หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

5 ส. กับการพัฒนา

วันนี้ได้ฟังพนักงานมหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง เมื่อพูดถึงเรื่องการวิจัย ในการสนทนาคำพูดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ว่า ทำอะไรก็ต้องมีรากฐานอย่าข้ามขั้นถ้างานนั้นเป็นงานหลักและสำคัญ โดยอ้างคำพูดของศาสตร์จารย์กูรุที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งที่ว่า การสร้างตึกอาคารทุกหลังยังต้องมีฐานราก หรือมีการตอกเสาเข็ม อาคารนั้นจึงมีความมั่นคงอยู่ได้อย่างปลอดภัย จึงทำให้นึกถึง หลายเรื่องที่เราทำอยู่ในชีวิตประจำวัน ว่ามีเรื่องอะไรเป็นเรื่องหลักที่สำคัญ ถ้าพบว่ายังไม่มีพื้นฐานไม่มีรากก็จงทำให้มี และให้พัฒนาเสริมแต่งต่อไปจากนั้น เหมือนกับที่เราพูดกันอยู่เสมอ ว่าจะต้องมีทางทำให้ดีขึ้นได้เสมอ เหมือนกับพูดว่าต้องทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีเสียงสะท้อนว่ามีบางอย่างหรือหลายอย่างไม่ได้พัฒนา ขึ้น ตามที่ควรจะเป็น


สำหรับหน่วยงาน หรือสถาบันของเราอาจมีเสียงสะท้อน หรือมีหลักฐานจากการตรวจประเมิน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่บอกให้ทราบว่ามีอะไรบกพร่อง เช่นห้องน้ำห้องท่า โรงอาหาร ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำอาหาร ของโรงอาหารที่ไม่ผ่านการประเมินบางอย่าง หรือไม่ผ่านการประเมินในด้านคุณภาพการศึกษา คุณภาพบัณฑิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่อยากจะให้มีการปรับปรุง นอกจากนี้ยังน่าจะมีเรื่องอื่นๆ ที่เราอาจไม่ตระหนักว่าสำคัญ

บางสถาบันการศึกษาได้นำเอาระบบคุณภาพมาใช้ ในการจัดการ แม้แต่พื้นห้องน้ำพื้นโรงอาหารมีการกำหนดว่าจะต้องใช้สีขาวเท่านั้น เขาให้เหตุผลว่าถ้ามีอะไรสกปรกจะทำให้มองเห็นได้ทันทีที่ผู้รับผิดชอบจะต้อง ลงมาดูแลแก้ไขได้ทันที ทำให้เห็นได้ชัดตรวจสอบได้ง่ายนั่นเอง ทำให้นึกว่าสถาบันเราก็ประกาศให้ทำ 5 ส.กันแล้วนั้นถือว่าเป็นรากฐานเป็นฐานรากที่สำคัญของทุกเรื่อง ถ้าหากทุกหน่วยงานนำมาใช้นำมาปฏิบัติทำอย่างจริงจัง ให้มีการลงมือกระทำนอกจากการประกาศนโยบายเพียงอย่างเดียว แล้วจะเห็นผลการพัฒนาที่มั่นคง คงจะแก้ปัญหาได้หลายอย่าง เพราะในขั้นหนึ่งของการทำ 5 ส.นั้นจะต้องมีการแบ่งพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องดูแล มีอะไรที่เป็นข้อบกพร่องในพื้นที่ที่รับผิดชอบ จะต้องรีบแก้ไขโดยทีมงานที่รับผิดชอบ นอกจากนั้นก็ต้องคิดหาวิธีว่าให้สิ่งต่างๆ ในพื้นที่ี่ ที่รับผิดชอบตามที่ตกลงกันไว้ ปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร ตามหลักการคุณภาพอย่างหนึ่งที่ว่า งานทุกอย่างสามารถที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เข้าสู่จุดที่เป็นมาตรฐาน

ในงานนี้ทุกคนควรจะได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและพัฒนา พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยการช่วยกันคิดวางแผน คิดสร้างกระบวนงาน ในการแก้ปัญหาแก้ไขสิ่งบกพร่อง ในการรักษาสิ่งที่ดี และพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และที่สำคัญเหนืออื่นใดก็คือ การให้ได้มาซึ่งข้อตกลงทั่วทั้งสถาบัน ที่จะต้องมีหลักเป็นเอกภาพ หากทุกคนเข้าใจว่าเป็นผลดี มีประโยชน์แก่ตนเองและผูอื่นส่วนใหญ่คงไม่มีใครที่จะขัดข้อง อยากยกคำท่าน ม. วชิระเมธี ที่ได้กล่าวเตือนสติสังคมว่า เมื่อท่านได้อะไรไป (ลาภ ยศ สรรเสริญ) ก็จงมองให้ลึกลงไปว่า มีผู้อื่นเสียอะไรไปบ้างเป็นอุทาหรณ์ ชี้ให้เห็นว่าเรามีความสัมพันธ์กันโยงใยกัน ไม่มีใครที่จะอยู่ได้อย่างโดดเดียวโดยไม่มีผู้ใดเข้ามาเกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น