หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โลกแบบกลไกตามแนวคิดจักรวาลแบบนิวตัน

การที่กล่าวว่าโลกเป็นแบบกลไกนั้นก็เท่ากับว่ามองโลกเป็นแบบเครื่องจักรนั่นเอง เพราะเครื่องจักรนั้นประกอบด้วยกลไกหรือชิ้นส่วนหลายอย่างประกอบกัน แนวคิดดังกล่าวนี้มีที่มาจากจักรวาลตามแนวคิดของนิวตัน อันก่อให้เกิดยุคแห่งเครื่องจักร ที่ได้มีการกำหนดกฏเกณฑ์ดังเช่นกฏของนิวตัน ทำให้สามารถทำนายอนาคต ทำให้นำไปใช้จัดการกับงานและความรู้บนพื้นฐานความเชื่อว่าเป็นจักรวาลที่สามารถทำนายได


เมื่อเราเทียบเคียงการมองโลกแบบกลไกกับองค์กรส่วนใหญ่ ก็ได้รับอิทธิพลจากจักรวาลแบบนิวตัน จึงเรียกว่าเป็นองค์กรณ์แบบนิวตัน จะเป็นลักษณะองค์กรที่เน้นโครงสร้างทางวัตถุมีองค์ประกอบมากน้อยต่างๆ กัน มีการจัดแบ่งหน้าที่ต่างๆ โดยมีแผนผังขององค์กรที่จะอธิบายถึงการทำงานขององค์กรหรือเครืองจักร ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ แต่ละชิ้นมีตำแหน่งและที่ตั้ง จะเอาชิ้นส่วนไหนไปใส่ที่ตำแหน่งใด และใครที่เป็นส่วนชิ้นส่วนที่สำคัญมากน้อย จึงกล่าวได้ว่าเป็นองค์กรแบบนิวตัน ที่กั้นเขตแดนในทุกที่ สร้างบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ โลกมองเป็นแบบเครื่องจักรจะเป็นโลกที่แบ่งเขตแดนมีขอบเขต

ในจักรวาลแบบนิวตันนั้น จุดที่เราสนใจเราสามารถพิจารณาให้เป็นระบบ และระบบนี้จะเป็นเครื่องจักรหรือกลไกย่อยๆ อยู่ในระบบใหญ่อีกที ด้วยแนวคิดที่ว่าการพิจารณาเป็นระบบเล็กๆแยกออกมาจะทำให้ง่ายต่อการศึกษา การลดทอนลงไปเป็นชิ้นส่วน และการแพร่ขยายของการแยกส่วนออกไป เป็นลักษณะเฉพาะขององค์กร ที่เราพัฒนาเทคนิควิเคราะห์เพื่อที่จะจัดการต่อไป โดยเน้นปัจจัยที่แยกส่วน แม้กระทั่งทำให้ตัวเราเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อใช้ส่วนต่างๆในตัวเรา ไปดำเนินอย่างใดอย่างหนึ่งต่างกรรมต่างวาระกัน

เราศึกษาตัวแปรอย่างแยกส่วน เราแบ่งความรู้ออกเป็นสาขาต่างๆ และใส่ขอบเขตให้กับตัวแปรที่แยกส่วนนั้น แล้วพยายามหาความสัมพันธ์โดยหวังว่าจะเกิดความรู้ใหม่ แต่การมีขอบเขตที่ยังคงมีอยู่นั้นก่อให้เกิดความรู้สึกการเป็นตัวตนที่ยึดมั่นถือมั่น ขอบเขตการนิยามความเป็นตัวตนทำให้สามารถรู้ถึงความแตกต่างของสิ่งต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น