสริม


ปกติเราทราบกันว่าแคลเซี่ยมเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน และเราได้แคลเซี่ยมจากอาหารหลายชนิด จากอาหารทะเลโดยเฉพาะปลา และในอาหารประเภทนม หรือพวกโดโลไมท์และโบลมีล อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่ามีคนเป็นจำนวนมากที่เป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกหด การปวดเมื่อยต่างๆ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดน่อง กล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุก การปวดประจำเดือน และแม้แต่การเป็นตะคิวตอนกลางคืน ซึ่งส่วนใหญ่เนื่องมาจากขาดแคลเซี่ยมตามรายงานในวารสารด้านสุขภาพต่างๆ

จากการศึกษาพบว่าความเคลียดสัมพันธ์กับการขาดแคลเซี่ยม และเป็นสาเหตุให้บางคนพูดติดอ่างมากขึ้นได้ เมื่อให้รับประทานแคลเซี่ยมมากขึ้นก็ทำให้อาการติดอ่างลดลง และทำให้หลับง่ายขึ้น อาการนอนไม่หลับครึ่งหลับครึงตื่นเป็นประจำก็อาจมีผลมาจากการขาดแคลเซี่ยม นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่เป็นโรคปวดหัวรุนแรงบรรเทาลงและหายได้เมื่อรับประทานแคลเซี่ยมควบคู่ไปด้วย

นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับการใช้แคลเซี่ยมช่วยในการบรรเทาจากโรค ปาร์กินสัน โรคประสาท โรคอ่อนเพลีย สายตาไม่ดี การบังคับตัวเอง การหมุนเวียนของโลหิต การวิงเวียนศีรษะ การหกล้มบ่อยๆ การฟกช้ำดำเขียว โรคผิวหนังด้านแข็ง (multiple sclerosis) จะเห็นว่าการรับประทานแคลเซี่ยมเสริมเป็นเหมือนกับการป้องกัน และยาสารพัดโรคจึงควรให้ความสำคัญกับอาหารที่มีแคลเซี่ยมและการเสริมแคลเซี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นผู้มีอายุมากขึ้นเลยวัยกลางคน


ที่มา สรุปจากวารสารอาหารและสุขภาพ โดยพอ.หญิง ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น