หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของสัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ชนิด ดูภายนอกแล้วแตกต่างกันมากเช่น งู จระเข้ เต่า และ กิ้งก่า แต่ก็คล้ายคลึกกันในหลายประการ สัตว์เลื้อยคลานมีผิวหน้งแห้งมีเกล็ด เกล็ดของมันมีทั้งแบบแข็งและอ่อนนุ่ม เล็กหรือใหญ่ก็ได้ ด้วยกระดูกและเกล็ดขนาดใหญ่ทำให้เต่ามีเปลือกหุ้มแข็งที่เรียกว่ากระดอง ส่วนที่มีเกล็ดอ่อนนุ่มทำให้ผิวหนังของงูลื่นมัน


งูสามารถลอกคราบชั้นของผิวหนังออกไปเมื่อมันมีขนาดโตขึ้น เวลางูเริ่มต้นลอกคราบ งูจะเอาหัวของมันถูกับวัตถุแข็ง แล้วค่อยๆ ลอกออกไปได้ผิวใหม่สะท้อนแสงให้เห็นอยู่ใต้ผิวหนังเก่าที่กำลังลอกออก ส่วนกิ้งก่ามีผิวหนังเป็นเกล็ดด้วยเหมือนกัน มันสามารถที่จะเปลี่ยนสีผิวของมันเมื่ออากาศร้อนหรือหนาว หรือเมื่อตื่นตกใจ

สัตว์เลี้อยคลานแทบทั้งหมดฝักออกมาจากไข่ สัตว์เลื้อยคลานทารกเกือบทั้งหมดคล้ายคลึงกัน ลูกเต่าทารกเปิดเปลือกไขออกมาด้วยฟันเล็กๆ ใกล้กับรูจมูกของมัน กัดเปลือกให้แตกออกมา โดยฟันนี้เรียกว่าฟันไข่ (egg tooth) งูที่เพิ่งออกจากไข่ และรวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานทารกทั้งหมดมีรูปร่างคล้ายพ่อแม่ของมันแทบทั้งสิ้น ต่างกันก็เพียงตัวเล็กกว่า

ลูกทารกจระเข้จะทิ้งรังที่วางไข่ไป หลังจากฝักออกมาเป็นตัว แล้วดั้นด้นไปหาแหล่งน้ำและอาหาร และมานอนตากแดดบนหลังของแม่ของมัน แสงอาทิตย์ที่อบอุ่นช่วยให้มันเติบโตขึ้นได้ดี สัตว์เลื้อยคลานแทบทั้งหมดค่อนข้างเงียบไม่ส่งเสียงมากนัก แต่จระเข้อาจจะเคลื่อนไหวส่งเสียงบ้าง โดยปล่อยเสียงฮิสซ์ (hisses) ขณะที่อ้าปากกว้าง ได้ยินเหมือนการคำรามเมื่อปิดปาก

สัตว์เลื้อยคลานไม่มีการเคี้ยวอาหาร แต่กลืนอาหารเข้าไปทั้งหมด แม้แต่งูผอมบางสามารถที่จะกลืนกบ เขียด ได้ทั้งตัว เช่นเมื่องูเขมือบไข่ใบโตเข้าไปในคอหอยทั้งหมดแล้ว งูก็จะทำให้ไข่แตก แล้วพ่นเปลือกไขออกมา สำหรับจระเข้มีฟันขนาดใหญ่ที่สามารถจับยึดอาหาร ส่วนเต่าไม่มีฟัน แต่มีขากรรไกรที่คมสำหรับจับบี้และตัดอาหาร สำหรับกิ้งก่าจับแมลงเช่นผึ้งกินเป็นอาหาร กิ้งก่าจับผึ้งโดยใช้ลิ้นอันยาวและมีสารเหนียวๆช่วยอีกแรง ขณะเดียวกันใช้หางพันชิ้นส่วนบริเวณใกล้เคียงกับที่ยืนพวกกิ่งไม้ไว้ไม่ให้ล่นตกลงไปขณะใช้ลิ้นพุ่งออกไปด้วยความเร็วสูงแล้วตะวัดม้วนลิ้นจับแมลงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น