หน้าเว็บ

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ไขมันที่ช่วยลดคอเรสเตอร์รอล

เราทราบว่าอาหารที่มีส่วนของไขมันไม่ว่าจะเป็นชนิดใด มีหน้าที่เผาผลาญให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ไขมันมีหลายประเภท หากเผาผลาญไม่หมดตกค้างก็มีส่วนทำให้เกิดโทษแก่ร่างกายเช่นไขมันพวกคลอเรสเตอร์รอล ปกติแล้วไขมันอยู่ในรูปของกรดไขมันกลีเซอรอลที่มีทั้งกรดไขมันที่อิ่มตัวและกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว กรดไขมันที่อิ่่มตัวจะมีอะตอมไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบจำนวนมาก ส่วนไขมันที่ไม่อิ่รมตัว (unsaturated fat) จะมีอะตอมคาร์บอน หนึ่งหรือสองคู่เป็นอิสระไม่รวมกับอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งถ้าอะตอมคาร์บอนคู่เดียวที่เป็นอิสระ จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว ถ้ามีหลายคู่เป็นอิสระก็เป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน


สำหรับไขมันที่ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจะเป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อคนมาก จะมีอยู่สองพวกคือกลุ่มไขมันโอเมกา6 และ โอเมกา3 จากกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (Eicosapentaenoic acid: EPA) และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (docosahexaenoic acid:DHA) เป็นที่ประจักษ์จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับประทานปลาเช่นปลาแซลมอล ทำให้ระดับคอเรสเตอร์รอลลดลง และยังทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลงเข้าสู่ระดับปกติได้ จากผลการทดลองยืนยันกับอาสาสมัครสองกลุ่ม กลุ่มที่ได้รับประทานน้ำมันปลา กับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมันปลา ปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันปลามีระดับคอเลสเตอร์รอลและไตรกลีเซอร์รอลต่ำหว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมันปลา นอกจากนี้ยังมีการทดลองในส้ัตว์ทำให้ทราบว่าน้ำมันปลาสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ โดยทั้ง EPA และ DHA ช่วยลดอัตราการรวมตัวของเกล็ดเลือด ลดความหนืดของเลือด ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย แต่อาจยังประโยชน์ในการรักษาและป้องกันโรคอันเกิดจากหลอดเลือดอุตตัน

การที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานปลา อาจมีส่วนที่ทำให้มีอัตราการตายจากโรคหัวใจต่ำที่สุด และพบว่าชาวประมงเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าชาวไร่ ทั้งนี้พบว่าปลาส่วนมากมีกรดไขมันที่ไม่อิมตัวมากกว่าไขมันที่อิ่มตัว การรับประทานปลามากจึงสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังพบว่าช่วยบรรเทาอาการอักเสบของโรคไขข้ออักเสบ และรูมาตอยด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น