หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คิดแบบรูปธรรมและนามธรรม

ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการคิดแบบรูปธรรมและนามธรรม และให้ลายละเอียดว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นผลงานจากทฤษฎีพัฒนาการของศาสตราจารย์ จีน เปียอาเจ และได้เป็นรากฐานของทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนในปัจจุบัน ทำให้เราแยกแยะได้ว่าเรื่องใดควรจะสอนในระดับชั้นใด


โดยทั่วไปเราสอนเด็กนักเรียนที่วัยน้อยกว่า 10 ปีนั้นเราจะใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมที่เห็นจริงจับต้องได้ช่วยให้นักเรียนสร้างความเข้าใจมโนทัศน์ต่างๆ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จึงมักใช้สื่อที่เป็นของจริงเป็นส่วนประกอบในการสร้างความเข้าใจวิธีการจะทดสอบว่านักเรียนคิดแบบรูปธรรมได้แล้วยังนั้น ก็ใช้การทดลองในงานของเปียอาเจ เช่นการทดลอง ความถาวรเชิงเส้น เชิงพื้นที่ และเชิงปริมาตร นักเรียนต้องบอกได้ว่าเมื่อเอาดินนามนันมาคลึงให้เป็นเส้นขนาดต่างๆ ต้องบอกได้ว่าดินน้ำมันยังมีขนาดเท่าเดิม และไม่ว่าเอาอะไรไปวางบนแผ่นกระดาษแข็งแล้วยกออกไป หรือเคลื่อนตำแหน่งแล้วนักเรียนบอกได้ว่า พื้นที่กระดาษแข็งนั้นยังเท่าเดิม ทำนองเดียวกันเมื่อเอาน้ำใส่แก้ว แล้วเอาเหรียญใส่ลงไปต้องตอบได้ว่าน้ำในแก้วนั้นยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ถ้านักเรียนมีความสามารถเชิงถาวรของสิ่งทีเป็นเส้น พื้นที่และปริมาณแล้ว ก็เชื่อได้ว่าเด็กมีการคิดแบบรูปธรรมได้ มีความพร้อมที่ก้าวไปสู่การคิดแบบนามธรรมได้

ในการคิดแบบนามธรรมนั้นถือว่าเป็นการคิดแบบผู้ใหญ่สามารถคิดในเรื่องตัว แปร การคิดในเรื่องสัดส่วน โอกาสความน่าจะเป็น และทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด และคิดในเชิงจิตนาการได้ เช่น อะไรจะเกิดขึ้น…ถ้า (what..if) และการคิดในเชิงทฤษฎีในความคิดเช่นทฤษฎีนิวเคลียร์อะตอมเป็นต้น

การศึกษาในปัจจุบันต้องการให้นักเรียนนักศึกษาคิดได้แบบผู้ใหญ่ให้เร็วๆ ซึ่งส่งผลให้คิดได้ด้วยตนเองที่เรียกว่าคิดเป็น หรือสามารถคิดได้อย่างมีเหตุผลเป็นตัวของตัวเองนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น