หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แม่น้ำลำคลองที่ไหลลงสู่อ่าวนคร

แม่น้ำสายเดียวที่ไหลสุ่อ่าวนครได้แก่ แม่น้ำปากพนัง อันมีต้นน้ำจากเทือกเขาบรรทัด ต.อ่างทอง อ.ชะอวด แล้วไหลมารวมกับลำน้ำจากหัวไทรที่บ้านปากแพรกเป็นแม่น้ำปากพนังไหลลงสู่อ่าวนคร คำว่าลุ่มแม่น้ำปากพนัง คงไม่ใช่เฉพาะชายฝั่งอ่าวนครและฝั่งนอกอ่าวนคร แต่กินพื้นที่เส้นทางแม่น้ำที่ไหลมารวมกันที่บ้านปากแพรก ซึ่งกินพื้นที่ถึง 80000 ไร่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ


ลำคลองอื่นๆ ล้วนเกินมาจากต้นน้ำเทือกเขานครศรีธรรมราช กล่าวคือ

คลองปากพญาและคลองปากนคร เริ่มที่บ้านคีรีวง ต.กำโหลน อ.ลานสกา โดยมีคลองท่าดีเป็นคลองต้นน้ำ ผ่านต.กำแพงเซา ต.ไชยมนตรี และ ต.มะม่วงสองต้นถึงตอนนี้เรียกว่าคลองมะม่วงสองต้น เมื่อถึงตัวเมืองนครที่เป็นสันทรายก็จะแยกออกเป็น 3 สาย สายแรกเลียบคูเมืองไปทางเหนือผ่านตัวเมืองที่สพานราเมศวร์ ต.ท่าวัง และ ต.ท่าซักไปออกทะเลที่บ้านปากพญา เรียกคลองช่วงนี้วาคลองปากพญาหรือคลองท่าซัก สายที่สองไปเลียบคูเมืองด้านตะวันตกไปทางเหนือผ่านสพานนครน้อย ไปรวมกับคลองหัวตรุตที่ ต.ปากนคร เรียกว่าคลองปากนคร คลองสายนี้ส่วนหนึ่งเป็นคลองขุดจึงมีแนวตรงเพื่อใช้ลำเลียงกำลังพลและอาวุธไปออกอ่าวไทยได้รวดเร็ว ส่วนสายที่สามที่เลียบไปตามคูเมืองทางตะวันตกไปทางทิศใต้ ผ่านสพานป่าหล้าไปบรรจบกับคลองหัวตรุตแล้วไหลลงอ่าวนครที่ต.ปากนคร เดิมใช้เป็นเส้นทางสัญจรระหว่างตัวเมืองนครกับ อ.ปากพนัง

คลองเสาธง ต้นน้ำจากน้ำตกกะโรม อ.ลานสกาเรียกว่าคลองเขาแก้วไหลผ่านร่อนพิบูลย์ คลองช่วงนี้เรียกว่าคลองเสาธงผ่านบ้านโคกคราม ชะเมาเรียกว่าคลองขะเมา ถึงบ้านน้ำมนต์แยกเป็นสองสาย สายหนึ่งไปรวมกับคลองหัวตรุตหรือคลองปากนคร อีกสายไหลลงสู่ทะเลที่บางจาก เรียกคลองบางจาก

คลองกลาย ต้นน้ำเกิดจาก อ.นบพิตำแล้วไหลผ่าน ต.กลาย อ.ท่าศาลาจึงเรียกว่าคลองกลายไหลลงสู่ทะเลในเขตอ.ท่าศาลา

คลองท่าทน ต้นน้ำเกิดในเขตอ. สิชล และไหลลงสู่ทะเลที่ อ.สิชล

จะเห็นว่าสายน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวนครนั้น มีต้นกำเนิดเกือบทั้งหมดมาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ตลอดเส้นทางก่อนที่จะมาลงที่อ่าวนคร ชุมชนต้นน้ำส่วนใหญ่ก็เป็นชาวเขาแล้วค่อยลดระดับเข้าสู่พื้นที่ราบชายฝั่งทะเล และที่อาศัยอยู่ชายฝั่งก็มักจะเรียกว่าชาวเล ซึ่งส่วนมากมีวิถีชีวิตอยู่กับทะเล มีอาชีพในการประมง ขณะที่ชาวเขามีอาชีพทำสวนทำไร้ ส่วนในที่ราบระหว่างชาวเขาและชาวเล ก็เป็นที่ทำธุรกิจค้าขาย เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างชาวเขาและชาวเลได้อย่างสมดุลย์ จึงเป็นชุมชนที่ผสมผสานระหว่างชาวเลและชาวเขา มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจนอาจจะพูดได้ว่าผสมกลมกลืนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น