หน้าเว็บ

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีควอนตัมเป็นมาอย่างไร

ทฤษฎีควอนตัม ในทางฟิสิกส์แล้วเป็นทฤษฎีที่บ่งชี้ว่าพลังงานไม่ได้มีช่วงค่าที่ต่อเนื่อง พลังงานนั้นอาจรับดูดกลืนเข้ามาหรือเป็นพลังงานที่ปลดปล่อยแผ่่รังสีออกไปอย่างไม่ต่อเนื่อง เป็นจำนวนควบหรือเป็นจำนวนเท่าของหน่วยพลังงานที่กำหนดว่าแบ่งแยกไม่ได้อีกต่อไปเรียกว่าควอนตา (quanta) ตอนแรกๆเป็นเพียงทฤษฎีที่ได้จัดให้แสงมีพฤติกรรมการเคลื่อนที่แบบคลื่น และในอีกทางหนึ่งจัดให้มีพฤติกรรมเป็นแบบอนุภาคดังที่เรียกว่าโฟตอน (photons) ตามทฤษฎีนี้ได้แสดงให้เห็นว่าอนุภาคของอะตอม เช่นอิเลคตรอนสามารถจัดให้อยู่ในสภาพที่เป็นคลื่นเช่นกัน โดยใช้อธิบายได้ว่ามีคุณสมบัติของคลื่นได้อย่างไร และสามารถกล่าวได้ว่าทฤษฎีควอนตัมเป็นรากฐานของวิชาฟิสิกส์อนุภาค เคมีทฤษฎีใหม่ ฟิสิกส์สถานะแข็ง และการนำไปใช้อธิบายในกระบวนการผลิดชิปซิลิกอนหรือไอซีคอมพิวเตอร์


โดยที่ทฤษฎีควอนตัมเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1900 แมกซ์ พลั้ง (Max Plank) ขณะที่เขาพยายามคำนวณพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน ที่กำหนดให้พลังงานหน่วยย่อยที่สุดเท่ากับค่าความถี่การสั่นของอนุภาคที่แผ่รังสีคูนกับค่าคงที่ และผู้ที่มาขยายความทฤษฎีนี้ให้กว้างขวางออกไปก็คือไอน์สไตน์ในการอธิบายการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยทั่วไปรวมทั้งแสง ต่อมาเนล โบร์ นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ค ได้นำทฤษฎีไปใช้ในการคำนวณพลังงานของคลื่นแสงช่วงความถี่ต่างๆ กัน หรือสเป็กตรัมของแสง ซึ่งปลดปล่อยออกมาจากอะตอมไฮโดรเจนที่อยู่ในภาวะที่ถูกกระตุ้น ต่อมาผู้ที่มาสานต่อทฤษฎีควอนตัมได้แก่ ชเรอดิงเงอร์ เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก พอล ดิเรก และยังมีบุคคลอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง ได้มีส่วนร่วมมือในการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม ซึ่งอ้างถึงวิชาที่เรียกว่า กลศาสตร์ควอนตัม หรือกลศาสตร์ของคลื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น