หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นนานาชาติกับภาษาไทย

ในยุคที่เรามีการติดต่อกับต่างประเทศในลักษณะต่างๆมากขึ้น นอกจากจะต้องใช้ภาษาของเจ้าของประเทศที่ติดต่อด้วยแล้วยังใช้ภาษาที่ถือว่าเป็นภาษาสากลคือภาษาอังกฤษ นอกจากนี้แล้วการเข้าถึงการใช้งานอินเตอร์เนต ส่วนใหญ่ก็ใช้ภาษาอังกฤษ เราจึงได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษมาผสมอยู่ในภาษาไทยมากขึ้น และการพูดก็มีคำภาษาอังกฤษปนในภาษาไทย ถ้ามองในแง่ดีก็ทำให้คนที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ภาษาไทยวิบัติไปได้สูญเสียเอกลักษณ์ทางภาษาไป


ในตัวชี้วัดงานประกันคุณภาพดูเหมือนว่าจะระบุความเป็นนานาชาติที่มหาวิทยาลัยควรจะมี นั้นคงจะมีในความหมายที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ กันให้มากขึ้น หรือการทำโครงการความร่วมมือต่างๆร่วมกัน แต่ความเป็นนานาชาติในอีกความหมายหนึ่งคือการทำให้ทั่วโลกรู้จักและเป็นที่ต้องการ เช่นการมีเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่นก็มีชื่อตรา เครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเองเป็นภาษาญี่ปุ่นที่ทำให้คนรู้จักทั่วโลก อันนี้ก็เป็นความเป็นนานาชาติได้เหมือนกัน และเจ้าของภาษาน่าจะภูมิใจ ผมยังอดภูมิใจไม่ได้ที่มีชื่อสินค้าไทยเมื่อชาวต่างชาติเรียกชื่อเช่นกระทิงแดงมากกว่า red bull เลือดรักชาติมีมากขึ้นก็ว่าได้

การตั้งชื่อหน่วยงานต่างๆ ถ้าให้ดีก็ควรใช้ภาษาไทยนำ ตามด้วยชื่ออังกฤษหรือวงเล็บไว้ให้เห็นน่าจะดีกว่า จะได้ภูมิใจว่าเราก็มีภาษามีตังอักษรของตัวเอง คนไทยที่มีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษน้อยก็อาจไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร ประเด็นการใช้ภาษาอังกฤษบางครั้งเราก็มีความขัดแย้งกันเองที่สร้างความสับสนขึ้นจนอาจก่อปัญหา เช่นรายการทีวีรายการหนึ่งของสถานีที่มีชื่อเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษ ดูเหมือนว่าออกมาต่อว่าต่อขานนักเรียนที่ชอบใช้ภาษาอังกฤษปนภาษาไทยว่าไม่เหมาะสม แต่ก็ลืมไปว่าชื่อช่องสถานีก็ใช้เป็นภาษาอังกฤษโดยไม่มีภาษาไทยกำกับเลย เคยถามคนรู้จักว่าย่อมาจากอะไร ส่วนใหญ่ยังตอบไม่ถูกเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น