หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สถานะการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ

เป็นที่ทราบกันดีและเป็นที่ยอมรับกันว่าการพัฒนาประเทศนั้นจะต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีก็ไม่ใช่อะไรอื่นก็คือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ ประเทศไหนที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้าก็จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรื่องประชาชนอยู่ดีกินดี เมื่อพิจารณาว่าเขาทำได้อย่างไรนั้น การศึกษาในระบบและนอกระบบเขาทำกันอย่างจริงจังให้ความสำคัญ มุ่งเน้นกันจริงๆ มีทั้งมาตรการเสริมและอื่นๆ อีกมากมาย ประเทศเกาหลีเคยมี นโยบายว่าใครเรียนวิชาอิเลคทรอนิกส์ให้สิทธิพิเศษไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ทำให้มีคนสมัครเข้าเรียนอิเลคทรอนิกส์กันจำนวนมาก ส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้นหลังแพ้สงครามก็ตั้งหลักไว้ว่าจะอยู่รอดได้ก็ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้น นั่นก็คือต้องสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ต้น เข้าใจว่าเมื่อผลิตคนทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ต้องสร้างตำแหน่งงานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เพิมขึ้น ทำให้อัตราส่วนคนที่เรียนทางวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ที่เหมาะสม ที่ก่ำกึ่งกัน


เมื่อหันมาดูสถานะการณ์ของปรเทศไทยเราบ้างก็ทำให้รู้สึกวังเวงอยู่มากเพราะไร้ทิศทางทางด้านวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ได้ทำอะไรจริงจัง และไม่ได้มีความต่อเนื่องในการสนับสนุนส่งเสริม จึงไม่สามารถที่จะทำให้วิทยาศาสตร์เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดูง่ายๆ ว่ายอดนักศึกษาที่สมัครสายวิทยาศาสตร์ลดลงเกือบทุกที่ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะที่ผ่านมาคนที่จบทางสายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ไม่มีตำแหน่งงานให้ แม้ในปัจจุบันก็ตาม ต้องผันตัวเองไปเป็นครูแทนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ อาชึพนักวิทยาศาสตร์จึงมีน้อย มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลเคยให้ไว้เช่นในสถาบันอุดมศึกษาควรจะมีสัดส่วนนักศึกษาสายวิทย์ต่อสายศิลป์ ในสัดส่วน 40: 60 ก็ไม่ได้ควบคุมให้เป็นเช่นนั้นจริงจัง แต่กลับกลายเป็นว่าเราทำสัดส่วนในภาพรวมเพียง 20: 80 และบางสถาบันก็มีสัดส่วนที่แย่ไปกว่านี้ก็มี

สถาบันของเราตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยวิทยาลัยครูมาสถาบันราชภัฏก็เคยรับนโยบายการเพิ่มนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ ให้ได้สัดส่วน วิทยาศาสตร์ 40% ซึ่งก็ได้พยายามให้ได้ใกล้เคียง อาจารย์ที่มีอยู่ขณะนั้นมีความรู้สึกว่ายังมีความไม่พร้อมก็ไม่อยากเปิดรับนักศึกษาจนสถาบันต้องบีบบังคับให้เปิดสอนก็มี มาสมัยนี้นอกจากจะไม่ได้สัดส่วนนักศึกษาสายวิทย์ตามมาตรฐานแล้ว ยังเจอวิกฤตกาลให้ปิดหลักสูตรเพราะมีผู้สมัครเรียนไม่ครบ 20 คน จึงจะมีความคุ้มทุนในการผลิต พูดง่ายๆว่าไม่ยอมขาดทุน ปล่อยให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่มีทุนรอนสูงกว่าเปิดไป แย่งเอาความดีไปแทน เพราะหลายมหาวิทยาลัยก็พูดว่าช่วยเหลือประเทศที่เปิดสายวิทยาศาสตร์ แม้จะมีนักเรียนไม่ครบตามเกณฑ์ที่จะคุ้มทุนก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น