หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แกะรอยการกำเนินมนุษย์

พงศาวลี (family tree) ของมนุษย์สามารถที่จะแกะรอยโดยมองไปที่ฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ เหมือนกับการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก ทีแกะรอยโดยมองไปที่การบันทึกไว้ในซากดึกดำบรรพ์ เช่นเดียวกันที่จะทำให้ทราบถึงประวัติของมนุษย์ชาติ ซากดึกดำบรรพ์ที่บันทึกเรื่องราวรวมทั้งซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุสร่วมกันที่ห่างไกลออกไป ทั้งที่เป็นมนุษย์ลิงและมนุษย์รุ่นใหม่ พร้อมด้วยบรรพบุรุสที่ใกล้ชิดของกลุ่ม homo sapiens ความคิดที่มนุษย์ชาติสามารถที่จะคิดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต่างไปจากสัตว์ชนิดอื่นๆ นั้นยากที่ประชาชนคนทั่วไปจะยอมรับได้


การตัดสินมนุษย์ชาติว่าเป็นปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่ในการไขปัญหาการวิวัฒนาการของมนุษย์ จากจุดนี้ไม่ได้เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง ถ้าเราต้องการทราบร่องรอยของพงศาวลี เราจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในเรื่องหลักแนวคิดว่า อะไรที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากบรรพบุรส ความจริงในเรื่องนี้จะให้ผลที่สำคัญ โดยตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ความโน้มเอียงที่จะเห็นมนุษย์มีความพิเศษ เป็นความแตกต่างจากที่เหลือของธรรมชาติ แม้ว่าหลังจากยอมรับแนวคิดวิวัฒนาการของดาร์วิน (Darwinian evolution) ก็ยังมีข้อผิดพลาดจำนวนหนึ่งที่ชวนให้พิศวงศ์ ทั้งนี้เพราะนักวิทยาศาสตร์อาจไม่ต้องการเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่าง Homo sapiens และ เช่น Neanderthalman

ขั้นตอนสำคัญที่สุดในพัฒนาการของมนุษย์ชาติคือการเคลื่อนไหวด้วยการเดินด้วยสองเท้า และที่แตกต่างไปจากสัตว์อื่นๆ ก็คือขนาดของสมอง ดังนั้นดังที่เคยคิดให้มนุษย์วิวัฒนาการไปสู่สมองขนาดใหญ่เป็นสิ่งแรก และที่มนุษย์เดินลำตัวตั้งตรงเป็นไปหลังจากนั้น เมื่อคิดกลับไปว่าอะไรเกิดขึ้น ถึงการเดินเป็นสิ่งแรก แล้วความฉลาด (intelligence) ตามมา ปัญหาที่ว่าทำไม่พวก hominids เริ่มเดินตัวตรงอย่างไร ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย แต่เป็นที่ชัดแจ้งว่าพวก hominids มีสมองที่เล็กกว่า ราวหนึ่งในสี่ของมนุษย์รุ่นใหม่ที่เดินลำตัวตั้งตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น