หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ที่มาของศาสตร์ทั้งปวง

นักวิชาการของกรีกโบราณเป็นกลุ่มแรกๆที่เรารู้กันว่ามีความพยายามที่จะค้นหาสืบเสาะสำรวจเกี่ยวกับจักรวาลของเรา เป็นการรวมรวมความรู้อย่างเป็นระบบ ผ่านทางการใช้เหตุผลของมนุษย์เพียงอย่างเดียว พวกเขาเหล่านั้นพยายามที่จะแสวงหาเหตุผลเพื่อความเข้าใจ โดยปราศจากความช่วยเหลือจากลางสังหรณ์ สิ่งดลใจต่างๆ การบอกกล่าวที่เปิดเผยออกมาในรุปแบบต่างๆ หรือแหล่งสารสนเทศอื่นที่ไม่มีเหตุผล พวกเขาเหล่านั้นที่เรารู้จักกันก็คือนักปรัชญา (Philosophers)นั่นเอง คำว่า philosophy มาจากภาษากรีก แปลว่ารักในความรู้หรือปัญญา)


ปรัชญาสามารถที่จะจัดให้เป็นการศึกษาแสวงหาความเข้าใจของพฤติกรรมมนุษย์ ของจริยศาสตร์ (ethics) และศิลธรรม (morality) การกระตุ้นเร้าและการตอบสนอง หรืออาจจะกำหนดให้ไปศึกษาปรากฏการณ์ของธรรมชาติและต่อมาก็เรียกว่าปรัชญาธรรมชาติ คำสมัยใหม่ที่นำมาใช้แทนคือ วิทยาศาสตร์ (science) เป็นคำมาจากภาษาลาตินหมายถึงเพื่อรู้ (to know) คำนี้ไม่ได้รับความนิยมในทันทีจนกระทั่งรู้จักกันดีในศตวรรษที่ 19 แม้ในปัจจุบัน ปริญญาสูงสุดของมหาวิทยาลัยที่ประสาทให้กับผู้สำเร็จการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไปจะเรียกว่า Doctor of Philosophy ซึ่งได้เน้นย้ำให้เห็นถึงที่มาของความรู้

คำว่าธรรมชาติ (natural) เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน ดังนั้นวลี ปรัชญาธรรมชาติ (natural philosophy) มีรากเง้าครึ่งหนึ่งจากภาษาลาติน อีกครึ่งหนึ่งมาจากภาษากรีก การรวมกันทางภาษาผู้ทรงภูมิบางคนอาจจะไม่เห็นด้วย เพราะคำว่าธรรมชาติในภาษากรีก คือ Physikos ซึ่งบางคนอาจพูดได้ว่า physical philosophy เพื่อจะอธิบายถึงสิ่งที่เราเรียกว่าวิทยาศาสตร์

ดังนั้นคำว่า physics เป็นคำย่อที่รวบรัดของ physical philosophy และความหมายดั้งเดิมนั้นจะรวมเอาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตามสาขาของวิทยาศาสตร์ได้ขยายตัวออกไปทั้งทางกว้างและลึก สารสนเทศความรู้ทั้งหลายที่รวมรวมไว้จึงใหญ่โตมหาศาล นักปรัชญาธรรมชาติจึงจำเป็นต้องกำหนดให้บ่งเฉพาะ นำส่วนหนึ่งศาสตร์เดิมหรือส่วนอื่นในความพยายามการศึกษาทางวิทยาศาตร์ ขณะที่ต้องเลือกส่วนของศาสตร์หรือสาขาที่จะทำงานเกี่ยวข้องด้วย คำว่าเฉพาะทางของเรื่องต่างๆค่อยๆได้รับเป็นชื่อของใหม่ ที่จะต้องนำไปลบออกจากฟิสิกส์เดิมของศาสตร์ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น