หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กระบวนทัศน์แบบกลไก

แนวคิดแบบกลไกหรือเครื่องจักรกลมาจากกระบวนทัศน์แบบนิวตัน ที่ใช้กันมาสามร้อยกว่าปีจึงทำให้เราทราบว่ายังมีข้อบกพร่อง และเมื่อนำมาใช้ในกระบวนการอื่นๆ ที่นำให้เราเชื่อว่า การศึกษาแบบแยกส่วน ที่แยกศึกษาในส่วนเล็กย่อยลง หรือแยกออกจากกัน เป็นหนทางที่จะนำไปสู่การเข้าใจภาพรวมทั้งหมดได้ และมีความเชื่อว่าทำให้สะดวก ง่ายต่อการศึกษา ทำให้มองข้ามความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งสะสมทำให้เกิดปัญหามากมายในปัจจุบัน
แนวคิดแบบแยกส่วนยังได้กระจายขยายไปถึงระดับปัจจเจกบุคคล มีส่วนก่อให้เกิดการสับสนทางความคิด ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ทำให้มองสิ่งต่างๆ คับแคบปราศจากความเชื่อมโยง มองปัญหาไม่รอบด้าน แก้ปัญหาไม่ครอบคลุม ไม่ครบองค์ประกอบ จนเป็นที่มาของการทำงานแบบพายเรือในอ่าง และมองไม่เห็นการแก้ปัญหาส่วนใหญ่ในภาพรวม
จากมุมมองแบบเครื่องจักรของนิวตันและเดส์การ์ดนำไปสู่ความเชื่อที่ว่า การศึกษาแบบแยกส่วนออกจากกันเป็นกุญแจในการเข้าใจภาพรวมทั้งหมด สิ่งต่างๆจึงถูกแยกออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าองค์ประกอบทางการศึกษา ทางธุรกิจ วิชาสาขาต่างๆ ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ และนำกลับมารวมกันใหม่ โดยไม่มีชิ้นส่วนสำคัญที่หายไป อยู่ภายใต้สมมุติฐานที่ว่า ยิ่งเรามีความรู้เกี่ยวกับการทำงานแต่ละส่วนมากเพียงใดก็จะทำให้เราเข้าใจภาพรวมมากเท่านั้น
วิทยาศาสตร์แบบนิวตันเป็นการศึกษาแบบวัตถุนิยม โดยพยายามที่จะทำความเข้าใจโลกโดยมุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ โดยอาศัยประสาทสัมผัสต่างของร่างกาย ดังนั้นสิ่งใดเป็นจริงต้องมองเห็นและจับต้องได้ นักฟิสิกส์พยายามหาองค์ประกอบพื้นฐานของสสารโครงสร้างทางกายภาพอันเป็นจุดกำเนิดของทุกสิ่ง สำหรับวิทยาศาสตร์ใหม่จะแตกต่างออกไปที่มุ่งสนใจไปยังองค์รวมมากกว่าการแยกเป็นส่วนๆ ระบบต่างๆ ถูกมองเป็นภาพรวม ทำให้เกิดความสัมพันธ์เกิดขึ้นในเครือข่ายต่างๆ



อ้างอิง ผู้นำกับวิทยาศาสตร์ใหม่ โดยเจเนต วีตเลย์


...........................................................................................................................

ผู้เขียน : นายหัสชัย สิทธิรักษ์

แก้ไขล่าสุดเมื่อ : [11-09-2552]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น