หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์

เครื่องยนต์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นเครื่องยนต์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วนับ 100 ปีมาแล้ว และไม่เคยเปลี่ยนหลักการเลย และที่นิยมใช้มากที่สุดเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ลูกสูบและมีการสันดาป(เผาไหม้เชือเพลิง)ภายในลูกสูบ เกิดแรงไปผลักดัน เป็นแรงขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ และโดยหลักๆ จะมีเครื่องยนต์สองแบบ คือเครื่องยนต์แบบเบนซินหรือใช้กับน้ำมันเบนซิน และเครื่องยนต์ที่ใช้กับน้ำมัลดีเซล


หลักการของเครื่องยนต์เบนซินต่างกับเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซินจุดระเบิดจากหัวเทียน แตะดีเซลจุดระเบิดจากการอัดแรงดันสูง โดยทั่วไปประสิทธิภาพของเครื่องยนต์เบนซินประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เครื่องยนต์ดีเซลล์มีประสิทธิภาพประมาณ 40 เปอร์เซนต์ ซึ่งหมายถึงว่าในการเผาผลาญน้ำมันหรือแกสนั้นสามารถแปลงไปเป็นกำลังงานผลักดันของเครื่องยนต์ได้เพียง 35-40 เปอร์เซนต์เท่านั้น นอกนั้นสูญเสียไปในรูปของความร้อนความเสียดทาน

เครื่องยนต์จะมีกำลังมากกำลังน้อยนิยมวัดกันเป็นแรงม้า ซึ่งพบว่าเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่า(จำนวนซีซีของลูกสูบ) จะให้กำลังหรือแรงมาสูงกว่าแต่ไม่ได้หมายความว่าประสิทธิภาพจะสูงกว่าเสมอไป ซึ่งผู้ผลิตเครื่องยนต์มักจะแข่งขันกันองค์ประกอบรอบๆ ลูกสูบให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นระบบควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงและการจุดระเบิดเชื้อเพลิง การลดความเสียดทานของลูกสูบ การใช้โหละผสมมาทำเป็นลูกสูบเป็นต้น ซึ่งก็เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นได้บ้าง (ประสิทธิภาพที่สูงกว่าจะหมายถึงใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าแต่ให้กำลงงานออกไปมากกว่า หรือสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเท่ากัน แต่เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าจะให้กำลังงานมากกว่าถ้าเป็นรถยนต์จะวิ่งได้ไกลกว่าหรือเร็วกว่าที่ระยะทางเท่ากัน)

นอกจากนี้แล้วยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นพบว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในนั้นประสิทธิภาพจะลดลง 2 เปอร์เซนต์ที่ระดับสูงขึ้นทุก 1000ฟุต ในบริเวณเทือกเขาแอนเดสที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 12500 ฟุต รถยนต์จะสูญเสียกำลังไปถึง 30 เปอร์เซนต์ แล้วบางคนอาจจะสงสัยว่าที่เราโดยสารเครื่องบินไอพ่นที่บินที่ระดับสูงถึง 30000ฟุต แล้วจะทำให้กำลังงานเครื่องบินไอพ่นลดลงหรือเปล่า เท่าที่ทราบหลักการเครื่องยนต์ไอพ่นต่างกับเครืองยนต์ที่ใช้อยู่ทั่วไป และที่ระดับสูง 30000ฟุตแม้ว่าอากาศจะเบาบางกว่าแต่ส่วนผสมอาจจะเหมาะกับเครื่องยนต์มากกว่าจึงทำให้ผู้โดยสารรู้สึกว่านิ่มนวลกว่าที่ระยะต่ำที่มีอากาศแปรปรวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น