หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระหัส 1:2:4 สภาพวิกฤตของประชากรไทย

ารมีลูกคนเดียวในครอบครัวเป็นลักษณะหนึ่งของประชากรไทยในยุคโพสต์โมเดิร์น เมื่อตีความรหัสนี้ การเป็นลูกคนเดียว(1คน)ในครอบครัวรุ่นใหม่ๆ จะต้องดูแลรับผิดชอบพ่อ-แม่ (2คน) และปู่ ย่า ตา ยาย (4 คน)รวมเป็น 6 คน ถ้ามองแล้วดูเหมือนว่ามีภาระหนักสำหรับลูกคนเดียว และถ้าไปแต่งานกับลูกคนเดียวอีกจากครอบครัวอื่น ก็จะต้องดูแลรวมทั้งตัวเองด้วยรวมเป็น 13 คน อันนี้น่าจะเป็นสาหเหตุหนึ่งที่ทำให้คู่สมรสรุ่นใหม่ ไม่อยากมีบุตร แต่ถ้าเรามองพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นคนที่มีฐานะดี ก็ทำให้ดูเหมือนว่าบุตรนั้นแทบไม่ต้องเลี้ยงดูอะไร เพราะมีทรัพสมบ้ติเป็นทุนที่ไม่ได้สร้างภาระให้บุตร แต่อย่าลืมว่าโครงสร้างพื้นฐานเชิงรายได้แล้วส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้มีอันจะกิน แต่อยู่ในฐานะปานกลางและยากจนเสียมากกว่า จึงสรุปได้ว่ารหัส 1:2:4 เป็นสภาพที่ก่อให้เกิดสภาพวิกฤตต่อไป


การอยู่ในสภาพวิกฤตเชิงโครงสร้างนั้น เนื่องจากการมีลูกคนเดียวทำให้ขาดพี่น้องที่ต่างวัยกัน ไม่ได้ฝึกให้อยู่อาศัยร่วมกัน จึงไม่ได้เรียนรู้ความคิดของผู้อื่นที่มีความหลากหลาย ที่จะให้ข้อคิดเห็นให้คำปรึกษา ไม่ใช่มีเพียงเพื่อนกลุ่มในวัยเดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหา ความสับสัน ความไม่เข้าใจกันได้ง่ายระหว่างวัยต่างๆกัน ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว ดังนั้นการจัดการศึกษา การวางแผนด้านแรงงานที่กำลังลดลง และผู้สูงอายุที่สูงมากขึ้นต้องรีบเร่งดำเนินการ ที่จำต้องให้สวัสดิการผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุตร และอาจใช้มาตรการที่ให้มีจำนวนบุตรสมดุลย์ที่อย่างน้อยควรมีบุตรครอบครัวละสองคนเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น