หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ผลดีผลเสียการสะกดจิต

ปกติแล้วการสะกดจิตนำมาใช้บำบัดรักษาโรค บางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในหลายประเทศได้รับการยอมรับจากสมาคมการแพทย์ สามารถช่วยเหลือคนป่วยที่เป็นโรคที่เรื้อรังบางอย่างได้ คนไข้ที่ถูกสะกดจิตที่ไม่รู้สึกตัวตามปกติช่วยให้การศึกษาสมมุติฐานของโรค คนไข้ที่ถูกสะกดจิตจะแสดงอาการของโรคได้ถูกต้องว่าเป็นอะำไร จากผลดังกล่าวนี้ทำให้สามารถบำบัดรักษาโรคให้หายได้ดีขึ้น เช่นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ความรู้สึก โดยการสะกดจิตจะช่วยในการผ่าตัดและการบำบัดโรค เช่นโรคหอบหืดหอบ แผลในลำไส้ แผลในกระเพาะ อาการปวดศีรษะเรื้อรัง อัมพาต ปวดกล้ามเนื้อ และโรคหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วการสะกดจิตยังช่วยให้ผู้ถูสะกดจิตเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นิสัย รวมทั้งบุคลิกภาพ มีส่วนช่วยในการเพิ่มพลังกายและพลังสมอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทาบเพศและการมีมนุษย์สัมพันธ์ เช่นการแก้นิสัยที่ไม่ดีบางอย่าง การดื่มเหล้า สูบบุหรีได้อย่างน่าประหลาด


การสะกดจิตมีมานานตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยการใช้พลังจิตผ่านทางการใช้วาจากล่าวนำของผู้สะกดจิต และด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือน่าไว้ใจ ที่จะบังคับ ให้ผู้อื่นยอมตามตามประสงค์ของผู้สะกดจิต แต่อย่างไรก็ตาม การสะกดจิตอาจเกิดได้ง่าย ซึ่งเคยมีปรากฏว่าเด็กนักเรียนที่ดูรายการโทรทัศน์แสดงสาธิตการสะกดจิต แล้วไปทำการทดลอง เช่นการสั่งให้หลับ แต่ไม่มีการสั่งให้ตื่นก็ทำให้ผู้ถูกสะกดมีอาการทางประสาทได้ มีบางโรงเรียนถึงกับออกระเบียบไม่ให้เล่นการสะกดจิต

ถ้าหากเปรียบเทียบกับกรณีที่เรียกว่าจิตวิทยาหมู่ ที่มีกลุ่มบุคคลชี้นำ ย้ำ ให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เช่นบอกว่าสำเร็จญาณถึงขึ้นนั้น ขั้นนี้ จะมีภัยอันตรายถ้าไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ทำให้เชื้อฝังใจเชื่อได้ ทำอะไรทีผิดเพี้ยนไปได้ อาการลักษณะนี้ก็เหมือนกับการถูกสกดจิตหรือจูงจิตอย่างหนึ่งเหมือนกัน และในอีกกรณีหนึ่งที่กลุ่มบุคคลถูกวางเงื่อนไข ให้กลัวในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วอาจส่งผลให้เกิดอาการบางอย่างคล้ายๆ กันมีอาการเพ้อตื่นตระหนกไปทั้งกลุ่มคล้ายกับอาการผีเข้าก็มี ซึ่งก็น่าจะเป็นการสะกดจิตอย่างหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นการสะกดจิตจึงมีทั้งที่เป็นไปในทางที่ทำให้เกิดผลเสียหายก็เป็นไปได้ เช่นกัน ถ้าผู้ที่สะกดจิตใช้ไปในทางที่ไม่ไดี หรือใช้ไปในทางที่ผิด จะว่าไม่มีพิษไม่มีภัยเสียเลยก็ไม่ได้ เช่นมีคำเตือนเสมอว่า ผู้ที่ถูกสะกดจิตให้หลับ อย่าทำให้ผู้ถูกสะกดจิตตกใจตื่น และต้องไม่ลืมที่ผู้สะกดจิตต้องสั่งให้ตื่น และจะให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สะกดจิตมาปลุกให้ตื่นไม่ได้ ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการทางประสาทของผู้ถูกสะกดได้ และที่สำคัญต้องไม่สั่งให้ผู้ถูกสะกดจิตทำสิ่งที่เป็นอันตราย หรือเสี่ยงต่ออันตรายเป็นอันขาด เช่นการให้กระโดดจากที่สูงหรือสั่งให้หัวใจหยุดเต้นเป็นต้น (ประมวลจากข้อเขียนของ เพลิงธรรม แสงสุริยา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น