หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การคิดค่าครองชีพ

เมื่อเราพูดถึงค่าครองชีพเรามักจะนึกถึง องค์ประกอบหลายอย่าง เช่นเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหาร และ ค่าโดยสารในการเดินทาง ซึ่งตามปกติธรรมดาแล้ว สินค่าและบริการนั้นมีราคาไม่คงที่ตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางอย่างเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เช่นราคาค่าโดยสารรถประจำทาง อาจจะเป็นเพราะว่าราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น แต่สำหรับเหตุการณ์น้ำมันโลกขณะนี้ ราคาน้ำมันโลกลดลงมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์จากจุดที่เคยขึ้นคือ มากกว่า 140 เหรียญมาเหลือ 40 เหรียญเศษๆ .


เวลาเราจะซื้อของทางราชการนั้น เพื่อจะให้ชื้อสินค้าและบริการไม่สูงเกินไปจึงทำให้มีการประกาศราคากลางขึ้น แนวทางในการจัดทำราคากลาง น่าจะเป็นราคาที่สมเหตุสมผล การที่จะวัดหาค่าครองชีพคงจะคล้ายๆ กับหาราคากลางที่ประชาชนต้องใช้จ่าย ซึ่งราคากลางต่างๆ นั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่นถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นราคากลางก็อาจสูงขึ้น ซึ่งก็คงอ้างว่าเป็นเพราะค่าขนส่ง ค่าแรงเพิ่มขึ้นจึงทำให้ราคาสิ้นค้าสูงขึ้น ดังนั้นการวัดค่าครองชีพจึงเป็นการวัดค่าครองชีพในช่วงเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น .

ดัชนีชี้วัดค่าครองชีพที่ทำดัน อาจพิจารณาจากความต้องการอาหารหลักสำหรับครอบครัวขนาดปานกลางในหนึ่งสัปดาห์ และพิจารณาราคาสินค้าที่เป็นอาหารหลักตามร้านค่าทั่วไป แล้วดูว่าดัชนีชี้วัดค่าครองชีพใกล้เคียงกับมูลค่าราคาของรายการสินค้าหรือ ไม่ เช่นดูว่าครอบครัวปานกลางมีผู้ใหญ 2-3 คน เด็ก 2-3 คน ต้องการอาหารใน 1 สัปดาห์อย่างไรบ้าง โดยทดลองทำรายการอาหารหลัก ใช้เนื้อหมูกี่กิโลกรัม นมกี่ลิตร ข้ำวกี่กิโลกกรัม และอื่นๆที่จำเป็นหลัก เมื่อทำรายการราคาค่าใช้จ่าย หลายสัปดาห์ ตัวเลขที่ได้จะเป็นเครื่องวัดค่าครองชีพได้ ว่าสูงต่ำอย่างไร จะเกินจากรายได้ที่หาได้หรือต่ำกว่ารายได้ที่หาได้ ซึ่งจะเป็นลางบอกเหตุว่าจะต้องใช้จ่ายอย่างไร .

การทราบค่าครองชีพ แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงตามเวลา ก็ยังเป็นเครื่องชี้แนะค่าครองชีพรายวันที่ดี อย่างน้อยก็อาจทราบแนวโน้ม จะได้เตรียมการหาทางแก้ไขเพราะอาจเกิดสภาพคล่อง หาทางหนีทีไล่ หาทางออกไว้ล่วงหน้าเป็นช่วงๆ ว่าถ้าค่าครองชีพเพิ่มทำอย่างไร ลดทำอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น