หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คิดแบบควอนตัม

ความก้าวหน้าทางควอนตัมฟิสิกส์ที่เจาะลึกลงไปในใครงสร้างมูลฐานที่เล็กที่สุดจนทำให้ทราบว่าทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน ไม่ได้มองที่ความแน่ชัดแต่ใช้โอกาสความน่าจะเป็น ทุกอย่างมีความไม่แน่นอนอยู่ในตัว เป็นการรับรู้โลกด้วยวิธีใหม่ เป็นวิธีเข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจธรรมชาติที่มีแบบแผนอันล้ำลึก มองสิ่งต่างๆ ในภาพรวมไม่มองในส่วนย่อยเพียงอย่างเดียว



ในทางควอนตัมโลกที่สร้างสรรค์ขึ้นก็ต่อเมื่อเราเข้าไปรับรู้เข้าไปมีส่วนร่วม การเข้าไปรับรู้โดยไม่กระทบต่อสิ่งอื่นๆนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราไม่เข้าไปสังเกตเราก็ไม่รู้ว่ามันจะมีอยู่หรือไม่ เพราะความไม่แน่นอน ที่เห็นเด่นชัดก็คือสำหรับวัตถุที่มีขนาดเล็กมากสามารถที่แสดงตัวทั้งที่เป็นอนุภาคอันเป็นรูปหนึ่งของวัตถและที่เป็นคลื่นที่เป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงาน จากนั้นเราก็สามารถขยายขอบเขตมายังวัตถุขนาดใหญ่แม้แต่ตัวเราก็ตามสามารถที่จะคิดให้เป็นคลื่นได้มีความยาวคลื่นขนาดหนึ่งเป็นการเทียบเคียง แต่ความจริงก็มีความสอดคล้องกับสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับพลังงานที่อาจกล่าวได้ว่าสสารและพลังงานคือสิ่งเดียวกันที่่สามารถเปลี่ยนกลับไปมากันได้ตามเงื่อนไขที่เหมาะสม

การใช้โอกาสความน่าจะเป็นในทางควันตัม แม้ว่ามีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นแต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นแม้กระทั่งว่าเดิมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ และนักฟิสิกส์ควอนตัมได้ใช้โอกาสเพียงน้อยนิดนั้นไปสร้างสรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ดังเช่นกล้องจุลทัศน์ที่เรียกว่าสแกนิ่งทูนเนลลิงไมโครสโคป (scanning tunnelling microscope) หรืออะตอมมิกฟอสไมโครสโคป (atomic force microscope) ที่สร้างภาพให้เราเห็นอะตอมแยกจากกันได้ นำไปใช้ศึกษาด้านต่างๆได้มากขึ้นโดยเฉพาะในทางนาโนฟิสิกส์ ในชีวิตประจำวันของเราจึงไม่ควรมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆ โอกาสที่เปิดโอกาสแม้เพียงน้อยนิดเมื่อเราให้ความสนใจ หาความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นอันเป็นองค์รวมได้ อาจก่อให้เกิดผลที่ยิ่งใหญ่ตามมาก็ได้ และเราก็เคยเห็นตัวอย่างมาแล้วมากมายที่ผู้คนประสบผลสำเร็จจากสิ่งที่หลายคนมองข้ามไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น