หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ภาษาดิ้นได้ในบริบทภาษาถิ่น

ได้เขียนไว้ในบล็อกภาษาดิ้นได้มาบ้างแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าได้ไปพบเจอใครใช้ ใครเล่าให้ฟังก็นำมาเล่าสู่กันฟัง ครั้งหนึ่งในวงสนนา ก็มักจะมีคำพูดว่า “ส่วน” เช่นในคำว่า ส่วนใหญ่ ส่วนมาก ส่วนน้อย ถ้าหากเราพูดเป็นสำเนียงภาษาปักษ์ใต้นั้น จะออกเสียง ส่วน เป็น สวน ทุกครั้งไป เพราะเสียงในคำ ส่วน นั้นไม่มีใช้ในสำเนียงภาษาปักษ์ใต้ คนที่ชอบมีอารมณ์ขันเกี่ยวกับภาษา ก็จะตีความหมายไปอีกอย่างเมื่อออกเสียงสำเนียงใต้ ส่วนใหญ่ มักจะพูดต่อว่าแสดงว่ารวยเพราะมีสวนขนาดใหญ่ แต่ถ้ามีผู้พูดว่า ส่วนมาก ในสำเนียงใต้ ก็พูดกันเล่นๆ อีกว่า ก็ยังรวยเพราะมีสวนหลายที่ .


สำหรับคนที่ไม่ใช้คนถิ่นใต้หรือไม่เคยมาอยู่มีอยู่หลายคำที่สร้างความสับสน ได้ และก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ดังที่เราเคยทราบว่าถ้าพูดคำว่าแหวนด้วยสำเนียงใต้ก็หมายถึง แว่นในภาษากลาง และถ้าพูดแว่นในสำเนียงใต้ก็จะหมายถึงแหวนในภาษากลาง เป็นต้น แต่ก็มีคำที่ออกเสียงแทบไม่ต่างกัน เช่น คำ คา ยัง เป็นต้น โดยเฉพาะคำว่า ยัง ความ หมายทางภาคใต้ใช้ในความหมายว่ามี ที่สร้างความสับสนในภาษากลางแปลว่าไม่มีก็ได้ เช่นในกรณีที่ถามว่า “มีเมียแล้วยัง” ถ้าทางใต้ตอบว่า ยัง แสดงว่ามีเมียแล้ว ถ้าคนภาคอื่นตอบจะตอบว่ามีหรือไม่มีเป็นต้น การใช้คำว่า ยัง ของ คนใต้ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับคนภาคอื่น เพราะทำให้มองว่าเป็นคนพูดโกหก คือคนภาคอื่นจะเข้าใจว่า มีเมียแล้ว ก็พูดเท็จว่ายังไม่มี จะทำให้คนใต้กลายเป็นคนเชื่อไม่ได้ไป ต้องชี้แจงกันอยู่บ่อยๆ แต่ก็มีคนใต้บางคนก็อาจกล่าวว่า รู้จักแล้วจะรักเอง เหมือนกับสส.ของเราคนหนึ่งขึ้นบอร์ดให้เห็นที่สามแยกหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น