หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิจัยกับกาลามสูตร

วิจัยเพราะสงสัยอยากรู้ในสิ่งทียังไม่รู้ และสงสัยสิ่งที่รู้แล้วว่าจะจริงแท้แค่ไหน กาลามสูตรจึงไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ ให้สงสัยไว้ก่อน


เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าศาสนาพุทธนั้นสอดคล้องกับความคิดเชิงเหตุผลดังที่ปรากฏในปฏิจจสมุปบาท อันหมายถึงธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกันโดยอาศัยกัน ขณะเดียวกันพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงธรรมในการปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย นั่นก็คือให้สงสัยบนความมีเหตุและผลในพระสูตรที่ชื่อว่ากาลามสูตร

ในการศึกษาวิจัยนั้นเราคงต้องมีความสงสัยว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่า ซึ่งเป็นที่มาของความอยากรู้อยากเห็นอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่อยากรู้อยากเห็นก็คงไม่สงสัย ดังนั้นการศึกษาวิจัยก็เพื่อให้หายสงสัย หายอยากรู้ (แต่อาจไปอยากรู้เรื่องอื่นอีกไม่สิ้นสุด) เมื่อตอนที่เราทบทวนเอกสารว่าใครทำอะไรไว้ในเรื่องที่เราสงสัยแล้วบ้างไม่รู้จะเชื่อดีหรือไม่ก็ต้องหาวิธีการว่าที่เขาว่าไว้นั้นยังจริงอยู่หรือเปล่ายังถูกต้องอยู่หรือเปล่าเมื่อบริบทมันเปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับกาลามาสูตรคือ

อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังสืบๆ กันมา

อย่าปลงใจเชื่อด้วยการสืบต่อๆ กันมา

อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ

อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างคำภีร์หรือตำรา

อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ

อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน

และ...

มีทั้งหมด 10 ข้อยกให้ดูแค่ 6 ข้อเพราะเห็นได้ชัดเจน ดังนั้นการวิจัยจึงต้องลงมือคิดทำหาเหตุผล ลงมือปฏิบัติเพื่อ แก้ปัญหาให้หายสงสัย และให้รู้ในสิ่งที่ยังไม่มีใครรู้ และสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้แต่คนอื่นไม่รู้ ก็ไม่แน่ว่าถูกต้องจริง มั่นคงตลอดไปหรือไม่ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ก็เช่นเดียวกับที่เราเชื่อว่าวิทยาศาสต์แบบนิวตันถูกต้องสมบูรณ์ไม่มีข้อผิดพลาด 300 ปี ไอน์สไตย์มาชี้ให้เห็นว่านำไปอธิบายอนุภาคเล็กๆ ไม่ได้ต้องใช้วิทยาศาสตร์ใหม่ขึ้น ต้องนำทฤษฎีสัมพันธภาพมาเสริมแต่ง ต้องนำทฤษฎีควอนตัมมาอธิบายจึงจะให้ค่าถูกต้องยิ่งขึ้นสำหรับสิ่งที่มีขนาดใหญ่มากๆ และเล็กมากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น